เร่งผลิตช่าง 7.5 หมื่นคน! ป้อนรถไฟความเร็วสูง

19 เม.ย. 2561 | 09:33 น.
190461-1628

วศรท. ผนึก สนง. คณะกรรมการอาชีวศึกษา เร่งผลิตบุคลากรระดับช่างเทคนิคระบบรางป้อนโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน และพื้นที่อีอีซี พร้อมเอ็มโอยู ‘อินชอน’ จากเกาหลี แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า เผย ระดับช่างเทคนิคมีความต้องการกว่า 7.5 หมื่นคน

นายดิสพล ผดุงกล นายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย (วศรท.) เปิดเผยถึงความร่วมมือกับคณะกรรมการการอาชีวศึกษาป้อนระบบรางให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์ระบบรางของรัฐบาล ว่า ในการลงนามบันทึกความร่วมมือของ วศรท. เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2561 ที่ผ่านมา มีการลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมโครงการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านระบบขนส่งทางรางเขตพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก (อีอีซี) ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและ วศรท. รวมถึงการลงนามกับ บริษัท อินซอน ทรานซิท คอร์ปอเรชั่นฯ กับ บริษัท รุ่งณรงค์ จำกัด และบริษัท KTT คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งบริษัท อินชอนฯ เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้า รถเมล์ รถแท็กซี่ ในเมืองอินชอน ของเกาหลีใต้


TP11-3271-A

โดยการร่วมมือครั้งนี้ วศรท. พร้อมเป็นศูนย์กลางจัดหาวิทยากร สถานที่ฝึกงาน ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาต้องการ ซึ่งได้มอบหมายให้วิทยาลัยเทคนิคชลบุรีเป็นหัวหน้าเขตของการพัฒนาระบบรางในพื้นที่อีอีซี รับเป็นเจ้าภาพรับไปดำเนินการ

“การดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อหาบุคลากรระดับอาชีวศึกษา หรือ ระดับช่างเทคนิคป้อนระบบรางนำร่องในพื้นที่อีอีซี ส่วนการขยายและจัดหากำลังคนให้ครบและเพียงพอได้อย่างไรนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้มีการศึกษารองรับไว้แล้ว ประมาณ 2 หมื่นคน เมื่อประมาณช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่รวมแผนการพัฒนาอีอีซีและโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน เอาไว้ด้วย เช่นเดียวกับการขยายสนามบินอู่ตะเภา คาดว่าจำนวนความต้องการแรงงานป้อนระบบรางน่าจะมากกว่า 1 แสนคน โดยประมาณ 7.5 หมื่นคน จะเป็นแรงงานระดับช่างเทคนิคที่มีความต้องการใช้งาน”


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

สำหรับการลงนามครั้งนี้ กับ ‘อินชอน ทรานซิท’ เพื่อให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา เนื่องจากบริษัท รุ่งณรงค์ฯ ได้รับงานจากสนามบินสุวรรณภูมิ เกี่ยวกับระบบขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังเก่ากับอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง อีกทั้ง ภายหลังผ่านพ้นระยะเวลา 2 ปีนี้ไปแล้ว บริษัท รุ่งณรงค์ฯ ยังมีโอกาสได้รับงานโครงการอื่น ๆ ต่อเนื่องกันไป

“วศรท. พร้อมประสานงานให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับ บริษัท รุ่งณรงค์ฯ ด้านธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา ประการสำคัญทางบริษัท รุ่งณรง และอินชอน ยังพร้อมร่วมมือกันยื่นข้อเสนอในการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่มีมูลค่ากว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระยะเวลา 30 ปีอีกด้วย


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,353 วันที่ 1-4 เม.ย. 2561 หน้า 11
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทุนไทย-เทศ240ราย ตบเท้าร่วม‘มาร์เก็ตซาวดิ้ง’รถไฟความเร็วสูง
"สมคิด" สั่งศึกษารถไฟความเร็วสูงไปสุราษฎร์ฯ  ลงทุนไฮสปีด"แม่สอด - มุกดาหาร" ชี้ศักยภาพสูง


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว