คปภ.คาดอุตฯประกันภัยปีจอโต7% ส่วนปี 60 ปิดหีบ 8.25 แสนล้าน

27 ธ.ค. 2560 | 04:11 น.
คปภ.คาดอุตสาหกรรมประกันภัย“ปีจอ”โตต่อเนื่อง 7% คาดเบี้ยประกันภัยรวม “ปีระกา” ปิดหีบ 8.25 แสนล้าน ตั้งแท่นปรับปรุงกติกาขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ พร้อมสุ่ม ตรวจสอบ “สำนักงานตัวแทน-นายหน้าประกันภัย” ทั่วประเทศ

[caption id="attachment_245617" align="aligncenter" width="503"] ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ[/caption]

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย ว่าจากการที่สำนักงานคปภ.ได้ประกาศนโยบายในการขับเคลื่อนองค์กรและอุตสาหกรรมประกันภัยสำหรับปี 2561 เพื่อจะก้าวสู่มาตรฐานสากล และเตรียมเข้าร่วมโครงการประเมินภาคการเงิน(FSAP) ไม่ว่าจะเป็นส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตลาดด้านผลิตภัณฑ์ประกันภัย (Insurance Products) เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความคุ้มครอง ที่ตรงความต้องการด้วยเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัยแต่ละราย รวมทั้งส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการกำหนดรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยให้มีความเป็นสากล มีความหลากหลาย ยกระดับการให้บริการและพฤติกรรมในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปพร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพทางการเงินที่ได้ มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และป้องกันไม่ให้บริษัทประกันภัยใช้ช่อง โหว่มาแสวงหาผลประโยชน์หรือเอาเปรียบผู้บริโภคและยังคงเดินหน้าเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยเชิงรุก ให้กับประชาชน ผ่านโครงการ “คปภ.เพื่อชุมชน” อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ในปี 2561 สำนักงาน คปภ. มีนโยบายจะเพิ่มความเข้มข้นในการกำกับดูแลคนกลางประกันภัย  ซึ่งเป็นช่องทางที่สำคัญในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประกันภัยโดยจะมีการปรับปรุงกติกาในการขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ตลอดจนระบบตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนกลางประกันภัยเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในกระบวนการขายและการดูแลกรณีเกิดปัญหาในเรื่องประกันภัย ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบและออกสุ่มตรวจสำนักงานตัวแทนประกันและสำนักงานนายหน้าประกันภัย โดยจะมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สายตรวจสอบคนกลาง ประกันภัยได้เสนอแผนการตรวจมาให้พิจารณาและได้เห็นชอบแล้ว ประกอบกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2561 มีทิศทางอยู่ในแดนบวก

ดังนั้นสำนักงาน คปภ. จึงได้ วิเคราะห์แนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบโดยคาดว่าปี 2561 จะมีเบี้ยประกันภัย รวมทั้งปี จำนวน 883,998 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 7.09 แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 652,604 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 7.8 และเบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 231,395 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 5.12 ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ ทิศทางการเติบโต ของผลิตภัณฑ์ประกันภัยในปี 2561 คาดว่าการประกันชีวิตกรมธรรม์หลักประเภทกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแบบยูนิตลิงค์และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ยังเป็นดาวรุ่ง ส่วนการประกันชีวิตสัญญาเพิ่มเติมนั้นกรมธรรม์ประกันสุขภาพ ยังคงมาแรง ในขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัย คาดว่าการประกันภัยรถยังคงเติบโตต่อเนื่อง

วิทยุพลังงาน-17-503x73 สำหรับธุรกิจประกันภัยในปี 2560 ถือเป็นปีแห่ง“การขับเคลื่อนการประกันภัยในยุคดิจิทัล” ซึ่งได้คำนึงถึงการรักษาสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยและการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมดิจิทัลในอุตสาหกรรมประกันภัย และเปลี่ยนผ่าน สำนักงาน คปภ. ไปสู่การเป็น “Digital Insurance Regulator” ควบคู่ไปกับการมุ่งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนเกิดความ ตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย สามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงใน ชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โลก ส่งผลให้การส่งออกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้น จากการลงทุนในโครงการสำคัญและกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนภาคเอกชนมีการฟื้นตัวที่ ชัดเจนมากขึ้น การจ้างงานปรับตัวดีขึ้น รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและการบริการ  ประกอบกับในปี 2560 สำนักงาน คปภ. มีแนวนโยบายกำกับและส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม อาทิ ยกระดับ แนวทางการตรวจสอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit) มีการพัฒนาการกำกับธุรกิจประกันภัย Insurance Regulatory Sandbox  ซึ่งถือเป็นการยกระดับการกำกับและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อม (Ecosystem) ที่ เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัล รวมทั้งมีการกำกับดูกิจกรรมของบริษัทประกันภัยที่จะทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร มีการผลักดันการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 และ ฉบับที่ 17 มี การส่งเสริมการประกันภัยเชิงรุก ผ่านโครงการ คปภ.เพื่อชุมชน” มีการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับผู้มี รายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส  มีการขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผลและโครงการประกันภัยข้าวนาปี  มีการส่งเสริมความ ร่วมมือด้านวิชาการประกันภัยในกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชีย นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่อนโครงการฐานข้อมูลกลาง ด้านการประกันภัย (Insurance Bureau System) มีการยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้าน การประกันภัย ตลอดจนการเพิ่มกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามแนวนโยบายประชารัฐ ฯลฯ

ดังนั้นสำนักงาน คปภ. จึงคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบ เมื่อสิ้นปี 2560 เบี้ยประกันภัยรวมทั้งปี จะปิดหีบจำนวน 825,485 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 6.14 แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิตจำนวน 605,367 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 6.58 และเบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 220,118 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.95 ตามลำดับ โดยสามารถวิเคราะห์ได้จาก อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันภัยระหว่าง (เดือนมกราคม – กันยายน 2560 ) มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 599,148 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.93 แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 439,290 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.24 ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง จำนวน 159,858 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.11 เมื่อเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตที่มีอัตราการเติบโตโดดเด่น เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุนแบบยู นิตลิงค์ ขยายตัวร้อยละ 104.16 และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ ขยายตัวร้อยละ 27.91 รวมถึงการประกันชีวิตที่ มีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ขยายตัวร้อยละ 8.41 ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าคนไทยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของ การออมการลงทุน และด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น สำหรับธุรกิจประกันวินาศภัย พบว่า เบี้ยประกันภัยรถและเบี้ย ประกันภัยเบ็ดเตล็ด มีอัตราการเติบโตโดดเด่น จากการประกันภัยประเภทรถ มาจากการนโยบายการชะลอตัวการส่งออก รถยนต์และส่วนประกอบ เพื่อเพิ่มการผลิตภายในประเทศ ซึ่งขยายตัวร้อยละ 5.11 รองลงมาเป็นการประกันภัยเบ็ดเตล็ด ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.98 และการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง โดยเฉพาะเบี้ยประกันภัยตัวเรือ ขยายตัวร้อยละ 6.40

e-book ทั้งนี้ ธุรกิจประกันภัยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,680,751 ล้านบาท โดยสินทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 8.78 เป็นสินทรัพย์ลงทุนทั้งสิ้น จำนวน 3,367,401 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย แบ่งเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจประกันชีวิต จำนวน 3,224,343 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.08 สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็น สินทรัพย์ลงทุน จำนวน 3,050,082 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 94.6 ของสินทรัพย์รวม โดยเป็นเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาครัฐ จำนวน 1,871,200 ล้านบาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาคเอกชน 618,165 ล้านบาท และหุ้นทุน จำนวน 230,552 ล้านบาท เงินให้กู้ยืม 142,814 ล้านบาท เงินฝากกับ สถาบันการเงิน 54,009 ล้านบาท ส าหรับอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสำรอง ของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ที่ร้อยละ 123.56 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันชีวิตมีสินทรัพย์ลงทุนเพียงพอต่อหนี้สินผู้เอาประกันภัย

สำหรับสินทรัพย์ของธุรกิจประกันวินาศภัย จำนวน 456,408 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.4 สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็น สินทรัพย์ลงทุน จำนวน 317,319 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.53 ของสินทรัพย์รวม โดยเป็นเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาครัฐ จ านวน 73,254 ล้านบาท เงินลงทุนในหลักทรัพย์ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นกู้ ภาคเอกชน 32,021 ล้านบาท และหุ้นทุน จำนวน 92,506 ล้านบาท เงินให้กู้ยืม 2,044 ล้านบาท เงินฝากกับสถาบัน การเงิน 90,365 ล้านบาท สำหรับอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องของธุรกิจประกันวินาศภัย อยู่ที่ร้อยละ 178.26 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.02 แสดงให้เห็นว่าธุรกิจประกันวินาศภัยมีสินทรัพย์ลงทุนเพียงพอต่อหนี้สิน ผู้เอาประกันภัยด้วยเช่นกัน  โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6