เนรมิตเรื่องราวจากอดีต สู่แหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต Villa Musee Khao Yai

10 ก.ย. 2560 | 00:16 น.
สายลมอ่อนๆ นำพากลิ่นฝนและอากาศเย็นมาปะทะผิวกาย ต้นไม้น้อยใหญ่พากันเหยียดกิ่งก้านเกิดเป็นสีเขียวหลายๆ เฉดสี สะท้อนแสงแดดด้วยหยดนํ้าจากฟากฟ้า สายฝนที่โปรยปรายรับพระอาทิตย์ที่เคลื่อนพ้นขุนเขาตั้ง แต่รุ่งอรุณ เกิดเป็นไอหมอกจางๆ ปกคลุมโอบล้อมไปทั่วบริเวณงดงามราวกบั ภาพในฝัน สายตาทที่ อดยาว ทะลุประตูโครงเหล็กหล่อจากอินเดีย ผ่านแนวพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดปะทะกับเรือนไม้สักทอง 2 ชั้น ทรงปั้นหยาสีเขียวไข่กาโดดเด่นเป็นสง่าท่ามกลางไม้ไทยหายากนานาพรรณ โอบล้อมด้วยอาคารโบราณสะท้อนสถาปัตยกรรมแห่งยุควิกตอเรียนในสยาม (รัชกาลที่ 4-5)อย่างลงตัว

MP28-3295-1A จากบ้านเลขที่ 301 แยกนเรศ ย่านสี่พระยา แหล่งชุมชนสำคัญที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและเป็นถ่นิ ฐานบ้านเรือนของขุนนางสยามที่ผ่านการศึกษาและติดต่อกับชาวตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชการที่ 4 ผุกร่อนชำรุด ทรุดโทรมตามกาลเวลา ได้รับการชุบชีวิตให้งามสง่าดังเมื่อร้อยปีก่อนอีกครั้งตามความตั้งใจของ คุณโอ๊ค - อรรถดาคอมันตร์ นักธุรกิจและนักสะสมของโบราณที่ชื่นชอบและหลงใหลในมนต์เสน่ห์แห่งยุคโคโลเนียลเป็นพิเศษ ผนังไม้สักที่เรียงต่อกันแบบเข้าสลัก และลวดลายไม้ฉลุอย่างวิจิตรบรรจง ตัวแทนฐานานุศักด์ขิ องเจ้าของเรือนระดับพระยา ได้รับการทำรหัสไม้แบบแผ่นต่อแผ่น ไม้ที่ผุกร่อนตามกาลเวลาถูกแทนที่ด้วยไม้ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันแนวสลักไม้ได้รับการต่อเติมแบบจุดต่อจุด เก็บทุกรายละเอียดเพ่อื ให้การชะลอเรือนไม้หลังนี้สมบูรณ์ที่สุด และได้รับนามใหม่ว่า “เรือนประเสนชิต” ตามชื่อของ “พระยาประเสนชิตศรีพิไลย(ดัด บุนนาค)” บิดาของ ศาสตราจารย์ดร.เดือน บุนนาค ผู้มีศักดิ์เป็นคุณทวดของคุณโอ๊คนั่นเอง

MP28-3295-2A แนวคิดการเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของขุนนางในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 - ต้นรัชกาลที่ 6 ผู้สำเร็จการศึกษาจากตะวันตกและกลับมารับราชการรับใช้สยาม สะท้อนการจัดแสดงภายในตัวเรือนประเสนชิต ตั้งแต่ห้องรับประทานอาหารที่มีการจัดโต๊ะแบบตะวันตก โดดเด่นด้วยภาพแผนที่ “กรงเทพทวารด”แผนที่อยุธยาฉบับแรกหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจัดทำโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ต้งั แต่สมัยรัชกาลที่ 5 สื่อถึงเรื่องราวของกรุงสยามที่มีรากฐานความเจริญรุ่งเรืองติดต่อกันหลายร้อยปีพร้อมการต้อนรับผู้มาเยือนด้วยชุดรับแขกมะค่าปุ่มชุดใหญ่ ลายไม้ที่แสดงถึงอายุและความพิเศษของการแกะสลักตกแต่งรับกับการใช้งานได้อย่างลงตัวห้องสันทนาการ จัดแสดงเปียโนแป้น MP28-3295-5A คีย์บอร์ดงาช้างอายุกว่าร้อยปี เก้าอี้สไตล์ยุโรปที่ประดับในมุมต่างๆ พร้อมภาพพิมพ์หินสอดสีสะท้อนความทรงจำอันทรงคุณค่าของเจ้าของเรือน และจุดสำคัญคอบริเวณ ห้องทำงานที่ตกแต่งด้วยพิมพ์ดีดโบราณ แท่นหมึก ตำราและเอกสารเล่าเรื่องราวความสนใจในเหตุการณ์บ้านเมืองของยุคสมัย ฝาผนังเบื้องหน้าคือมุมมองต่อสยามประเทศที่ถูกเล่าผ่านสายตาชาวตะวันตก จากหนังสือพิมพ์หัวฝรั่งเศส “Le Petit Journal” ต้นฉบับจรงภาพวาดที่เกิดจากคำบอกเล่าเกิดเป็นเรื่องราวสู่สายตาชาวตะวันตก โถงเรือนประดับประดาด้วยภาพของพระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลสำคัญในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สยามยุคใหม่ โดดเด่นด้วยพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉลองพระองค์ด้วยเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขนาบข้างด้ายศาสตราวุธโบราณแสดงถึงพลังและอำนาจของผู้ครองเรือน แม้ห้องเครื่องเล่นบนชั้นสอง ก็สะท้อนความสนใจในการศึกษาศิลปวิทยาการของตะวันตก ของประดับชิ้นนอยใหญ่และกล้องสองทางไกลนำเข้าจากต่างประเทศ พรมหนังม้าลายเต็มตัวรับกับพื้นไม้สักทองเนื้อละเอียดได้เป็นอย่างดี เรื่องราวต่างๆ ที่พรั่งพรูจากผู้นำชมและการได้สัมผัสกับทุกองค์ประกอบในเรือนเสมือนกับการล่องผ่านไปในกาลเวลา ซึมซับความเจริญและรสนิยมของผู้คนในยุครัชกาลที่ 5 อย่างแท้จริง

MP28-3295-4A MP28-3295-3A นอกจากการจัดแสดงเฟอร์นิเจอร์ศาสตราวุธ ภาพถ่ายและเอกสารโบราณที่เรือนประเสนชิตแล้ว วิลล่า มูเซ่ ยังมีเรือนโบราณซึ่ง เปิดสำหรับการเข้าพักตั้งชื่ออย่างไพเราะตามราชทินนามของ สายตระกูลสืบเชื้อสายข้าราชบริพารที่เคยรับใช้สนองพระเดชพระคุณล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 อาทิ “เรือนสัตยาธิปตัย”เรือนไทยหมู่ภาคกลางสีแดงชาดจัดแบ่งเป็นห้องพักถึง 5 ห้องพร้อมห้องสมุดและห้องนั่งเล่นรวมตกแต่งด้วยเครื่อง เรือนโบราณที่งดงามประเมินมูลค่าไม่ได้ ตั้งชื่อตามราชทินนามพระยาพิพากษาสัตยาธิปตัย (โป๋ คอมันตร์) เลาะไปตามคลองขุดคือ “เรือนสิงหฬสาคร”เรือนไทยแฝดลายปะกนจากจังหวัดสุพรรณบุรี ผสมผสานการตกแต่งแบบไทยและจีน ตั้งชื่อเรือนตามราชทินนามพระยาสิงหฬสาคร (แฟรงค์คุณะดิลก) ถัดมาคือเรือนราชพงศาเรือนไม้ทรงปั้นหยาชั้นเดียวที่ชะลอมาจากชุมชนหลังวัดอนงคารามเคียงศาลาท่าน้ำซึ่งตั้งชื่อตามพระยาราชพงศานุรักษ์ (ชม บุนนาค) ซึมซับอดีตผ่านเรือนไทยโบราณท่ามกลางธรรมชาติของผืนป่ามรดกโลก พรรณไม้ไทยที่ส่งกลิ่นหอมอบอวลและบัวนานาชนิดที่บานสะพรั่ง เติมเต็มความรู้และเต็มอิ่มกับประสบการณ์ต่อที่ “เรือนอนุรักษ์โกษา” อาคารสไตล์ชิโนโปรตุกีสสีเหลืองอ่อนบันทึกหน้าสุดท้ายของวันกับนิทรรศการพิเศษที่หมุนเวียนตามแต่ละช่วงเวลา ผ่านการจัดแสดงภาพถ่ายโบราณซึ่งได้นำต้นฉบับจริงกลับมาจากต่างประเทศและผลงานศิลปะจากศิลปินแถวหน้าของเมืองไทย

MP28-3295-6A วิลล่า มูเซ่ ตั้งอยู่ในบริเวณกิโลเมตรที่ 14 ถนนธนะรัชต์ เปิดให้เข้าชมทุกวันศุกร์ - อาทิตย์ ถึง 4 รอบนำชม โดยติดต่อสำรองรอบเข้้าชมได้ที่ โทร. 063-225-1555 (รอบละไม่เกิน8 ท่าน) หากท่านใดอยากทราบว่าเรือนคุณเปรมที่แม่พลอยในวรรณกรรมอมตะเรื่องสี่แผ่นดินใช้ชีวิตอยู่มากกว่าครึ่งชีวิตเป็นเช่นไร วิลล่า มูเซ่ คือภาพสะท้อนเรื่องราวที่ หมดจดและลงตัวที่สุด ศึกษาข้อมูลก่อนเข้าชมได้ที่ http://www.villamusee.com

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,295 วันที่ 10 - 13 กันยายน พ.ศ. 2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว