โค้งท้ายสมรภูมิเลือกตั้งอุดรฯ พรรคใหญ่ส่อแววร่วง คู่แข่งจ่อแซงเข้าป้าย

09 พ.ค. 2566 | 06:53 น.

สนามเลือกตั้ง"อุดรธานี"โค้งสุดท้ายก่อนหย่อนบัตร 14 พ.ค.นี้ เดือดปรอทแตกแน่! เพราะเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างคนเสื้อแดงทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชี้ผู้สมัครบางคนมั่นใจกระแสจนทิ้งพื้นที่ ขณะที่พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ รอจังหวะเป็นตาอยู่จ้องหยิบชิ้นปลามัน

ความเคลื่อนไหวโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566  พบว่ามีการใช้ปัจจัยในการเลือกตั้งในครั้งนี้แบบไม่เป็นชิ้นเป็นอัน แต่ไม่มีใครกล้านำหลักฐานที่ชัดเจนมาแสดงต่อ กกต.  ส่วนการแข่งขันในพื้นที่อุดรธานีหลายเขตเป็นการแข่งขันกันเองระหว่างคนเสื้อแดงและตัดเสียงกันเอง 

 เริ่มที่เขต 1 นายศราวุธ  เพชรพนมพร  ลูกเขยบ้านใหญ่"พรหมนอก" ครองที่นั่งในนามพรรคเพื่อไทยมาหลายสมัย  แต่ในการเลือกตั้งในปี 2566 นี้ มีปัญหารอบตัวมารบกวนคือถูกกล่าวหาว่าเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องกับวงการดำเนินธุรกิจของ นายตู้ห้าวฯและครอบครัว ส่วนคู่แข่งคนสำคัญคือ นายณัฐพงษ์ พิพัฒน์ไชยศิริ ของพรรคก้าวไกล ซึ่งเมื่อคราวเลือกตั้งปี 2562 ก็เข้ามาที่ 2 คะแนนไม่ห่าง  และจากกระแสพรรคแม้ว่าเพื่อไทยจะมีกระแสพรรคดีกว่าทุกพรรค  แต่ปัญหาของ ส.ส.เขตของเพื่อไทยในพื้นที่หลายเขต ถูกกล่าวหาว่า เป็น ส.ส.แล้วทิ้งพื้นที่ ไม่ดูแลประชาชน
  นายศราวุธ  เพชรพนมพร
หากนายศราวุธฯ ต้องการชนะผู้สมัครโดยเฉพาะก้าวไกลอีกครั้ง ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ นายศราวุธฯต้องเหนื่อยมากๆ ต้องมีหมัดฮุกที่หนักหน่วง ทำให้คู่แข่งหลับกลางอากาศ นอกจากนี้แล้วก็ยังผู้สมัครของพรรคการเมืองอื่นๆอีก เช่นพรรคพลังประชารัฐ นายโกเมนทร์ ทีฆธนานนท์ จากบ้านใหญ่"เจริญศรี "พรรคไทยสร้างไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรครวมไทยสร้างชาติฯ ก็จะมาช่วยแบ่งคะแนนเสียง 

เขต 2   เพื่อไทยเลือก นางหทัยรัตน์ เพชนพนมพร พี่สาวของ นายศราวุธ มาลงสมัคร ถือว่าเป็นนักการเมืองหน้าใหม่ของวงการการเมืองอุดรธานี  ที่ผ่านมานางหทัยรัตน์ฯอยู่เบื้องหลัง และเพิ่งลาออกจากการเป็นรองนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี มาลงสนามเลือกตั้งใหญ่  คนในพื้นที่มีคำถามว่าไหวหรือ  เพราะกระแสพรรคเพื่อไทยในพื้นที่เริ่มแกว่ง ด้วยเหตุผลเดียวคือ ส.ส. ในพื้นที่หลายเขตไม่ลงพื้นที่ และในเขตนี้ยังมีผู้สมัครอีกหลายคน เช่นนายองอาจ วิเศษ  พรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตคนเสื้อแดงสมัยนายอานนท์ แสนน่าน ที่มีการเลือกตั้งครั้งใด ไม่พลาดพรรคลงสมัครได้  แต่ไม่เคยประสบผลสำเร็จ  

นางหทัยรัตน์  เพชนพนมพร

น.ส.กีรติกานต์  พิมานเมฆินทร์ พรรคเสรีรวมไทย   ลูกสาวของ พ.ต.ท.สุทิน พิมานเมฆินทร์ อดีต ส.ส.ของเพื่อไทยหลายสมัย ที่ขอยุติทางการเมืองแล้วมาส่งเสริมลูกๆแทน นายชัยฤทธิ เขาวงทอง อดีต  สจ. อบจ.อุดรธานี ที่ผิดหวังจากเป็นผู้สมัครของเพื่อไทย หันมาสวมเสื้อพรรคพลังประชารัฐ 

 และที่น่าจับตามมองคือ ว่าที่ ร.ต.ภูมิพันธ์ บุญมาตุ่น ของพรรคไทยสร้างไทย ของ"คุณหญิงหน่อย"  ที่จะเป็นคนตัดคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทย   เป็นการแข่งขันของคนเสื้อแดงแข่งกันเอง โดยมีพลังประชารัฐ ประชาธิปะตย์ คอยนั่งดูหากใครพลาดก็มีโอกาสหยิบชิ้นปลามัน  แต่น่าที่จะเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะทั้งเพื่อไทย และไทยสร้างไทย ก็หวังมาก   

  เขต 3 เป็นการแข่งกันระหว่าง นายอนันนต์ ศรีพันธ์  เจ้าของพื้นที่เดิม  และเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประชาชนกล่าวหาว่าเจ้าของพื้นที่ไม่เคยลงไปดูแลพื้นที่เลยหลังจากได้รับการเลือกตั้งแล้ว และนายหรั่ง  ธุรพล พรรคไทยสร้างไทย  อดีตนายกเทศมนตรี ตำบลเชียงหวาง อ.เพ็ญ   นายหรั่ง ธุรพล ของไทนสร้างชาติ มีภาษีเหนือกว่านายอนันต์  เพราะมีเสียงจากพื้นที่ที่เป็นเทศบาล และ อบต. อยู่เป็นจำนวนมากพอควร  ประกอบกับเสียงสนับสนุนในตัวของ นายอนันต์  ศรีพันธ์ เริ่มถอยออกหันมาสนับสนุน นายหรั่งฯ   
 

 เขต 4 เป็นเขตที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นเขตเลือกตั้งของการแข่งขันของคนเสื้อแดงอีกเขตหนึ่ง  ที่เรียกว่าแดงเดือด คือ นายโชคเสมอ  คำมงคุณ พรรคไทยสร้างไทย กับ น.พ.ภาณุ พรวัฒนา ของพรรคเพื่อไทย  ซึ่งมาเรื่อยๆแบบเงียบ  เพราะเคยมีประวัติว่า สมัยที่ น.พ.วิชัย  ชัยจิตรวนิชกุล ได้รับเลือกตั้งก็มีบรรยากาศแบบนี้ ซึ่ง นายภาณุฯ เป็นแพทย์ที่เปิดคลินิกรับรักษาผู้ป่วยมานานแบบเป็นช่วยเหลือมีก็เอา  มีมีก็ช่วยเหลือ 

นายกรวีร์ สาราคำ - นายศรษฐา ทวีสิน

เขต 5 เดิมเป็นพื้นที่ของ นางอาถรณ์ สาราคำ ภรรยาของนายขวัญชัย  สาราคำ แกนนำเสื้อแดงคนรักอุดร ที่ได้ชื่อว่ามีความใกล้ชิดกับคนแดนไกลมากพอสมควร แต่ขณะนี้ นางอาภรณ์ฯขอยุติเส้นทางการเป็น สส. เพื่อหันไปดูแลสุขภาพของ นายชวัญชัยฯ ที่ไม่ค่อยดี โดยการส่งลูกชายหัวแก้ว หัวแหวน นายกรวีร์ สาราคำ หรือ สจเบิร์ด ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทยแทน

โดยมีนายโอภาส พรหมโคตร ผู้ที่เคยอยู่เบื้องหลังของผู้สมัครมานาน ลงในนามพรรคไทยสร้างไทย  และมีนายมานิตย์ อินทร์อำคา อดีต สจ.อบจ.อุดรธานี จากพรรครวมไทวสร้างชาติ  หลายคนชี้ว่า นายกรวีร์ฯยังอ่อนหัดในสนามเลือกตั้งใหญ่ ไม่ชำนาญพื้นที่ อย่างไรก็ตามหากนายขวัญชัยฯ นางอาถรณ์ฯกล้าส่งลูกชายลงสมัครแทน ก็หมายความว่า จะต้องมีความพร้อมแล้วในทุกด้าน 

 นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น

  เขต 6 เจ้าของพื้นที่คือ นางจุฑาพัฒน์ เมนะสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย แข่งกับเสื้อแดงด้วยกันเองอีกเขตหนึ่ง คือ นายอดศักดิ์ แก้วมุงคุณทรัพย์ พรรคไทยสร้างไทย นักธุรกิจของอำเภอศรีธาตุ นอกจากนี้ก็มี นายวิฑูรย์  นามคุณ พรรคพลังประชานัฐ  ผู้คร่ำหวอดทางการเมืองท้องถิ่น  เคยเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระดับสนามใหญ่  

เขตนี้ก็เป็นอีกเขตหนึ่งผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย กล่าวหาว่า ส.ส.ของพื้นที่ไม่ลงพื้นที่ดูแลประชาชนในเขตของตน จึงอยากเปลี่ยนตัว และมีแววว่าจะเป็นไปตามที่ประชาชนในเขตกล่าว  คนที่จะชนะการเลือกตั้งจึงขึ้นอยู่ประชาชนเจ้าขอวพื้นที่ จะเลือกพรรคการเมืองใด  

 เขต 7 เป็นเขตที่น่าจะมีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแนง เพราะนอกจากที่จะเป็นการแข่งขันของคนเสื้อแดงกันเองแล้ว  นายธีระชัย  แสนแก้ว  อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงกระเศรษฐและ สส.พรรคเพื่อไทยหลายสมัย กลับมาลงสมัครอีกครั้งในนามพรรคเพื่อไทย  นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น อดีต ส.ส.เพื่อไทย ที่มาสวมเสื้อภูมิใจไทย ที่เป็นคู่แข่งทางการเมืองนะกะบสนามใหญ่

ส่วนน.ส.อรัญญา ใจมั่น คนเสื้อแดงลงในนามพรรครวมไทยสร้างชาติ ว่าที่ ร.ท.สมพรชัย(สมพร) วรรณสุทธิ์ อดีตประธานสภา  อบจ.อุดรธานี พรรคชาติพัฒนากล้า นายอัศวิน  พิมานเมฆินทร์ ลูกชายของ พ.ต.ท.สุรทิน  พิมานเมฆินทร์ ลงในนามพรรคไทยสร้างไทย    

นายมนตรี  พึ่มชัย  อดีต  สจ.อบจ.อุดรธานี สวมเสื้อพรรคพลังประชารัฐ ส่วนพรรคก้าวไกล ได้นายสุริยา  วงศ์อารีย์ นักกการเมืองหน้าใหม่นักธุรกิจของ อำเภอกุมภวาปี ก็ถือว่าเป็นการแข่งขันกันในระดับท่องถิ่น ที่จะต้องพิศูจน์ตัวเองว่า ยังมีประชาชนในเขตเลือกตั้งเอาด้วยหรือไม่  แม้ว่าจะปิดทางชนะนายธีระชัย  ก็ยังเป็นการแข่งขันเสื้อแดงกับเสื้อแดง โดยมีพรรคอื่นๆคอยนั่งดู  แต่นายธีระชัยฯ ต้องไม่อยู่ในความประมาท   สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 

นายวัชรพล  ขาวขำ

 เขต 8  นายเกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม เป็นเจ้าของพื้นที่ แบบสบายๆมานาน แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่น่าจะสบายเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา  เพราะจะต้องเผชิญกับคนเสื้อแดงด้วยกัน  นายธนวัฒน์  ธนาธัญญพิชญ์  อดีตข้าราชการเกษตรจังหวัดอุดรธานี พรรคไทยสร้างไทย

ส่วนคู่แข่งนอกเสื้อแดงกลายร่าง ก็มีทั้ง นายนิคม ระชินลา พรรคก้าวไกล  นายผดุงศักดิ์ หันจันทร์ พรรครวมไทยสร้างชาติ นายสุภีรภัทร  ภูมิศักดิ์ พลังประชารัฐ  นายปัญญส สมสมัย พรรคประชาธิปัตย์ นายนวคม  เสมา พรรคเสรีรวมไทย  นักเคลื่อนไหวในพื้นที่ ซึ่งทุกพรรคพร้อมที่จะแย่งคะแนนจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขต 

 เขต 9  นายวัชรพล  ขาวขำ  ลูกชายของนายวิเชียร  ขาวขำ  นายก  อบจ.อุดรธานี และนางเทียบจุฑา  ขาวขำ  ส.ส.พรรคเพื่อไทย ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย มีคู่แข่งคนเสื้อแดงด้วยกัน  นายสุจริต อาณารักษ์ ไทยสร้างไทย  นายชัชวาล  ลือคำหาญ ทนายความคนเสื้อแดงในอดีต แต่ลงในนามพรรคพลังประชารัฐ

ส่วนพรรคพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ลูกหลานของนักการเมืองท้องถิ่น นายนิธิศ  ประกอบใส  และที่ทำให้คนในพื้นที่งงเป็นไก่ตาแตก คือ นายโชคสมาน สีลาวงษ์  อดีตรัฐมนตรีที่ยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาระยะหนึ่งแล้ว  หวนกลับมาลงสมัครในนามพรรคก้าวไกล เป็นอีกเขตหนึ่งที่คะแนนเสียงของประชาชนน่าจะแตกออกไปให้หลายพรรค 

 เขต 10 เป็นพื้นที่ของ นางเทียบจุฑา  ขาวขำ สส.พรรคเพื่อไทย   ส่วนผู้สมัครจากพรรคต่างๆ  ทั้งรวมไทยสร้างชาติ ก้าวไกล พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ ไทยสร้างไทย ที่เป็นพรรคคนเสื้อแดง ไม่น่ากลังแม้ว่าจะมีกระแสอื่นๆ  ที่สำคัญอาจจะกล่าวได้ว่าว่ากระดูกทางการเมืองยังไม่ถึงกับนางเทียบจุฑาฯ  อำนาจทางปัจจัยก็เช่นกัน เจ้าของพื้นที่มีความได้เปรียบสูง  จึงชี้ชัดไปที่ นางเทียบจุฑา  ขาวขำ มีภาษีดีกว่าทุกพรรค ทุกคน 

  ยงยุทธ  ขาวโกมล   : รายงาน