'กสิกร' ดึงไปรษณีย์! ลุยแบงกิ้งเอเยนต์

18 พ.ค. 2561 | 06:58 น.
180561-1332

[caption id="attachment_282271" align="aligncenter" width="503"] ©kasikornbank.com ©kasikornbank.com[/caption]

'แบงก์กสิกรไทย' เดินหน้าแบงกิ้งเอเยนต์เต็มรูปแบบ ใช้ 1,400 สาขาไปรษณีย์ไทย เปิดให้บริการรับฝาก-ถอน บัญชีละไม่เกิน 2 หมื่นบาท ... 'ซีไอเอ็มบี-กรุงไทย' เตรียมทบทวน ... นักวิชาการ ระบุ ยุคผนวกธุรกิจแบบ WIN WIN

นางสมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ธนาคารกสิกรไทยได้ทำหนังสือเพื่อขอเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อแต่งตั้งให้ ปณท เป็นตัวแทนธนาคาร (Banking Agent)
 ให้บริการธุรกรรมทางด้านการเงิน ทั้งรับฝากและถอนเงิน ครั้งละ 2 หมื่นบาทต่อคนต่อวัน เนื่องจาก ปณท มีประสบการณ์ให้บริการธุรกรรมทางด้านการเงินมาก่อน อีกทั้งมีสาขาจำนวน 1,400 แห่งทั่วประเทศ

 

[caption id="attachment_282273" align="aligncenter" width="294"] สมร เทิดธรรมพิบูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท สมร เทิดธรรมพิบูล
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือ ปณท[/caption]

ก่อนหน้านี้ ปณท ได้ทำธุรกรรมทางด้านการเงินให้กับธนาคาร จำนวน 7 แห่ง ภายใต้ชื่อ BANK@Post ได้แก่ ทหารไทย, ออมสิน, กรุงศรี, CIMB, ไทยเครดิต, ทิสโก้ และเกียรตินาคิน เป็นลักษณะฝากเงินเข้าบัญชีธนาคาร โดยฝากขั้นต่ำ 100 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อรายการ สูงสุด 100,000 บาทต่อวันต่อบัญชี


เชื่อมระบบแบบเรียลไทม์
ขณะนี้ ทั้ง ปณท และกสิกรไทย อยู่ระหว่างการทดสอบเชื่อมโยงโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านศูนย์ประมวลผล หรือ พีซีซี ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงระบบ BANK@Post ให้กับ ปณท มาก่อน จากก่อนหน้านี้ ที่ ปณท เคยมีความร่วมมือกับกสิกรไทยนำร่องระบบชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด สำหรับกลุ่มบุคลากรและกลุ่มธุรกิจเครือข่าย ผ่านแอพพลิเคชัน K-PLUS เช่นเดียวกัน


bank-at-post

นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมกับ บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) หรือ COM7 ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกสินค้าไอทีภายใต้แบรนด์ BaNANA, Studio7, BKK, iCare และ Brand Shop ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย นำร่องโมเดลธุรกิจค้าปลีกและการเงินครบวงจรในร้านบานาน่า โดยภายในสิ้นปีนำร่องไปแล้วที่ จ.ยโสธร และสิ้นปีจะเปิดอีก 2 แห่ง คือ ชัยภูมิและชลบุรี และตั้งเป้าเปิดให้ได้ 20 สาขา ในเฟสแรก

นายวัลลภ ว่องจิตต์วุฒิไกร รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภายหลังเปิดดำเนินการโครงการนำร่องไปแล้ว ปรากฏว่า ยอดเปิดบัญชีต่อเดือนเพิ่มสูงขึ้นถึง 20% ทั้งนี้ รูปแบบสาขาขนาดย่อมยังช่วยให้ธนาคารสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับการเปิดสาขาเต็มรูปแบบ ด้วยขนาดพื้นที่ที่เล็กลงเหลือประมาณ 25-30 ตารางเมตร และจำนวนพนักงานประจำเพียง 3-4 คนต่อสาขา แต่ยังสามารถให้บริการได้เต็มรูปแบบตามปกติ

 

[caption id="attachment_282276" align="aligncenter" width="503"] กิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย[/caption]

2 แบงก์พร้อมรุกดิจิตอล
นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า ในยุคดิจิตอลต้องพิจารณาช่องทางบริการเพิ่มเติมนอกจากการเปิดสาขาย่อยในเซเว่นอีเลฟเว่น หรือ สาขาย่อยในสถานีน้ำมันบางจาก ที่ร่วมกับ SPAR Supermarket เช่นเดียวกับแบงกิ้งเอเยนต์ ขณะนี้ อยู่ระหว่างทบทวนเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของธนาคาร

ขณะที่ นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า ภาพใหญ่ปีนี้จะมีเรื่องดิจิตอลมากขึ้น เช่น ช่องทางให้บริการด้านดิจิตอลและการให้บริการผ่านแอพพลิเคชัน ที่จะออกมาครึ่งปีหลัง เป็นต้นไป และปรับสาขาเป็นศูนย์ให้คำปรึกษาลูกค้าในการบริหารความมั่งคั่ง Wealth

 

[caption id="attachment_282277" align="aligncenter" width="336"] ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผยง ศรีวณิช
กรรมการผู้จัดการใหญ่[/caption]

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทยอยู่ระหว่างทบทวนการทำแบงกิ้งเอเยนต์ หลังจากที่ผ่านมาได้ทำร่วมกับไปรษณีย์ไทย เนื่องจากธนาคารกรุงไทยมีฐานลูกค้าที่เปิดบัญชีและใช้บริการในหลายพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมากอีกด้วย


ยุค WIN WIN
ด้าน นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แสดงความคิดเห็นว่า กรณีของแบงกิ้งเอเยนต์ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ รูปแบบบริการภาคการเงินมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและบริการไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้บริการชอบทำธุรกรรมทางการเงินเวลาไปเดินห้างสรรพสินค้าหรือเวลาไปจับจ่ายซื้อสินค้า

 

[caption id="attachment_282279" align="aligncenter" width="335"] สืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สืบศักดิ์ สืบภักดี
นักวิจัยด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ[/caption]

สำหรับกรณี Com7 จับมือกับธนาคารกสิกรไทยเปิดสาขาย่อยในร้านคอมพิวเตอร์และร้านค้าไอทีที่ Com7 ดำเนินกิจการนั้น เป็นรูปแบบการปรับตัวเพื่อขยายจุดบริการของธนาคารให้กระจายตัวและเพิ่มช่องทางลงไปหาลูกค้าเพิ่มขึ้น กล่าวคือ นอกจากจะมีร้านค้าไอทีในศูนย์การค้าแล้ว ในร้านไอทีนั้นยังมีธนาคารให้บริการอยู่ แต่ใช้คนน้อยลง ใช้พื้นที่น้อยลง ธนาคารต้องการลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ ร้านค้าก็อาจได้ทั้งลูกค้าเพิ่มโอกาสขายสินค้า หรือ สร้างแคมเปญด้านการเงินร่วมกันสำหรับสินค้าไอทีบางชิ้นที่มีราคาสูงและผู้บริโภคมีแนวโน้มสนใจระบบผ่อนชำระ ถือว่า WIN WIN ทั้งร้านค้าและธนาคาร


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,366 วันที่ 17-19 พ.ค. 2561 หน้า 01+15

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
บล.กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์หน้า(7-11 พ.ค.) มีแนวรับที่ 1,770 และแนวต้านที่ 1,800 จุด
'กสิกร' ต่อยอดแม่ค้าออนไลน์ เดินหน้าช่วย SME ค้าปลีกสู่ออนไลน์เต็มขั้น


e-book-1-503x62-7