ยก‘ศาสตร์พระราชา’ ขับเคลื่อนกทบ.สร้างฐานรากเข้มแข็ง

07 ม.ค. 2561 | 06:19 น.
สํานักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง(กทบ.) กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก จากจำนวนกองทุน 79,593 กองทุน สมาชิกกว่า 13 คนทั่วประเทศ โดย “นที ขลิบทอง” ผู้อำนวยการกทบ.ซึ่งเห็นการพัฒนาของกองทุนตลอดระยะเวลา 11 ปี หลังเข้านั่งบริหาร

“ผอ.นที” สะท้อนภาพกองทุนผ่าน“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กองทุนหมู่บ้านเป็นกระบวนการภาคประชาชนที่ได้ลองผิดลองถูก ซึ่งปี 2561 จะเป็นปีที่ 17 ของกองทุน รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ของประเทศไปสู่เป้าหมายเศรษฐกิจฐานราก ดังนั้นกองทุนหมู่บ้านฯ จะใช้ศาสตร์พระราชาเป็นตัวตั้งเป็นการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในรัชกาลที่ 9 และหลักทรงงานพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 มาขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านฯ 3 มิติคือ มิติกองทุนและคนเข้มแข็ง มิติทางสังคม และมิติเศรษฐกิจ

[caption id="attachment_246792" align="aligncenter" width="412"] นที ขลิบทอง นที ขลิบทอง[/caption]

สำหรับมิติกองทุนและคนเข้มแข็งนั้น จะร่วมกับกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิทัลฯและตลาดหลัก ทรัพย์ฯ เพื่อสนับสนุนให้ความรู้ผ่านการอบรม 4 ด้าน ทั้งด้านกฎหมาย เทคโนโลยี ธุรกิจและการเงิน ซึ่งความเป็นรูปธรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่ 8,000คนควบคู่กับโฆษกกองทุนอีก 8,000 คน ภายในกลางปี 2561 และอนาคตจะสร้างผู้นำกองทุนหมู่บ้านฯต่อไป

++3เดือนตั้งEDC2พันร้าน
นโยบายที่กทบ.จะทำร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ระยะแรกจะยกระดับร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านฯเป็นร้านค้าไฮบริดคือ เป็นทั้งหน้าร้านและออนไลน์ กำหนดติดตั้งเครื่องอีดีซี 2,000 ร้านค้า ภายใน 3 เดือนแรกของปี 2561 จากนั้นจะประเมินผล ก่อนเดินหน้าติดตั้งให้ได้ 1 หมื่นร้านค้าตามเป้าหมาย และจะขยาย ตลาดประชารัฐประจำหมู่บ้าน 1,500 แห่ง เพื่อเสริมตลาดต้องชม และร่วมกันพัฒนาตลาดเฉพาะทางกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาด้วย

โดยเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้ของกองทุนหมู่บ้านฯจัดทำศูนย์ดิจิตอลชุมชนตามแผนของกระทรวงดิจิทัลฯ จำนวน 200 แห่งและร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯสร้างกองทุนหมู่บ้านวิทยา ศาสตร์ให้ได้ 800 แห่ง

ส่วนมิติทางสังคมจะสร้างสวัสดิการจากผลตอบแทนที่ได้จากร้านค้า โดยจะร่วมกับกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) เพื่อนำเงินเหล่านี้มาสงเคราะห์คนชรา หรือค่ารักษาพยาบาล ขณะที่มิติทางเศรษฐกิจ จะพัฒนาร้านค้ายกระดับตลาดประชารัฐและหมู่บ้านท่องเที่ยว

++ใช้มาตรการเข้มหลังฟื้นฟู
การฟื้นฟูกองทุนที่มีปัญหาจะใช้มาตรการเข้มงวด โดยขีดเส้นให้กรรมการชุดเก่าต้องรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นให้จบ เพื่อเปิดทางให้กรรมการชุดใหม่เข้ามาพัฒนากองทุนต่อไป

“นที”ยืนยันทิ้งท้ายว่า เงินรัฐที่ใส่เข้ามานั้น ไม่ได้หายไปไหนยังมีเงินหมุนเวียนกว่า 2 แสนล้านบาทที่จะใช้ในการอัดฉีดฐานรากต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,328 วันที่ 4 - 6 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9