SCB Show Case ในงานInternet of Things 2017เสนอฟังก์ชั่นนวัตกรรมล้ำสมัย

19 พ.ย. 2560 | 04:02 น.
วันที่ 19พ.ย.60 การจัดงานInternet of Things 2017 ที่ BCC Hall ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว วันที่2 ของการจัดงาน ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โดยบรรยากาศของงานยังคงมีการให้ความรู้ ด้วยการเสวนาหัวข้อ "IoTพลิกโฉมธุรกิจ" โดยมีวิทยากรที่มีประสบการณ์คือคุณอรพงษ์ เทียนเงิน CEO of Digital Venture (SCB Group) นพ.ภาณุทัต เตชะเสน กรรมการผู้จัดการบจ.เมกเกอร์เอเชีย ผู้ก่อตั้ง Chiang MaiMaker Club ดร.ทรงพล องค์วัฒนกุล อ.ประจำภาควิชาวิศวกรรม ชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล และคุณจาริตร์ สิทธุ ผู้จัดการฝ่ายงานวิจัยตลาดไคลเอนด์ ดีไวซ์ และหัวหน้านักวิเคราะห์ บริษัท ไอดีซี (ประเทศไทย)จำกัด จะเริ่มต้นขึ้นในช่วง11.30 น. และภายในงานยังคงมีการแสดงนวัตกรรมอีกมากมาย

ทั้งนี้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้มีมุมมองต่อIoT ดังนี้

scb2

Internet of Payment Things : Cashless Society

ในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมา ระบบการชำระเงิน (Payment) ของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเกิดจากแรงขับเคลื่อนอย่างจริงจังของทุกภาคส่วน นับตั้งแต่รัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่ธนาคารไทยพาณิชย์เล็งเห็นว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่จะพลิกโฉมรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน การเข้ามาของดิจิทัลเทคโนโลยีซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบทบาทสำคัญและทำให้โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็น C2C (Customer to customer), C2B (Customer to business), C2M (Customer to machine) รวมถึง Sharing Economy ผ่าน IoT (Internet of Things) ที่จะทำให้การใช้จ่ายแบบนาโนเพย์เมนท์สะดวกมากขึ้นและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง

ธนาคารเล็งเห็นถึงความสำคัญของคิวอาร์โค้ดมาตรฐานที่ทาง ธปท. สนับสนุนให้เกิดขึ้นนั้นเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมากในการกำหนดมาตรฐานเดียวกัน รวมทุกช่องทางการชำระเงินไว้ด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่จะต้องสร้างคิวอาร์โค้ดที่หลากหลายตามช่องทางการชำระเงินแต่ละประเภท ซึ่งการมีคิวอาร์มาตรฐานนี้จะช่วยสร้างความสะดวกให้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของธนาคารใดก็ตาม เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด ก็สามารถชำระเงินได้เช่นเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นการช่วยลดต้นทุนระบบการชำระเงินและการบริหารเงินสดของประเทศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีระบบที่มีความปลอดภัย มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ช่วยลดโอกาสในการทำธุรกรรมที่เกิดจากการใส่ตัวเลขที่ผิดพลาด หรือการถูกปลอมแปลงจากการใช้บัตรอีกด้วย

scb1

นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ทางธปท. ได้เปิดให้ธนาคารพาณิชย์เข้าร่วมทดลองให้บริการคิวอาร์โค้ดในการชำระเงินแทนเงินสดในศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเงิน (Sandbox) นั้น ไทยพาณิชย์เป็นรายแรกๆ ที่ร่วมทดลองและให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่จริง เพื่อสร้างความรู้ให้กับประชาชน ผ่านการสาธิตให้เห็นจริงอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ แหล่งช้อปปิ้ง (ตลาดนัดจตุจักร, สยามสแควร์, แพลตตินั่ม, MBK) มหาวิทยาลัย (เกษตรศาสตร์, ธรรมศาสตร์) คมนาคมขนส่ง (วินมอเตอร์ไซค์, วินรถตู้, แท็กซี่) ตลาดสด (ตลาดสามย่าน, ตลาดมีนบุรี) และวัด (วัดศาลพันท้ายนรสิงห์) นับว่าเราสามารถสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ได้หลากหลายที่สุด และในขณะนี้ ธนาคารมีความพร้อมอย่างมากและมีแผนรองรับที่จะขยายการให้บริการแก่ลูกค้าทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกๆ ระบบนิเวศ (Ecosystem) ทันทีที่ได้รับอนุมัติจากธปท. ให้ออกจากแซนด์บ็อกซ์ ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์เชื่อว่าเทคโนโลยีทางการเงินต่างๆ จะยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของมนุษย์

ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็นเทรนด์ช่องทางการชำระค่าสินค้าและบริการอัตโนมัติ (Automatic self-checkout) ผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code) ในศูนย์การค้า หรือการเข้าไปซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อ หรือมินิมาร์ทต่างๆ โดยไม่ต้องมีพนักงานขายอีกต่อไป (Manless Shop) รวมถึงรูปแบบการช้อปปิ้งในโลกเสมือนจริง (Virtual Shopping) ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์จะไม่หยุดมุ่งมั่นในการพัฒนาและนำเสนอนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างรอบด้าน ภายใต้เจตนารมย์ เป็นทุกอย่างเพื่อทุกไลฟ์สไตล์การเงินแห่งยุคดิจิทัล

scb3

SCB Show Case บนพื้นที่ขนาด 50 ตารางเมตรธนาคารได้นำเทคโนโลยีในอนาคตมานำเสนอฟังก์ชั่นการใช้งานของนวัตกรรมทางการเงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์สร้างสรรค์ออกมาถึงมือลูกค้าได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีไฮไลท์ในการนำเสนอ ดังนี้
• i living (virtual shop) การนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงเข้ามาใช้ในการช้อปปิ้งเลือกซื้อเสื้อผ้า ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าได้และยิ่งไปกว่านั้นสามารถชำระเงินได้ทันที หลังจากนั้นทางร้านก็จัดหาสินค้าที่ลูกค้าเลือกส่งได้ตามต้องการทันที
•Manless Minimart ร้านค้าไร้พนักงานขาย เป็นร้าน minimart ใช้ QR Code ในการรับชำระเงิน

•QR Vending Machine ตู้กดน้ำโดยชำระเงินด้วย QR Code
•Coin Machine เครื่องฝากเหรียญอัติโนมัติที่พร้อมโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
• POOK กระปุกออมสินดิจิตอลเชื่อมต่อบนแอพพลิเคชันที่สามารถแสดงจำนวนเหรียญที่หยอดลงไปได้แบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ

e-book