บีโอไอชี้ลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง Q1 ขอส่งเสริมรวมกว่า 2 แสนล้านบาท

18 เม.ย. 2561 | 09:24 น.
 

บีโอไอเผยสัญญาณการลงทุนปีนี้มีทิศทางดี  ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกปี 2561 มูลค่าเงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท  พร้อมชูมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพกระตุ้นการลงทุนเพิ่ม

[caption id="attachment_276137" align="aligncenter" width="503"] นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์[/caption]

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยถึงสถิติขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 (มกราคม – มีนาคม 2561) ว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 333 โครงการ เงินลงทุนรวม 203,630 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อบรรยากาศการลงทุนในปีนี้ โดยมูลค่าดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28 ของเป้าหมายขอรับส่งเสริมการลงทุนตลอดทั้งปีที่ 720,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่า 1 แสนล้านบาท โดยเป็นการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ  ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ นางสาวดวงใจ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการลงทุนโครงการใหม่ และโครงการขยายของรายเดิม ในปีนี้น่าจะเห็นทิศทางการลงทุนของภาคเอกชนในอีกมิติหนึ่ง ซึ่งก็คือ มีการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2561) มีผู้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแล้ว 33  โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 1,500 ล้านบาท

“ภาคเอกชนจำนวนมากยื่นขอลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยในปี 2560 มีมูลค่าสูงกว่า 17,000 ล้านบาท ทำให้บีโอไอมั่นใจว่าในปีนี้ จะมีความสนใจลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสูงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและของประเทศไทยไปพร้อมกันด้วย ” นางสาวดวงใจ กล่าว

บีโอไอได้ออกมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคอุตสาหกรรม และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม โดยมาตรการปรับปรุงประสิทธิ ภาพการผลิต ได้แก่  การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  การนําหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หรือระบบดิจิทัลมาใช้ โปรโมทแทรกอีบุ๊ก