เยือนพิพิธภัณฑ์ ยลเครื่องทองยุคต้นกรุงศรีอยุธยา

20 ก.ย. 2560 | 08:30 น.
MP28-3297-ab “โบราณวัตถุและศิลปะวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษาและตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษาและตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่”

MP28-3297-4 พระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ระหว่างเสด็จทอดพระเนตรพระพุทธรูป พระพิมพ์ โบราณวัตถุ และเครื่องทองคำโบราณที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2500

MP28-3297-1 การเดินทางซึ่งนำโดย บัตรเครดิตกรุงไทย หรือ KTC ภายใต้ธีม “รับรู้ รู้รักษ์ พักรบ” พาเราย้อนกลับไปช่วงเวลาเดียวกันนี้ในเดือนกันยายน เมื่อ 60 ปีก่อน คงจะไม่มีเหตุการณ์ใดที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งประเทศ พาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ทุกสำนักต่างจับจ้องประเด็นเรื่อง “กรุแตก” กับการลักลอบขุดหาสมบัติภายในพระปรางค์องค์ประธานวัดราชบูรณะ พบเครื่องทองโบราณนับ 100 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามนับเป็นความเสียใจและและดายอย่างยิ่งที่เครื่องทองโบราณมีมูลค่ามหาศาลตัวแทนประวัติศาสตร์และความเจริญรุ่งเรืองของชาติไทยเมื่อราว 600 ปีก่อน สามารถนำกลับคืนมาได้เพียง 1 ใน 10 ของทองคำทั้งหมดที่ถูกลักลอบขุดไปเท่านั้น

MP28-3297-2 อย่างไรก็ตามเครื่องทองโบราณที่สามารถยึดคืนมาได้ และเครื่องทองโบราณที่กรมศิลปากรขุดค้นพบเพิ่มเติม รวมถึง พระพุทธรูป พระพิมพ์ แผ่นจารึก และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งด้วยทองคำ สำริด เงิน ชิน และดินเผา ซึ่งล้วนแต่มีอายุเก่ากว่า พ.ศ. 1967 ซึ่งเป็นปีที่สร้างองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ ได้รับการเก็บรักษาอย่างสมเกียรติในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑสถานภูมิภาคแห่งแรกในประเทศไทย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

MP28-3297-5 ห้องขนาดใหญ่บริเวณปีกด้านทิศตะวันออกของพิพิธภัณฑ์ฯ ได้รับการตกแต่งภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เบื้องหลังกระจกนิรภัยคือเครื่องทองโบราณส่องประสายสีทองเหลืองอร่ามปะทะกับสายตาที่พยายามเข้าไปแนบชิดกระจกให้ได้มากที่สุด เครื่องประดับศีรษะสำหรับสตรีผู้สูงศักดิ์ในราชสำนักต้นกรุงศรีอยุธยา กับลวดลายซึ่งเกิดขึ้นจากการถักสานด้วยทองคำเส้นเล็กๆ เกิดเป็นลวดลายดอกไม้ ลายตาข่าย และลายไทยโบราณ รับกับมวยผมซึ่งถูกเกล้าต่ำบริเวณท้ายทอย ถัดมาคือกรองศอทองคำประดับอัญมณี แผ่นทองแผ่นใหญ่ขนาดเต็มอก แยกเป็นชิ้นๆ ซึ่งสามารถนำมาเรียงร้อยต่อเนื่องเป็นแผ่นเดียวกัยอัญมณีโบราณหลากสีสัน แหวน กำไล และชิ้นส่วนเครื่องประดับฉลุลายประดับอัญมณีหลายสิบชิ้นเรียงรายอย่างเป็นระเบียบและสวยงาม โดดเด่นด้วยพระปรางค์องค์จำลองประดับทองคำและอัญมีซึ่งค้นพบบริเวณชั้นล่างสุดของกรุฯ ไม่เพียงเท่านั้นหนึ่งในงานศิลป์อันล้ำค่าที่คนไทยควรหาโอกาสสักครั้งในการเข้าชมคือภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในกรุปรางค์ประธานวัดราชบูรณะซึ่งยังคงเก็บรักษาของจริงไว้ยังสถานที่จริง บันไดที่แคบและชันแสดงถึงภูมิปัญญางานช่างไทยที่ผสานความยิ่งใหญ่ ความสวยงาม และความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างแยบยล

MP28-3297-6 ล่าสุดกรมศิลปากรได้เริ่มก่อสร้างอาคารจัดแสดงเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตสู่ประชาคมอาเซียน ผ่านการนำเสนอด้วยโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทเครื่องทองในประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องทองอยุธยา เปิดให้ชมสมบูรณ์แบบในอีก 5 ปีข้างหน้า
กว่าจะมีประเทศไทยในปัจจุบัน เราทุกคนต่างมีรากที่ผ่านเส้นทางการต่อสู้ การสร้างสรรค์ การพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาแต่ละด้านมาอย่างยาวนาน และการได้เดินพินิจพิจารณาชิ้นส่วนจัดแสดงต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์คือการเติมเต็มองค์ความรู้และจิตวิญญาณที่ดีที่สุด วันหยุดนี้ลองปักหมุดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้นเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายการเดินทาง แล้วคุณจะรู้ว่าการนั่งม้วนสายไหมทอดเวลาชมความยิ่งใหญ่ของพระปรางค์วัดราชบูรณะในครั้งนี้จะทำให้คุณรู้สึกอุ่นในหัวใจมากกว่าเดิม MP28-3297-8 MP28-3297-7 MP28-3297-3 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,297 วันที่ 17 - 20 กันยายน พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1