11ต.ค.เปิดเฮียริ่งมาตรการกำกับสินเชื่อบ้าน"แบงก์-ผู้ประกอบการ"ก่อนบังคับใช้ม.ค.62

04 ต.ค. 2561 | 09:46 น.
ธปท.ปรับเกณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่และรีไฟแนนซ์ โฟกัสสัญญา/หลังที่2/ราคา10ล้านอัพ กำหนดแอลทีวี 80% และนับรวมสินเชื่อทุกประเภทใช้หลักประกันเดียวกัน

นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน และนายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการ กลุ่มงานด้านเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมประกาศแนวนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Macroprudential) สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่และสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ใน 3 แนวทางประกอบด้วย1. สัญญาที่ 2 ขึ้นไป/ที่อยู่อาศัยราคา10ล้านบาทขึ้นไป กำหนดสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน(ltv) ที่80% เพื่อดูแลความเสี่ยงจากการเก็งกำไร 2. นับรวมสินเชื่อทุกประเภทที่อ้างอิงหลักประกันเดียวกัน(top-up) ให้สะท้อนความเสี่ยงที่แท้จริง และ3. คงเกณฑ์เดิมสำหรับการกู้สัญญาแรก เพื่อให้ประชาชนสามารถซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงได้
bot2 ทั้งนี้หลักการคือ จะกำหนดให้มีเงินดาวน์ขั้นต่ำ สำหรับการกู้หลังที่2 ขึ้นไปหรือที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่า10ล้านบาทขึ้นไปและปรับเกณฑ์การนับสินเชื่อท้อปอัพที่ใช้หลักประกันเดียวกัน ให้สะท้อนความเสี่ยง คือ 1.บ้านราคา10ล้านบาทขึ้นไปกำหนดวางเงินดาวน์ 20% ของมูลค่าหลักประกัน (LTV) 2.บ้านหรือสัญญาหลังที่2ราคาต่ำกว่า 10ล้านบาทต้องวางเงินดาวน์ 5% สำหรับแนวราบ และควรดาวน์10% สำหรับแนวสูง และ 3.การคำนวณส่วนที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ได้โดยนับรวมเงินกู้ทุกประเภทที่ใช้หลักประกันเดียวกัน (เช่นสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิต)

"การปรับเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยครั้งนี้ เป็นมาตรการเชิงป้องกันที่จะช่วยลดความเสี่ยงเชิงระบบและสร้าง
วัฒนธรรมเครดิตที่ดีของผู้กู้และสถาบันการเงิน โดยไม่เอื้อต่อเก็งกำไร/ก่อหนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะธปท.พบว่าสินเชื่อปล่อยใหม่ปีนี้ 3 แสนล้านบาทจำนวน1 แสนบัญชี มีประมาณ15% หรือ1.5 หมื่นบัญชี เป็นสัญญากู้ที่2 โดยมีวงเงินกู้เกิน 80% จำนวน 1 หมื่นสัญญา ขณะที่สินเชื่อ Top-up สัดส่วน60% เป็นการใช้บริโภคอย่างอื่นและทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่ม 25% เพื่อประกันชีวิตของผู้กู้และอีก10%เพื่อปรับปรุงและลงทุน"

ทั้งนี้ ธปท.จะเปิดรับฟังความเห็นจากสถาบันการเงินและผู้บริโภคในวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ที่ ธปท.ก่อนจะสรุปรายละเอียดในเดือนพฤศจิกายนและประกาศใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม 2562

e-book-1-503x62-7