รัฐอัดฉีด 6 แสนล้านบูมเศรษฐกิจ

16 ม.ค. 2561 | 04:21 น.
รัฐเดินหน้า อัดฉีดเงินเข้าระบบ 6 แสนล้านบาทในปี 61 บูมเศรษฐกิจต่อเนื่อง หลังจุดติดรากหญ้า จากการหว่านเงินกว่า 3.3 1 ล้านล้านในปี 60 จากเงินงบประมาณ ทั้งอัดฉีดฐานรากผ่านบัตรคนจนและสินเชื่อแบงก์รัฐ สำนักงบฯยืนยัน ใช้งบขาดดุลอีกหลายปี ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

การใช้จ่ายภาครัฐยังเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยปี 2560 รัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าระบบถึง 3.31 ล้านล้านบาท ผ่านเงินงบประมาณ 2.58 ล้านล้านบาท และงบกลางปีอีก 1 แสนล้านบาท โดยเป็นงบลงทุน 3.8 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ มีการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 2.88 แสนล้านบาท ขณะที่มีเงินลงไปถึงเศรษฐกิจฐานรากจากการลงทะเบียนเพื่อรับบัตรสวัสดิการรัฐ 11.4 ล้านคน ในช่วง 3 เดือนแรกประมาณ 8,923.73 ล้านบาท จากที่มีการเริ่มจ่ายเงินวันที่ 1 ต.ค. 2560

นอกจากนั้นยังมีเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านสินเชื่อธนาคารรัฐอีก 4.23 แสนล้านบาท พร้อมกับทำงบกลางปีเพิ่มอีก 1.5 แสนล้าน ในปี 2561 เพื่ออัดฉีดฐานราก ทั้งเติมเงินบัตรคนจน ปฏิรูปภาคเกษตร เพิ่มความเข้มแข็งกองทุนหมู่บ้าน เพิ่มเติมจากขาดดุลงบประมาณ 4.5 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2560 ที่ขยายตัวได้ประมาณ 4% นั้น เม็ดเงินงบประมาณที่ผลักดันเข้าไปในระบบเศรษฐกิจมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 0.7% จากการขาดดุล 3.9 แสนล้านบาทและงบประมาณกลางปีอีก 1.9 แสนล้านบาท และในปี 2561 เองหากเศรษฐกิจขยายตัวได้ 4.2-4.3% นั้นคาดว่าการกระตุ้นจากภาครัฐ น่าจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ประมาณ 0.8%

[caption id="attachment_143042" align="aligncenter" width="503"] เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ[/caption]

“ปีนี้นอกจากขาดดุลงบประมาณ 4.5 แสนล้านบาทที่จะมีเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจแล้ว ยังมีงบกลางปี ที่จะเสนอเพิ่มเติมเข้าไปอีก 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งหากดูตามยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาลแล้ว รัฐบาลยังต้องใช้งบประมาณขาดดุลไปอีกระยะหนึ่ง เพราะขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและเดินหน้าเศรษฐกิจฐานรากเองก็เริ่มติดแล้ว ก็ควรที่จะกระตุ้นต่อ หากไปลดรายจ่าย เพื่อให้งบสมดุล ก็จะทำให้กระบวนการต่างๆ หยุดชะงักลงได้” นายเดชาวัฒน์ กล่าว

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” งบลงทุนรัฐวิสาหกิจจะยังคงมีบทบาทสำคัญหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2561 ต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา จากวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) 796,000 ล้านบาท แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสคร. 506,000 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมงบลงทุนของบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจอีกด้วย

728x90-03 ทั้งนี้รัฐวิสาหกิจถือว่า มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากนโยบายกระตุ้นงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ทำให้เศรษฐกิจปี 2559 ขยายตัวได้ 3.2% จากการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวได้ 10% และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2560 เศรษฐกิจขยายตัวได้ 3.8% นั้น มาจากงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัวได้ 9.2%

“งบลงทุนรัฐวิสาหกิจจะมีบทบาทมากในการพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่เอกชนไม่ใช้จ่าย อย่างในปี 2557 จะเห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวเพียง 0.9% เพราะการส่งออกแย่ เอกชนไม่ลงทุน บริโภคก็แย่ จึงต้องใช้งบลงทุนภาครัฐมาเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งงบลงทุนภาครัฐ 50% มาจากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ที่มาช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง”

[caption id="attachment_118062" align="aligncenter" width="503"] อภิรมย์ สุขประเสริฐ อภิรมย์ สุขประเสริฐ[/caption]

ด้านนายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)กล่าวว่าในช่วง 9 เดือนของปีบัญชี 2560 (1 เมษายน- 31 ธันวาคม 2560) ว่า ธนาคารสามารถสนับ สนุนสินเชื่อเข้าสู่ระบบเพื่อสนับ สนุนภาคการเกษตรได้ถึง 4.38 แสนล้านบาท และในปีบัญชี 2561 ตั้งเป้าที่จะปล่อยสินเชื่อเพิ่มอีก 9.3 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากตามนโยบายรัฐบาล

[caption id="attachment_250015" align="aligncenter" width="358"] ฉัตรชัย ศิริไล ฉัตรชัย ศิริไล[/caption]

ขณะที่นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ในปี 2560 ได้ถึง 1.96 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 17.06% สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 18,593 ล้านบาท ทำให้ธนาคารติด 1 ใน 3 ที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งลูกค้าธนาคาร 80% เป็นผู้มีรายได้น้อย และในปี 2561 ธนาคารตั้งเป้าที่จะปล่อยสินเชื่อเพิ่ม 1.89 แสนล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9