ทำไมต้องคุม "ค่าตั๋วบินโลว์คอสต์" ไม่เกิน 9.4 บาท/กม. ...?!

19 ส.ค. 2561 | 05:33 น.
190861-1213

... แนวคิดการกำหนดเพดานราคาค่าโดยสารขั้นสูงสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ โลว์คอสต์ แอร์ไลน์ส ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. เป็นเรื่องที่มีการหารือกันมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว และได้มีการหารือร่วมกับสายการบินต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยกำหนดเพดานราคาขั้นสูงไว้ที่ 9.40 บาทต่อกิโลเมตร เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีแต่การกำหนดเพดานราคาขั้นสูงของธุรกิจการบินในภาพรวมอยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลเมตร

การกำหนดเพดานราคาใหม่ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้นี้ได้ดำเนินการควบคู่ไปกับการพิจารณาหลักเกณฑ์และคำนิยามว่าบริการใดที่เรียกว่าเป็นโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ส เพื่อสร้างความชัดเจนในการใช้บริการโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ของผู้บริโภค ว่า มีความแตกต่างจากการให้บริการของสายการบินฟูลเซอร์วิสอย่างไร และผู้โดยสารจะได้รับบริการใดบ้าง เมื่อใช้บริการโลว์คอสต์ แอร์ไลน์

 

[caption id="attachment_307189" align="aligncenter" width="503"] ©นกแอร์ ©นกแอร์[/caption]

เช่น สายการบินฟูลเซอร์วิส ต้องมีบริการ อาทิ โหลดกระเป๋าฟรีไม่น้อยกว่า 15 กิโลกรัม อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งต้องมีบริการเหล่านี้ทุกอย่าง ส่วนสายการบินที่ไม่มีบริการเหล่านี้ เช่น นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียตเจ็ต ถือว่าเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ แม้ว่าจะมีบริการน้ำดื่มหรือขนมให้ผู้โดยสารก็ไม่ถือว่าเป็นฟูลเซอร์วิส

โดยการกำหนดเพดานใหม่นี้ จะนำเสนอให้คณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) พิจารณาในวันที่ 27 ส.ค. นี้ หาก กบร. เห็นชอบก็จะประกาศและมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย. นี้ ส่วนสายการบินฟูลเซอร์วิสก็ยังต้องคงราคาขายตั๋วไม่เกิน 13 บาทต่อกิโลเมตร

Screen Shot 2561-08-19 at 12.21.57

ทั้งนี้ การที่ กพท. ต้องกำหนดเพดานราคาขายขั้นสูงสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ  เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนว่า การจองสายการบินต้นทุนต่ำในช่วงที่มีการเดินทางหนาแน่น ช่วงเทศกาล หรือ การไม่ได้จองตั๋วล่วงหน้านาน ๆ ราคาขายก็จะสูงพอ ๆ กับสายการบินฟูลเซอร์วิส ทั้ง ๆ ที่บริการที่น้อยกว่า ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร เพราะภาพรวมของธุรกิจการบินกำหนดเพดานราคาขั้นสูงของธุรกิจการบินในภาพรวมอยู่ที่ 13 บาทต่อกิโลเมตร

ดังนั้น การกำหนดเพดานราคาขายขั้นสูงของโลว์คอสต์แอร์ไลน์สก็จะทำให้ผู้บริโภคเดินทางด้วยราคาถูกลงและเหมาะสม เช่น ราคาตั๋วเครื่องบินเส้นทางบินในประเทศ กรณีซื้อที่เคาน์เตอร์สายการบิน เฉลี่ยอยู่ที่ 6,500 บาท จะถูกปรับลดลงเหลือราว 4,500 บาท

About

จากราคาตั๋วที่ลดลงยังกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาจะแพลนซื้อตั๋วกันข้ามปี เหมือนขาเที่ยวทั่วไป ที่กลุ่มนี้มักจะรอโปรโมชั่นตั๋ว 0 บาท หรือ โปรจัดหนักราคาหลักร้อย ที่ต้องจองล่วงหน้าและกว่าจะได้บินก็ต้องรอไม่ต่ำกว่า 6 เดือน หรือ 1 ปี

ขณะที่ สายการบินต้นทุนต่ำ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดเพดานราคาใหม่นี้ด้วย ซึ่งสายการบินต้นทุนต่ำก็ไม่ขัดข้องที่จะมีการกำหนดเพดานราคาใหม่ เนื่องจากปัจจุบันสายการบินต้นทุนต่ำ ไม่มีใครขายถึงกรอบเพดาน 9.40 บาทต่อกิโลเมตร ส่วนใหญ่ช่วงปกติจะขายตั๋วเฉลี่ยที่ 5 บาทต่อกิโลเมตร เพราะใช้ราคาเป็นกลยุทธในการแข่งขัน

……………….
รายงานพิเศษ โดย สายฟ้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
2โลว์คอสต์รุกสังคมไร้เงินสด
น้ำมันราคาพุ่ง คาดสายการบินโลว์คอสต์ยุโรปบางรายอาจไม่รอดถึงต้นปีหน้า


เพิ่มเพื่อน ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว