คู่รักวัยรุ่นดันเงินสะพัด3.8พันล้าน

14 ก.พ. 2561 | 08:36 น.
การศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมและการใช้จ่ายช่วงวันวาเลนไทน์โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และหอการค้าไทย ผ่านกลุ่มตัวอย่าง1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่ากลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นวัยรุ่น คิดเป็นสัดส่วน 55.5% รองลงมาได้แก่วัยทำงาน 25% และคู่สมรส 19.4%

โดยมองว่าบรรยากาศวันวาเลนไทน์ปีนี้เทียบกับปีก่อน คาดว่าจะคึกคักจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 35.3%มีสถานที่เที่ยวมากขึ้น 23.4% ขณะที่ 88% จะซื้อดอกไม้ให้คู่รัก รองลงมาได้แก่ การบอกรัก/แสดงความรัก70% ซื้อของขวัญให้ 52% ซื้อช็อกโกแลตให้ 45% พาไปเที่ยว/กินข้าว 40%

การใช้จ่ายในวันวาเลนไทน์5 อันดับแรกได้แก่ ซื้อดอกไม้ โดยใช้เงินเฉลี่ย 350 บาท เดินห้าง ใช้เงินเฉลี่ย 1,240 บาท ซื้อของขวัญใช้เงินเฉลี่ย 1,123 บาท ท่องเที่ยวในประเทศ ใช้เงินเฉลี่ย 4,440 บาทซื้อช็อกโกแลตใช้เงินเฉลี่ย 344 บาทส่วนดอกไม้ที่นิยมมอบให้ได้แก่กุหลาบ 71% ลิลลี่ 10% คาร์เนชั่น7% ทิวลิป 6% ค่าใช้จ่ายในการซื้อของขวัญให้คู่รักเฉลี่ย 1,490 บาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้เงิน 1,334 บาทขณะที่เงินสะพัดในวันวาเลนไทน์ปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 3,822 ล้านบาทเฉลี่ยต่อคน 2,394 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีเงินสะพัด 3,707 ล้านบาทเฉลี่ยต่อคน 2,262 บาท

[caption id="attachment_111358" align="aligncenter" width="503"] นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย[/caption]

นายธนวรรธน์ พลวิชัยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวว่า เทศกาลวันวาเลนไทน์ปีนี้ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดกว่า3,822.27 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น3.10% ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 11 ปี โดยส่วนใหญ่ 53.1% จะมีการฉลองในวันวาเลนไทน์ส่วน 41.9% ไม่ฉลองโดยการแสดงความรักนั้นส่วนใหญ่ 56.4% จะแสดงความรักกับคนรักรองลงมา 18.1% แสดงความรักกับพ่อแม่ และ 7.8% แสดงความรักกับเพื่อนขณะ ที่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 2,395 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา

ad-bkk แต่ส่วนใหญ่ 51.3% ยังคงซื้อของให้กันในปริมาณเท่าเดิม แต่มูลค่าสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่กว่า 53.6% เห็นว่าสินค้ามีราคาแพงขึ้น เศรษฐกิจกิจดีขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ 12.4% ตอบว่ามูลค่าการใช้จ่ายลดลง เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และสินค้ามีราคาแพง ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะซื้อดอกไม้รองลงมาเป็นเดินห้าง และซื้อของขวัญ
“ปีนี้วันวาเลนไทน์มาก่อนตรุษจีน ทำให้มีบางส่วนที่ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 11 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว