จิตรกรรมลายทองร่วมสมัย จินตนาการจากพุทธธรรม

20 ต.ค. 2561 | 15:28 น.


S__9363594 คุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย หยั่งรากลึกและมีวิวัฒนาการความเจริญทางวัฒนธรรมมายาวนาน บนค่านิยมและคติความเชื่อของบุคคลในท้องถิ่นที่มีต่อพระพุทธศาสนา กระทำสืบต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณี ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมทางสังคม เกิดเอกลักษณ์ทางศิลปะเป็นสื่อแสดงออกของแก่นวัฒนธรรม ที่สะท้อนถึงความดีงามและสร้างเสริมคุณค่าทางพุทธิปัญญา ความเจริญทางวัฒนธรรมดังกล่าวได้พัฒนาเผยแพร่โดยกลุ่มบุคคลในสังคมและแสดงออกผ่านสื่อศิลปะในรูปแบบและเทคนิคที่หลากหลาย
S__9363598 S__9363597 คติความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นรูปแบบงานศิลปกรรม อาทิเช่น “งานลายรดน้ำบนตู้พระธรรมของบรมครูช่างวัดเซิงหวาย” ในสมัยอยุธยาที่ประกอบไปด้วยลวดลายไทยที่เรียกว่ากระหนกเปลว ที่มีความอ่อนช้อยพลิ้วไหวประกอบกับลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ถูกดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ทำบนพื้นรักสีดำแสดงความโดดเด่น ด้วยจังหวะและช่องไฟที่เหมาะสม ด้วยฝีมืออันประณีตบรรจง นับได้ว่าเป็นผลงานที่มีความวิจิตรงดงาม อันมีเอกลักษณ์และมีคุณค่าอีกชิ้นหนึ่งของงานช่างศิลป์ไทย
S__9363595 ดาวดึง งานลายรดน้ำ งานลายทองและลายกำมะลอ เป็นงานจิตรกรรมประเภทเอกรงค์ เป็นงานพุทธศิลป์ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของไทยแต่โบราณ สร้างสรรค์ขึ้นด้วยกรรมวิธีการเขียนด้วยน้ำยาหรดารบนพื้นรักสีดำแล้วปิดทองรดน้ำ โดยมีแรงบันดาลใจในการสร้างลวดลายแบบอุดมคติจากพันธุ์พฤกษาตามธรรมชาติ ด้วยลีลาของเส้นสายหลากหลายขนาด สร้างความลวงตาให้เกิดมิติและน้ำหนักบนแผ่นระนาบด้วยกระบวนการที่ซับซ้อน โดยเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา นับเป็นมรดกทางปัญญาสืบทอดมายังลูกหลาน ส่งอิทธิพลถึงการแสดงออกทางความคิด อารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการ ที่บรมครูช่างไทยสืบสานเป็นแบบประเพณีจนล่วงมาสู่งานช่างไทยในยุคปัจจุบัน

[caption id="attachment_335788" align="aligncenter" width="503"] สิโรจน์ พวงบุบผา สิโรจน์ พวงบุบผา[/caption]

สิโรจน์ พวงบุบผา ศิลปินหนุ่มวัย 30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 และระดับปริญญาโท จากภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ซึ่งบ่มเพาะให้เขามีพื้นฐานการศึกษาด้านงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีอย่างลึกซึ้ง โดยเขามุ่งศึกษางานจิตรกรรมประเภทเอกรงค์ ได้แก่ งานลายรดน้ำ งานลายทองและลายกำมะลอ ซึ่งในอดีตเป็นงานช่างประณีตศิลป์เพื่อตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ เช่น หีบ โต๊ะ ตู้ รวมถึงเพื่อตกแต่งส่วนประกอบอาคาร เช่น ฝาผนัง บานประตู หน้าต่าง ด้วยกรรมวิธีการเขียนด้วยน้ำยาหรดารบนพื้นรัก สีดำแล้วปิดทองรดน้ำ เทคนิคดังกล่าวได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลังอย่างสิโรจน์ โดยคลี่คลายรูปแบบลงสู่เฟรมผ้าใบ

Contemporary-Laithong-Painting4 (1) 20e0b895e0b989e0b899e0b899e0b8b2e0b8a3e0b8b5e0b89ce0b8a5e0b980e0b897e0b884e0b899e0b8b4e0b884-e0b888e0b8b4e0b895e0b8a3e0b881e0b8a3 ในผลงานชุด “จิตรกรรมลายทองร่วมสมัย ๒๕๕๗ ” นี้ เป็นการนำผลงานสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ ปี 2548-2557 รวม 10 ปี โดยการพัฒนาผลงานทางด้านเทคนิคการสร้างสรรค์และแนวความคิดที่อาศัยรูปทรงทางธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ โขดหิน แม่น้ำ ฯลฯ มาผสมผสานกับรูปทรงที่มีลักษณะแบบอุดมคติไทย เช่น ตัวพระ ตัวนาง สัตว์หิมพานต์ ฯลฯ โดยอาศัยเทคนิคที่มีการคลี่คลายจากงานลายรดน้ำ งานลายทองและลายกำมะลอจนเกิดเป็นเทคนิคใหม่ คือ เทคนิคจิตรกรรมลายทอง ซึ่ง ผลงานที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ “จิตรกรรมลายทองร่วมสมัย ๒๕๕๗ ” ครั้งนี้ ได้แบ่งช่วงในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยแบ่งจากรูปแบบและแนวความคิดออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้
Contemporary-Laithong-Painting5 2548 – 2550 ข้าพเจ้าได้ยึดแนวความคิดหลัก ที่เกี่ยวข้องกับคติธรรมและปรัชญาทางพระพุทธศาสนาในเรื่องต้นนารีผลที่อยู่ในป่าหิมพานต์ มาเป็นเครื่องเตือนสติมนุษย์ ให้ละวางจากความลุ่มหลงในกามกิเลส โดยเปรียบกับ กิเลสในใจของผู้ชมผลงานสร้างสรรค์ในชุดนี้ ที่ได้ชมผลงานแล้ว เห็นความงามของสีทอง ที่เกิดจากทองคำเปลวมาเรียงปิดติดต่อกัน ส่องแสงประกาย ประกอบกับรูปทรงของต้นไม้ที่ทรงพลัง บิดคดเคี้ยวไปมา ในพื้นที่กรอบสี่เหลี่ยมของผลงาน สิ่งเหล่านี้รวมกัน เกิดเป็นสุนทรียะทางด้านความงาม ลวงตา ลวงใจ ทำให้ผู้ชมเกิดกิเลสและอยากเข้าไปสัมผัสผลงานใกล้ๆ ดังวิทยาธรที่เห็นความงามของนารีผล
Contemporary-Laithong-Painting3 2551 – 2557 ผลงานสร้างสรรค์ของข้าพเจ้าในช่วงนี้ ได้นำเรื่อง ดินแดนหิมพานต์ ตามคติความเชื่อของคนโบราณ ซึ่งเป็นดินแดนที่เหนือความเป็นจริง จากตำนานกล่าวว่า ป่าหิมพานต์อยู่ในชมพูทวีป เต็มไปด้วยสัตว์ที่มีรูปร่างแปลกประหลาด ผิดไปจากสัตว์ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เกิดจากสัตว์หลากหลายประเภทมาผสมกัน จนเกิดเป็นสัตว์ชนิดใหม่ เรียกว่าสัตว์หิมพานต์ ไม่ว่าจะเป็นภูเขา แม่น้ำหรือต้นไม้แม้แต่มนุษย์ที่เข้าไปอาศัยในป่าหิมพานต์ ก็ย่อมไม่ใช่มนุษย์ ด้วยความเชื่อเรื่องดังกล่าวนี้เอง ได้ส่งแรงบันดานใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนด้วยเส้นสายที่อ่อนช้อย พลิ้วไหว นำไปสู่การถ่ายทอด ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกตามทัศนคติส่วนตน ที่มีต่อเรื่องหิมพานต์นี้
Contemporary-Laithong-Painting2
ประวัติศิลปิน


ชื่อสกุล นายสิโรจน์ พวงบุบผา
เกิด 3 มกราคม 2527
ที่อยู่ 152/40 แลนซีโอ คลิป ( ปิ่นเกล้า-วงแหวน ) หมู่ 3 ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ. นนทบุรี 11130
E-mail [email protected]

ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2542 โรงเรียนแสวงหาวิทยาคม
พ.ศ. 2545 วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2551 ศิลปบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๑ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ
ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2553 ศิลปมหาบัณฑิต ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

การแสดงผลงาน
พ.ศ. 2548 - ร่วมแสดงงาน ภาควิชาศิลปไทย หอศิลป์ คณะจิตรกรรมฯ ม ศิลปากร
พ.ศ. 2549 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 28 โดยมูลนิธิธนาคารกรุงเทพ
- ร่วมแสดงงานศิลปกรรม “นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต” บริษัทโตชิบา ครั้งที่ 18

พ.ศ. 2550 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่24
- ร่วมแสดงงานการประกวดจิตรกรรมร่วมสมัยPanasonicครั้งที่9
- ร่วมแสดงงานศิลปนิพนธ์ 2550 ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ร่วมแสดงงาน ไตรภูมิ นิทรรศการจิตรกรรมแบบประเพณีอิทธิพลจากสมุดภาพไตรภูมิ
- ร่วมแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่54

พ.ศ. 2551 - แสดงงานกลุ่มศิลปไทย “วิถีแห่งความเป็นไทย”ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พ.ศ. 2555 - ร่วมแสดงงาน ใจกลางป่า ป่ากลางใจ โดยกลุ่มจิตรกรไทย ณ หอจดหมาย พุทธทาส อินทปัญโญ
พ.ศ. 2556 - ร่วมแสดงงาน 36 ปีแห่งการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์และพัฒนาศิลปไทย ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- ร่วมแสดงงาน “โครงการช่วยเหลือทารกเกิดก่อนกำหนด”ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- ร่วมแสดงงาน “ต้นธารแห่งความสุข”ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กรุงเทพฯ
- ร่วมแสดงงาน นิทรรศการ“สยามแอ็พ”ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- ร่วมแสดงงาน “ไทยไหลนิ่ง’’ กระทรวงวัฒนธรรม ณ Singapore Art Museum สาธารณรัฐสิงค์โปร

พ.ศ. 2557  - ร่วมแสดงนิทรรศการมนต์เสน่ห์ไทย Thai Charisma กระทรวงวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- ร่วมแสดงนิทรรศการ โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน “แก่นสารจากแกนศิลป์”โดยโครงการจัดตั้งภาควิชาแกนทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2558  - ร่วมแสดงนิทรรศการพระสาทิสลักษณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน (RCAC BKK)
- ร่วมแสดงนิทรรศการ จริยศิลป์ วิศิษฏศิลปิน สยามบรมราชกุมารี โดยกลุ่มจิตรกรไทย ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พ.ศ. 2559 - ร่วมแสดงนิทรรศการแสดงผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์ ๕ สถาบัน นิทรรศการอัตลักษณ์ศิลป์ถิ่นใต้ ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน (หอศิลป์อันดามัน)จังหวัดกระบี่
- ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 11 คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ร่วมแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “ร้อยภาพวาด ร้อยดวงใจ ร้อยพลังใจช่วยเด็กผู้ยากไร้ 2559” ณ โรงพยาบาลพญาไท 2
- ร่วมแสดงนิทรรศการแสดงผลงาน จิตรกรรมบัวหลวง : เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2560 - นิทรรศการ ๙๙ แรงบันดาลใจ น้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ณ หอศิลปราชดำเนิน กรุงเทพ
- ร่วมแสดงงาน The Spirit of Thailand - from traditional to contemporary 12 - 18 July 2017 @ Insa Art Center, Insadong, Jongno-gu, Seoul, Korea HansaeYes24 Foundation

พ.ศ. 2561 - ร่วมแสดงงานนิทรรศการ “ศรัทธา” ณ MOCA Museum of Contemporary Art กรุงเทพฯ
- ร่วมแสดงนิทรรศการ “ความงามข้ามขอบเขต” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพฯ

การแสดงงานเดี่ยว
พ.ศ. 2553 - นิทรรศการ จิตรกรรมลายทองร่วมสมัย ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
พ.ศ. 2557 - นิทรรศการ จิตรกรรมลายทองร่วมสมัย ๒๕๕๗ ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เกียรติประวัติ
พ.ศ. 2545 - รางวัลที่ 1 จิตรกรรมไทย การแสดงผลงานนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี
- รางวัลที่ 1 สถาปัตยกรรมไทย การแสดงผลงานนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี
- รางวัลที่ 2 วาดเส้น การแสดงผลงานนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี
- รางวัลที่ 1 ประติมากรรม การแสดงผลงานนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี
- ร่วมเขียนภาพปฏิทิน พุทธประวัติ บริษัท กนกสิน

พ.ศ. 2548 - ร่วมเขียนภาพฝาผนัง ประดับอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ
พ.ศ. 2550 - รางวัล นริศรานุวัดติวงศ์ และทุนการศึกษาพร้อมเข้าเฝ้าถวายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
- ร่วมเขียนงานศิลปกรรมประดับ ธนาคารแห่งประเทศไทย
- รางวัลชมเชยประกวดวาดภาพ “ เฉลิมฉลองศิลปกรรม100 ปี พระราชวังสนามจันทร์ ”
พ.ศ. 2551 - รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ครั้งที่ 29 โดย มูลนิธิธนาคาร กรุงเทพและได้ทุนไปดูงานศิลปะ ณ ประเทศเยอรมนีและอิตาลี
- รางวัลที่ 1 การประกวดงานศิลปกรรมศิลปกรรม”มองสิงห์ผ่านศิลป์ระดับอุดมศึกษา บริษัท สิงห์คอร์ปเปอเรชั่น จำกัด
- รางวัลที่ 2 เหรียญเงินบัวหลวง จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ครั้งที่ 30 โดย
มูลนิธิธนาคาร กรุงเทพ

พ.ศ. 2552 - รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ครั้งที่ 31 โดย
มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ และได้ทุนไปดูงานศิลปะ ณ ประเทศเยอรมนี และอิตาลี

พ.ศ. 2553 - รางวัลที่ 1 เหรียญทองบัวหลวง จิตรกรรมไทยแบบประเพณี ครั้งที่ 32 โดย
มูลนิธิธนาคารกรุงเทพ และได้ทุนไปดูงานศิลปะ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
- ได้รับทุนจากกองทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ "มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

พ.ศ. 2554 - รางวัลที่ 1 การประกวดภาพจิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ “๘๔ พรรษา ธรรมราชา ประชาธิปไตย” โดยวุฒิสภา