ธปท. รุกคืบ! ปฏิรูปกฎหนุนแบงก์-ธุรกิจ

20 พ.ย. 2561 | 12:26 น.
"วิรไท" ย้ำ! บทผู้กำกับปรับ Mindset-วิธีทำงาน ธปท. ทั้งสนับสนุน Stakeholders คุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มศักยภาพภาคธุรกิจ - ขยับผ่อนกฎอีก 4 ด้าน ตั้งเป้าแล้วเสร็จ ม.ค. - มี.ค. ปีหน้า

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ในฐานะผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินและคุ้มครองผู้บริโภค ได้ปรับหลักคิดและวิธีการทำงานให้สอดคล้องสภาพแวดล้อมใหม่ โดยปฎิรูปกฎเกณฑ์การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินในปีก่อน ขณะที่ พัฒนาการทางเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ระบบการเงินในประเทศหลายมิติ ทั้งความเร็ว มีขอบเขตรูปแบบหลากหลาย ซึ่งเชื่อมต่อตลาดที่ใหญ่ขึ้น/ความร่วมมือ และตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะรายได้มากขึ้น

 

[caption id="attachment_350618" align="aligncenter" width="503"] วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)[/caption]

"ปีนี้จึงขยายการปฎิรูปเรื่องดิจิตอลแบงก์กิ้ง โดยปรับรูปแบบ ไม่ต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี ซึ่งจะลดต้นทุนภาคธุรกิจอย่างน้อย 1,100 ล้านบาท และส่งเสริมเอสเอ็มอีให้มีทางเลือกและอาศัยเทคโนโลยีใหม่ ขณะ ธปท. ก็ปรับตัวเอง วิธีการทำงานกับ Stakeholder โดยจะเริ่มออกกฎใหม่ตั้งแต่เดือน ธ.ค. โดยกำหนดแล้วเสร็จเดือน ม.ค. และ มี.ค. ปีหน้า"

ทั้งนี้ โครงการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินด้านดิจิตอลแบงก์กิ้งและส่งเสริมเอสเอ็มอีครั้งนี้ สรุปมี 4 เรื่อง คือ 1.ปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านไอทีและแนวปฏิบัติผู้ให้บริการทางการเงินทดสอบนวัตกรรม (Regulatory Sandbox) 2.ผ่อนคลายข้อจำกัดการทำธุรกิจดิจิตอลแบงค์กิ้ง 3.ส่งเสริมบริการทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการ SMEs 4.ปรับปรุงกระบวนการทำงานของสถาบันการเงิน ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และกระบวนการขออนุญาตในรูปแบบ One Stop Service ซึ่งทั้งหมดจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรก ปี 2562

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านไอที อนุญาตให้นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นครั้งแรก หรือ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีนัยยะสำคัญ เช่น Cloud Computing หรือ Core Banking หรือ การให้บริการ Platform กับ Strategic Partners โดยให้สถาบันการเงินบริหารความเสี่ยงตาม ธปท. กำหนด ซึ่งต้องทำแผนประจำปี Update รายไตรมาส และแจ้ง ธปท. ก่อนเริ่มใช้งานจริง 15 วัน โดยผ่านความเห็นบอร์ดและประกาศใช้ทั้งองค์กร

ส่วนแนวทางของ Regulatory Sandbox ให้สถาบันการเงิน / ผู้ให้บริการทางการเงินนำนวัตกรรมเข้าทดสอบกับ ธปท. เฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน / มาตรฐานกลาง / กฏหมายกำหนด เช่น พีทูพี / Digital Asset สินทรัพย์ดิจิทัล


42273

นางสาวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า การผ่อนคลายโดยไม่ต้องขออนุญาต หากปฎิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำ ทั้งด้านไอที ไซเบอร์ และคุ้มครองลูกค้า โดยอนุญาตให้ทำธุรกิจสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลแบงก์กิ้ง อาทิ ให้บริการแพลตฟอร์มเพื่อเป็นตัวกลางในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ พัฒนาแอพพลิเคชันให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ และบริการส่งข้อมูลพื้นฐานแก่พันธมิตรธุรกิจตามที่ได้รับยินยอมจากลูกค้า รวมถึงให้นำเทคโนโลยี Biometrics รูปแบบในการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนลูกค้าในการเปิดบัญชีผ่านมือถือ โดยไม่ต้องไปสาขาธนาคาร ตามโครงการ NDID และลดความซ้ำซ้อนให้โอนบริหาร e-Money อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน

สำหรับเอสเอ็มอีนั้น ธปท. อนุญาตให้ใช้ข้อมูลอื่นที่สะท้อนข้อมูลเชิงพฤติกรรมประกอบการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ เช่น ข้อมูล Rating ร้านค้า, ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ ผ่อนคลายการจำกัดวงเงินตามจำนวนเท่าของรายได้สำหรับสินเชื่อ SME บุคคลธรรมดาที่กู้ไปทำธุรกิจ แต่สถาบันการเงินผู้ให้บริการต้องติดตามการใช้สินเชื่อตรงตามวัตถุประสงค์

นอกจากนี้ ยังเพิ่มทางเลือกให้เอสเอ็มอีในการเข้าถึงสินเชื่อ โดยใช้ NCB Score หรือ ข้อมูลคะแนนเครดิตของตัวเอง โดยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ NCB / เครดิตบูโร ในการขอสินเชื่อสถาบันการเงิน ซึ่ง NCB จะไม่คิดค่าธรรมเนียมในการขอข้อมูล หรือ คะแนนเครดิตดังกล่าว ในช่วง 2 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.พ. 2562 อีกทั้งอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีทดแทนการประเมินราคาหลักประกันในรูปแบบเดิม โดยสถาบันการเงินรับราคาประเมินหลักประกันที่ลูกค้าได้รับจากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแห่งอื่น เพื่อใช้พิจารณาสินเชื่อใหม่ / รีไฟแนนซ์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนด้วย ซึ่งคาดว่าจะลดต้นทุนในการประเมินประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ ยังได้ออกประกาศ 1 ฉบับ ครอบคลุมประกาศเดิมที่เกี่ยวข้องมากกว่า 50 ฉบับ โดยให้สถาบันการเงินจัดเก็บเอกสารและเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และปรับปรุงกระบวนการยื่นขออนุญาตต่อ ธปท. ในรูปแบบ One-stop service ผ่าน e-Application เพียงครั้งเดียว


e-book-1-503x62-7