มองผ่านศิลป์ สื่อผ่านเรื่องราว นิทรรศการ ‘วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น’ The History of Japanese Art: Life and Faith

07 ม.ค. 2561 | 09:25 น.
เมื่ออากาศหนาวเริ่มมาเยือนประเทศแรกๆ ที่อยู่ในการนึกถึงของคนไทยเสมอมาคงจะหนีไม่พ้น “ประเทศญี่ปุ่น” ดินแดนที่เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งอารยศิลป์ ความประณีตในการดำรงชีวิตที่ได้เพียงนั่งมองอยู่เฉยๆ ก็ไม่รู้สึกเบื่อหรือต้องรีบเร่งแต่อย่างใด สิ่งที่พวกเราได้เห็นด้วยตา ได้สัมผัสด้วยกลิ่นและการเดินเท้าวันละหลายหมี่นก้าวลัดเลาะไปตามซอกซอย นั่งจิบชาร้อนๆ เพียงเห็นใบไม้พลิ้วไหวก็มีความสุข เป็นเพียงฉากหนึ่งอันเป็นภาพปัจจุบัน ณ วินาทีใด วินาทีหนี่งในความทรงจำเท่านั้น ภายใต้มนต์เสน่ห์แห่งอารยธรรมและความแข็งแกร่งของดินแดนตะวันออก “ญี่ปุ่น” และ “ไทย” นับเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมาอย่างยาวนานทั้งในทุกมิติผสานผนึกเป็นประเทศพันธมิตรที่หลอมรวมจนเกิดเป็นสายธารประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าข้ามกาลเวลาหลายศตวรรษ

[caption id="attachment_247790" align="aligncenter" width="486"] พระอมิตาภะพุทธเจ้า ขนาบด้วยพระอวโลกิเตศวร และพระมหาสถามปราปต์ พระอมิตาภะพุทธเจ้า ขนาบด้วยพระอวโลกิเตศวรและพระมหาสถามปราปต์[/caption]

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 130 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ ฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย สำนักกิจการวัฒนธรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คิวชู และเจแปนฟาวน์เดชั่น ร่วมกับฝ่ายไทย คือ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีความตกลงแลกเปลี่ยนนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในมรดกศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน ทำให้เกิดโครงการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนของสองประเทศขึ้นเนื่องในวาระพิเศษนี้ โดยนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำศิลปะญี่ปุ่นครบถ้วนทุกยุคสมัยมาจัดแสดงในประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและตอบแทนนํ้าใจไมตรีที่ในพุทธศักราช 2560 ประเทศไทยได้นำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยมไปจัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง “ความรุ่งโรจน์แห่งพระพุทธศาสนาในดินแดนไทย” (Thailand : Brilliant Land of the Buddha) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คิวชู และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว เนื่องในโอกาสครบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนิทรรศการที่แนะนำมรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ในรอบ 30 ปี ณ ประเทศญี่ปุ่น ที่ผู้เข้าชมทั้งชาวญี่ปุ่นและนานาชาติต่างให้ความสนใจและประทับใจอย่างยิ่ง

[caption id="attachment_247789" align="aligncenter" width="347"] ชุดเกราะนัมบัง ชุดเกราะนัมบัง[/caption]

โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ฝ่ายญี่ปุ่นได้คัดเลือกนำมาจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ “วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ ญี่ปุ่น” The History of Japanese Art: Life and Faith ประกอบด้วยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยโจมน จนถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยเอโดะ ประกอบด้วยหลักฐานที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อนำเสนอเรื่องการเริ่มต้นของศิลปะญี่ปุ่น ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ตระกูลขุนนาง และนักรบ นิกายเซนกับพิธีชงชา และความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน

[caption id="attachment_247788" align="aligncenter" width="377"] เครื่องใช้ของตุ๊กตา “ฮินะ” เครื่องใช้ของตุ๊กตา “ฮินะ”[/caption]

สมัยเอโดะ รวมจำนวน 106 รายการ รวมกว่า 130 ชิ้น โดยมีโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติ 3 รายการ และมรดกวัฒนธรรมสำคัญ 25 รายการรวมอยู่ด้วย เพื่อช่วยส่งเสริมให้ชาวไทยสนใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเพิ่มพูนสัมพันธภาพของทั้งสองประเทศให้มั่นคงยั่งยืน ตัวอย่างเช่น “ภาชนะดินเผาทรงเปลวไฟ” ศิลปวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยโจมนตอนกลาง อายุราว 4,500 ปีมาแล้ว ขุดค้นพบที่แหล่งโบราณคดีโดจิดเตะ ซุนันมาจิ เมืองซึนัน จังหวัดนีกะตะ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญ สะท้อนความคิดความเชื่อในเรื่องอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติของผู้คนในวัฒนธรรมโจมน หนึ่งในสามวัฒนธรรมแห่งบรรพชนรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วยวัฒนธรรมโจมน ยาโยอิ และโคฟุน

[caption id="attachment_247793" align="aligncenter" width="503"] ตุ๊กตา “ฮินะ” สมัยเอโดะ ราวพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตุ๊กตา “ฮินะ” สมัยเอโดะ ราวพุทธศตวรรษที่ 23-25[/caption]

“พระมหาไวโรจนะ” ศิลปวัตถุสมัยเฮอัน สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เป็นไม้ลงรักปิดทองสูง 93.9 ซม. ความสูงของฐานชุกชี 46.7 ซม. ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญ สัญลักษณ์แทนความรุ่งโรจน์ของสมัยเฮอัน หลังจากที่พระพุทธศาสนานิกายเท็นได และนิกายชินกงหรือวัชรยานจากจีน เป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ขุนนางและสามัญชน ทำให้เกิดการสร้างวัด และพระพุทธรูปขึ้นเป็นจำนวนมาก เกิดการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเนื่องในพระศาสนา หรือ “พุทธศิลป์” ชิ้นเยี่ยม ซึ่งในระยะแรกยังคงปรากฏชิ้นงานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 16 พระพุทธปฏิมามีความอ่อนโยน นุ่มนวล ตามแบบญี่ปุ่นมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความวิจิตรด้วยการทาสีสันสดใส รวมทั้งมีการลงรักหรือกะไหล่ด้วยทองคำ และเงิน นับได้ว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 นับเป็นยุคทองของพุทธศิลป์ในดินแดนแห่งนี้อย่างแท้จริง

MP26-3329-3A ศิลปะในยุคต่อมาตั้งแต่สมัยเฮอันจนถึงสมัยเอโดะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) แม้ว่าญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองระบบจักรพรรดิ แต่ยังมีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างสองชนชั้น คือ ขุนนางและนักรบ เกิดขึ้นอยู่เสมอ ศิลปวัตถุที่ปรากฏในยุคนี้คือ ดาบที่ได้รับการสร้างอย่างประณีตบรรจง ทำด้วยไม้ลงรักโรยผงทอง “นาชิจิ” ประดับมุก หนังปลากระเบนและเครื่องสำริด และ ชุดเกราะ “นัมบัง” สมัยอะซึจิโมโมะยามะถึงสมัยเอโดะ พุทธศตวรรษที่ 21-23

MP26-3329-2A นี่เป็นเพียงตัวอย่างของงานศิลปกรรมชั้นยอดที่ได้รับการคัดเลือกมาให้คนไทยได้ยลโฉมในนิทรรศการพิเศษ “วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น” The History of Japanese Art: Life and Faith ซึ่งงานศิลปวัตถุมากกว่า 130 ชิ้น จะค่อยๆ เล่าเรื่องราวสะท้อนภาพวัฒนธรรมแรกเริ่มของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน จนหลอมรวมเกิดเป็นการผสมผสานกับวัฒนธรรมที่มีมาแต่ดั้งเดิมจนประยุกต์เป็นลักษณะหรือแบบเฉพาะของญี่ปุ่นให้พวกเราได้สัมผัสดังเช่นในปัจจุบัน นิทรรศการนี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2560 - 18 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00-16.00 น. ณ พระที่นั่ง ศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร รับรองว่าสิ่งที่ได้จะรับมากกว่าการมองงานศิลป์ในครั้งที่ผ่านๆ มาอย่างแน่นอน

บุรฉัตร ศรีวิลัย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,329 วันที่ 7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9