ซิว! “ขุมทรัพย์พลังงาน” ประมูลรอบใหม่ดุแน่

08 พ.ย. 2560 | 12:54 น.
1942

อกชนหนุนปรับแผนแม่บทพลังงาน เพิ่มสัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นเท่าตัว ชี้! เอกชนมีศักยภาพทำได้ แต่ขอมีความชัดเจนเป็นรายปี จับตาประมูล VSPP Semi-Firm ช่วงต้นปีหน้าอีกรอบ หลัง “เอสพีพี ไฮบริด” แข่งขันกันถล่มทลาย

 

[caption id="attachment_187737" align="aligncenter" width="503"] NIK_5417 พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[/caption]

จากที่ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้มีนโยบายปรับปรุงแผนแม่บทพลังงานของประเทศใหม่ โดยจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จาก 20% หรือราว 1.96 หมื่นเมกะวัตต์ เป็น 30-40% หรือกว่า 3 หมื่นเมกะวัตต์ ได้ส่งผลให้วงการธุรกิจด้านผลิตไฟฟ้าเกิดการตื่นตัว ที่จะรุกเข้าสู่พลังงานทดแทนมากขึ้น

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ เคเอสแอล เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การที่กระทรวงพลังงานได้ปรับแผนแม่บทพลังงานของประเทศใหม่ โดยมุ่งส่งเสริมพลังงานทดแทนมากขึ้นนั้น ถือว่าเป็นนโยบายที่เดินมาถูกทาง เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละรายมีขีดความสามารถในการลงทุนด้านพลังงานทดแทน แต่ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละรายจะใช้เชื้อเพลิงประเภทไหน

 

[caption id="attachment_28071" align="aligncenter" width="363"] ชลัช ชินธรรมมิตร์ ชลัช ชินธรรมมิตร์[/caption]

ทั้งนี้ เห็นได้จากการเปิดประมูลเสนอขายไฟฟ้าในรูปแบบเอสพีพี ไฮบริด เฟิร์ม (SPP Hybrid Firm) ในปริมาณ 300 เมกะวัตต์ ถือว่า ภาครัฐประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง เนื่องจากมีผู้เข้าประมูลถึง 85 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง รวม 2,464 เมกะวัตต์ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง และทำให้ราคาค่าไฟฟ้าที่รับซื้อต่ำกว่า 3.66 บาทต่อหน่วย ตามที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งบริษัทก็เป็นหนึ่งในผู้ยื่นประมูลโรงไฟฟ้าชีวมวล จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โรงไฟฟ้าเอสพีพี ที่ อ.วังสะพุง จ.เลย กำลังการผลิต 20-25 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น กำลังการผลิต 20 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอยากเห็นความชัดเจนของแผนส่งเสริมพลังงานทดแทนในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งมีการประกาศความชัดเจน ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในแต่ละปี ไปจนถึงปลายแผนปี 2579 เพื่อให้ผู้ประกอบการมั่นใจว่า เมื่อลงทุนไปแล้ว จะไม่มีความเสี่ยงจากนโยบายของภาครัฐ

นอกจากนี้ การกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ควรแบ่งแยกตามเชื้อเพลิง เนื่องจากราคาวัตถุดิบแต่ละชนิดในการผลิตไฟฟ้ามีต้นทุนที่แตกต่างกัน เพราะการเหมารวมราคาเพื่อประมูลแข่งขันกันนั้น มีปัจจัยที่แตกต่างกัน อาทิ โรงไฟฟ้าชีวมวลมีต้นทุนวัตถุดิบที่ไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัวในระยะยาว ขณะที่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) มีต้นทุนที่ลดลงทุกปี แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 4-5 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น เทียบกับโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เดินเครื่องได้ 24 ชั่วโมง


วิทยุพลังงาน

“การเปิดประมูลเอสพีพี ไฮบริด เฟิร์ม ที่ กกพ. เปิดรอบนี้ 300 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลที่ประมูลแข่งขัน ซึ่งบริษัทก็ประมูลในราคาที่เหมาะสมและอยู่ได้ และหากในอนาคต ภาครัฐเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น บริษัทก็พร้อมขยายการลงทุน แต่คงต้องรอแผนพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานก่อนว่า จะออกมาอย่างไร มีความชัดเจนหรือไม่” นายชลัช กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา พบว่า ต่างชาติยังมองประเทศไทยเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน และอยู่ระหว่างการปรับแผนแม่บท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับแผนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเท่าตัว เพราะแนวโน้มเทคโนโลยีที่ดีขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนถูกลง ส่งผลให้โอกาสที่จะพัฒนาพลังงานทดแทนมีมากขึ้น

นอกจากนี้ แนวโน้มพลังงานทดแทนของไทยในอนาคต จะต้องสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบไฮบริด ทั้งชีวมวล ก๊าซชีวภาพ โซลาร์เซลล์ และลม ต้องมีการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับต้นทุนไฟฟ้าของประเทศ และสามารถกระจายไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ลดการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิลขนาดใหญ่ได้ด้วย

โดยหลังจากเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ ‘เอสพีพี ไฮบริด เฟิร์ม’ ไปแล้ว จะมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ VSPP Semi-Firm จำนวน 269 เมกะวัตต์ รวมถึงโครงการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาและอาคาร (โซลาร์รูฟท็อป) อีกจำนวน 300 เมกะวัตต์ ดังนั้น จะส่งผลให้ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนเกิดความคึกคัก เพราะทุกบริษัทต้องการขยายโอกาสการลงทุน

 

[caption id="attachment_227108" align="aligncenter" width="259"] นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต[/caption]

น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคระกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า การเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือ วีเอสพีพี ในรูปแบบเซมิ เฟิร์ม 269 เมกะวัตต์ คาดว่าจะไม่ทันปลายปีนี้ เนื่องจากต้องรอประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลโครงการเอสพีพี ไฮบริด เฟิร์ม ในวันที่ 14 ธ.ค. นี้ จากนั้นคาดว่า จะสามารถเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากวีเอสพีพี เซมิ เฟิร์ม ภายในต้นปี 2561 ขณะที่ การเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการขยะชุมชน 80 เมกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถเปิดรับซื้อภายในปีหน้าเช่นกัน


หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,311 วันที่ 5-8 พ.ย. 2560 หน้า 01+15


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1-13