สรท.ชี้คู่ค้าหันสั่งซื้อระยะสั้นมากขึ้น จี้รัฐให้ความสำคัญกับ WTO’s TFA

28 ก.พ. 2560 | 09:30 น.
สรท.สนับสนุนรัฐบาล เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าเชิงรุก และยกระดับการอำนวยความสะดวกทางการค้าทั้งระบบให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วน

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก แถลงข่าวร่วมกับ นายไพบูลย์ พล สุวรรณา ที่ปรึกษาคณะกรรมการและกรรมการ สภาผู้ส่งออก นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออก และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่งออก ถึงสถานการณ์ส่งออกในเดือนมกราคม 2560 ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศ ไทย อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ว่า

จากการส่งออกเดือนมกราคม 2560 มีมูลค่า 17,099 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 8.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 609.543.2 ล้าน บาท ขยายตัว 8.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ การปรับเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องของราคาทองคำ และการเร่งส่งสินค้าก่อนช่วงหยุดตรุษจีนซึ่งเริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคม ทำให้ผู้ซื้อสินค้าในหลายตลาดเร่งสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีแต่ต้องติดตามใกล้ชิด

ทั้งนี้สภาผู้ส่งออก เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลในการกำหนดตัวเลขการเติบโต 5% ไว้เป็นเป้าหมายการทำงาน แต่ควรเร่งรัด ดำเนินการยุทธศาสตร์เชิงรุกที่นำเสนอไว้โดยเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างพันธมิตรทางการค้ากับประเทศคู่ค้าหลัก ที่สามารถ ดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการเจรจาการค้าเสรีการตั้งผู้แทนการค้าในตลาดสำคัญ การยกระดับภาพลักษณ์ประเทศและตรายี่ห้อของสินค้าไทย การผลักดันช่องทางการจัดจ าหน่ายผ่าน e-Commerce และการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้นเพื่อสร้างโอกาสทางการค้าในประเทศเป้าหมายแทนการส่งออกโดยตรงเพียงทางเดียว เป็นต้น

นอกจากนี้ สภาผู้ส่งออก พบว่าคู่ค้าในตลาดสำคัญโดยเฉพาะร้านค้าปลีกขนาดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของคำสั่งซื้อจากการสั่งซื้อ ล่วงหน้าระยะยาว เป็นการสั่งซื้อระยะสั้นมากขึ้น ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ demand chain ในตลาด เป้าหมาย อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และตลาดสำคัญอื่นๆ เพื่อให้ทราบความต้องการของคู่ค้าผู้บริโภคและนำมาเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยใช้ประโยชน์ในการทำตลาดและพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความ ต้องการ ตลอดจนเลือกใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในแต่ละตลาด ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสของสินค้าไทยในตลาดโลกให้มากขึ้น

อีกประการหนึ่งสภาผู้ส่งออก เรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อบทในความตกลงการอำนวยความสะดวกทาง การค้าภายใต้องค์กรการค้าโลก (WTO’s Trade Facilitation Agreement: WTO’s TFA) ซึ่งขณะนี้มีชาติสมาชิกให้สัตยาบันครบ 2 ใน 3 หรือ 110 ประเทศ ทำให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา และประเทศไทยได้แจ้งว่าพร้อมปฏิบัติตามข้อบทต่างๆ ในทันที จำนวน 131 ข้อบท และขอเวลาในการปรับตัว 1 ปี จำนวน 12 ข้อบท อย่างไรก็ตาม เมื่อได้พิจารณารายละเอียดของความตกลงฯ และเอกสาร SMEs and the WTO Trade Facilitation Agreement: A Training Manual ซึ่งจัดทำโดย International Trade Center (ITC) พบว่าประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อเสนอแนะและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องอีกเป็นจำนวนมาก

อนึ่ง หากประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของ WTO’s TFA และยอมรับสถานะที่แท้จริงของประเทศไทย ก็จะส่งผลให้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทราบข้อบทภายใต้ความตกลงฯ ที่ประเทศไทยไม่สามารถปฏิบัติได้จริง 2) ส่งผลให้ประเทศไทยและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ทราบแนวทางในการแก้ไขและพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความตกลง 3) ทำให้กระบวนการและระบบที่เกี่ยวข้องทางการค้า การออกใบอนุญาตของหน่วยงานภาครัฐ และพิธีการศุลกากรของประเทศไทยไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะการเชื่อมต่อผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับประเทศคู่ค้า 4) นอกจากต้นทุนการค้าระหว่างประเทศของไทยจะสูงขึ้นโดย เปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง ยังอาจเป็นเหตุให้ประเทศคู่ค้าปฏิเสธการน าเข้าสินค้าไทยได้ และ 5) ประเทศไทยไม่สามารถ ค้าขายกับนานาประเทศ ส่งผลให้ไม่มีเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องสั่งการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดประเมินตนเองตามข้อเท็จจริงและเร่งดำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงฯ โดยเร็วที่สุด