Spaces within space: A Vision of Co-Living Generation by AP Thai

14 ธ.ค. 2560 | 08:00 น.
ผลลัพธ์ของการทับซ้อนทางดีไซน์ 
สู่พื้นที่ใช้สอยที่คุ้มค่า “นวัตกรรมพื้นที่แห่งอนาคต” แม้แต่อากาศก็สามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับการใช้งานได้ โครงการออกแบบพื้นที่ซึ่งไม่เพียงมองเห็นปัญหาของสังคม
ว่า ต่อไปพื้นที่จะลดลงและมีค่ามากขึ้น
ในทุกๆ วัน แต่พื้นที่ยังสามารถส่งต่อใน
ฐานะ “โอกาส” เพื่อมอบให้กับเยาวชนที่ขาดโอกาสเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครเนื่องจากไม่สามารถรับภาระค่าหอพัก รวมถึงความรู้สึกโดดเดี่ยวจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โครงการ CSR รูปแบบใหม่ “Space Scholarship” ส่งต่อ “พื้นที่ชีวิต” มอบทุนการศึกษาเป็น “ที่พักอาศัย” โดย บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับชั้นนำของไทย เจ้าแห่งนวัตกรรมเพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยสำหรับคนเมืองจึงเริ่มต้นขึ้น

MP26-3321-1b การนำความเชี่ยวชาญในการออกแบบและสร้างสรรค์ “พื้นที่” (Space) สำหรับการอยู่อาศัย ร่วมกับ ดีไซน์สตูดิโอชื่อดังจากประเทศอิตาลี “FABRICA” (แฟบริกา) 
ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ทางวัฒนธรรม
จากความหลากหลายของรากฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหล่า
นักออกแบบมีร่วมกันคือ “ประสบการณ์ในการเป็นนักศึกษา”

จากคำถามที่ว่า “เราจะสร้างพื้นที่แห่งการแบ่งปันไปพร้อมๆ กับการสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ได้อย่างไร” หลอมรวมเป็น “SUM Concept” คือ พื้นที่ในการอยู่ร่วมกันที่ช่วยส่งเสริมการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ผ่านการผนวก “ผลรวม” ของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทั้งหมดคือการเรียบเรียงองค์ประกอบอันหลากหลายให้เติมเต็มและเพิ่มคุณค่ากันและกัน เกิดเป็นอัตลักษณ์ทางกราฟิกที่นำเสนอการออกแบบพื้นที่ เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่ส่งผ่านการสร้างพื้นที่ใหม่ๆ รูปร่างใหม่ๆ
ซึ่งเกิดจาก “ผลรวม” ของรูปทรงเรขาคณิตที่ทับซ้อนกันอยู่ เป็น “พื้นที่ที่สาม” หรือ “พื้นที่ที่ซ่อนอยู่: Spaces within Space” ที่น่ามหัศจรรย์สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกตารางนิ้ว ผสานกับการเลือกโทนสีและ
การจัดวางรูปทรงที่สร้างความรู้สึกมีพลังและมีชีวิตชีวา หลอมรวมความรัก ความอบอุ่น และ ความรู้สึกของคำว่า “มิตรภาพ” ไว้ด้วยกัน

[caption id="attachment_239856" align="aligncenter" width="503"] ห้องพักที่ได้รับการออกแบบสำหรับน้องๆ นักศึกษาหญิง 3 คน ในโครงการ Space Scholarship ห้องพักที่ได้รับการออกแบบสำหรับน้องๆ นักศึกษาหญิง 3 คน ในโครงการ Space Scholarship[/caption]

นวัตกรรมการกิน-อยู่-หลับ-นอน หรือจะเรียกอย่างไฉไลว่า “Co-Living Innovation” ของห้องชุดขนาด 30 ตารางเมตร ในโครงการ Aspire รัตนาธิเบศร์ 2 ได้รับการออกแบบเพื่อรองรับการอยู่อาศัยร่วมกันของน้องๆ นักศึกษาซึ่งมาจากคนละภูมิลำเนา ต่างคณะ ต่างมหาวิทยาลัย ทั้ง 3 คน ออกแบบทุกความจำเป็นของการอยู่อาศัย อย่างลงตัวผ่านเฟอร์นิเจอร์หลากรูปแบบ ตั้งแต่เตียง 2 ชั้น ที่แม้แต่อากาศก็ยังสามารถเป็นพื้นที่สำหรับแขวน ทุกผนัง ทุกมุม ขึ้นพื้นที่จัดเก็บของต่างๆ ที่จำเป็นอย่างลงตัว โดดเด่นด้วย “การออกแบบที่เชื่อมโยงความต่างทางวัฒนธรรม” สะท้อนผ่านโต๊ะ 1 ตัวที่อยู่กลางห้อง ที่ออกแบบผ่านแนวคิดการทับซ้อนทางดีไซน์สร้างฟังก์ชันที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงานที่ทุกคนได้ศึกษาวิชาส่วนตัว หรือเมื่อแต่และแนวและแต่ละมุมได้รับการพับและจัดเก็บจะกลายเป็นโต๊ะตัวกว้างสำหรับเปลี่ยนอาหารพื้นถิ่นและกิจกรรมร่วมกันในทันที เชื่อมโยงทั้งสามชีวิตในห้องที่แสนน่ารักและอบอุ่นได้อย่างลงตัว

[caption id="attachment_239853" align="aligncenter" width="503"] มร.แซม บารอง สรรพสิทธิ์ ฟุ้งเฟื่องเชวง มร.แซม บารอง
สรรพสิทธิ์ ฟุ้งเฟื่องเชวง[/caption]

สำหรับน้องๆ นักศึกษาชายที่ได้รับทุนการศึกษาอีก 4 คน พักอาศัยร่วมกันในห้องขนาด 46 ตารางเมตร ของโครงการ Aspire สาทร-ตากสิน เนรมิตห้องขนาด 2 ห้องนอนทลายกรอบทางวัฒนธรรม สร้างสมการ 
1+1 = 3 เกิดเป็นคำตอบของพื้นที่ใหม่ ที่ตอบโจทย์ความเป็นไปได้ของการอยู่อาศัยในสภาวะที่มี “พื้นที่” จำกัดมากขึ้นทุกวัน แต่สามารถรังสรรค์เป็นบ้านที่แสนอบอุ่นได้ไม่ต่างกัน นวัตกรรมการออกแบบพื้นที่ยุคใหม่จาก “เอพี (ไทยแลนด์)”

เรื่อง : บุรฉัตร ศรีวิลัย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,321 วันที่ 10 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว