รถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่ ลงทุนกว่า1.6หมื่นล้านกระตุ้นศก.ใต้

20 ธ.ค. 2560 | 05:58 น.
“สงขลา-หาดใหญ่” ถือว่าเป็นหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในโซนภาคใต้ที่ปัจจุบันมีสภาพการจราจรแออัด ส่งผลให้การค้าขาย คมนาคมการขนส่ง การท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบตามไปด้วย ประการสำคัญเศรษฐกิจในพื้นที่หาดใหญ่-สงขลานั้นล้วนแล้วแต่นำเม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ประเทศได้จำนวนมหาศาล

ดังนั้นเมื่อปี 2559 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงมีแนวทางแก้ปัญหาจราจร โดยการเสนอพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางในพื้นที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รูปแบบระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(โมโนเรล) เพื่อเชื่อมโยงใจกลางเมืองหาดใหญ่กับสนามบิน สายคลองหวะ-สถานีรถตู้ มีระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร

TP12-3323-1B โดยมีจำนวน 12 สถานี ได้แก่ 1. สถานีคลองหวะ 2. สถานีขนส่ง หาดใหญ่ (เซ็นทรัล) 3. สถานีคลองเรียน 4. สถานีม.อ. 5. สถานี คอหงส์ 6. สถานีราษฎร์ยินดี (บิ๊กซี) 7. สถานีหาดใหญ่วิทยาลัย 8. สถานีนํ้าพุ 9. สถานีตลาดกิมหยง 10. สถานีชุมทางรถไฟหาดใหญ่ 11. สถานีหาดใหญ่ใน และ 12. สถานีรถตู้ (ตลาดเกษตร) เบื้องต้นนั้นตามผลการศึกษาความเป็นไปได้พบว่ามีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท

ปัจจุบันโครงการนำร่องจากทั้งสิ้นจำนวน 8 เส้นทางที่มหาวิทยาลัย เทคโนพระจอมเกล้าธนบุรีได้ศึกษาเรียบร้อยแล้วนั้นอยู่ในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และการศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนพีพีพี เนื่องจากโครงการมีมูลค่าสูงมากจึงเข้าข่ายดำเนินการตามพ.ร.บ. ร่วมทุนปี 2556 คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในปี 2561หลังจากนั้น อบจ.สงขลาจะเร่งนำเสนอผ่านกระทรวง มหาดไทยผลักดันโครงการต่อรัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการต่อไป

สำหรับรูปแบบของโมโนเรลโครงการนี้ตามผลการศึกษาจะเป็นแบบคร่อมราง (straddled) ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน ดังตัวอย่างการใช้งานในเมืองกัวลาลัมเปอร์ ในซีดนีย์ และโตเกียว หากดำเนินการก่อสร้างและเปิดบริการจะสามารถลดปัญหาสภาพการจราจรติดขัดในอ.หาดใหญ่ อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพในการท่องเที่ยวและการลงทุนของหาดใหญ่ได้อีกทางหนึ่งด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,323 วันที่ 17 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-5-503x62