ETDA ลุยปิดช่องโหว่ ความท้าทาย ดันคนไทยสู่ชีวิตดิจิทัล

25 พ.ย. 2565 | 11:05 น.

ETDA เปิดผลงานเด่นรอบปี 2565 ผ่าน 5 งานไฮไลท์ ประกาศปี 66 เดินหน้าก้าวผ่านทุกช่องโหว่ ความท้าทาย ตั้งเป้า “ประเทศ ผู้ประกอบการ หน่วยงานรัฐ ประชาชน ชีวิตต้องดีกว่าที่เคย…เมื่อมีดิจิทัล”

นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)กล่าวว่า การทำให้ชีวิตคนไทยทุกกลุ่มง่ายขึ้น สะดวกขึ้น มั่นใจขึ้น ปลอดภัยขึ้น มีชีวิตดิจิทัลดีขึ้นกว่าที่เคย…ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นับเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ ETDA เดินหน้าเร่งเครื่องให้ประเทศเกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในมิติต่างๆ อย่างมั่นคงปลอดภัยน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างสังคมดิจิทัล เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมนานาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

ETDA ลุยปิดช่องโหว่ ความท้าทาย ดันคนไทยสู่ชีวิตดิจิทัล

โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ETDA มุ่งยกระดับชีวิตดิจิทัลของคนไทยให้ดีขึ้น ผ่านการดำเนินงานหลักๆ 5 ส่วนด้วยกัน ส่วนที่ 1 การผลักดัน National Strategic plan เร่งเครื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ผ่าน ร่างแผนยุทธศาสตร์ธุรกรรมฯ ชาติปี 66-70, การคาดการณ์อนาคตระยะ 10 ปี โดยศูนย์ Foresight Center by ETDA เพื่อหาแนวทางหรือข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมสำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ส่วนที่ 2 การส่งเสริมให้เกิด Digital ID Ecosystem รองรับการใช้งาน Digital ID ในวงกว้าง ผ่านการเตรียมทั้งร่างกฎหมาย มาตรฐาน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ Digital ID และการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเห็นตัวอย่างการใช้งาน Digital ID ในปัจจุบัน ด้วยแคมเปญ MEiD บริการไทย…ไร้รอยต่อ ส่วนที่ 3 การกำกับ ดูแล Digital Platform ให้เกิดความเป็นธรรม โปร่งใสในการแข่งขัน ผ่านร่างกฎหมาย Digital Platform ส่วนที่ 4 Digital Adoption & Transformation ยกระดับความรู้ความสามารถ เพื่อให้คนไทยยกระดับการทำงานและธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ไปกับสถาบัน ADTE by ETDA แหล่งรวมความรู้เพื่อคนดิจิทัล และแคมเปญ ETDA Launchpad ที่สร้างพื้นที่ของการจับคู่ธุรกิจระหว่าง SMEs และผู้ให้บริการดิจิทัล และกิจกรรม AI Governance Webinar  ส่วนที่ 5 Human Development พัฒนาคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน ผ่านโปรเจกต์ ETDA Digital Citizen (EDC) โค้ชดิจิทัลชุมชนและได้รับการช่วยเหลือ...เมื่อตกเป็นเหยื่อ  ผ่านศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ (1212ETDA) เป็นต้น

จากการดำเนินงานต่างๆ ข้างต้น เป็นการคำนึงถึง Ecosystem หรือระบบนิเวศในการพัฒนาการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ซึ่งล้วนเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การทำธุรกรรมฯ ทั้งในมุมของประเทศ ผู้ประกอบการ Service Provider  หน่วยงานรัฐและประชาชน ดีขึ้นในหลากหลายมิติ ที่จะช่วยเติมเต็มสิ่งที่เรายังขาด  เช่น ในมุมของประเทศ วันนี้เรามีทิศทางที่ชัดขึ้นในการเร่งเครื่องการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในอีก 5 ปีข้างหน้า ที่สำคัญได้มีการพัฒนาให้เกิดระบบนิเวศที่พร้อมกับการใช้งาน Digital ID ในวงกว้าง ผ่านบริการที่ใช้ได้จริง และพร้อมสำหรับการพัฒนาในระดับต่อไปเพื่อให้สามารถขยายการใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น เช่น บริการ Mobile ID ของสำนักงาน กสทช. และ บริการ D.DOPA ของกรมการปกครอง การมีกลไกดูแล Digital Platform ของผู้ให้บริการทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างความเป็นธรรม โปร่งใสในการประกอบกิจกรรมธุรกิจบริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม มีข้อมูลที่สะท้อนภาพอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า ในรูปแบบ Strategic Foresight และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมฯ ในภาพรวมของประเทศที่สะท้อนทั้งในเชิงเศรษฐกิจและพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย เช่น การสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หรือ Internet User Behavior (IUB) และการสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย (e-Commerce Survey) ทำให้มีข้อมูลสำหรับประกอบการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ในการพัฒนาของประเทศสอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

 

ในมุมของผู้ประกอบการ SMEs ที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัล ภายใต้สถาบัน ADTE และแคมเปญ ETDA Launchpad ไปแล้วไม่น้อยกว่า 3,000 คน ภายใต้หลักสูตรดิจิทัล (ADTE Digital Courses) ที่ได้รับออกแบบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น e-Signature (ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์), Digital ID (การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล), Digital Transformation (กระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ), e-Document (เอกสารอิเล็กทรอนิกส์) ฯลฯ พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ (ADTE Consult Team) ที่คอยให้คำปรึกษาช่วยให้คำแนะนำเพื่อการก้าวผ่านข้อจำกัดโดยคำนึงถึงความสอดคล้องตามกฎหมายดิจิทัลที่เกี่ยวข้อง ทำให้การเปลี่ยนผ่านการทำงานไปสู่ดิจิทัลเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญ ETDA ยังได้รวบรวมรายชื่อเครื่องมือดิจิทัล (e-Tool) รวมกว่า 47 โซลูชันจาก 47 ผู้ให้บริการ ครอบคลุมการทำงานหลากหลายมิติ เช่น ด้านบัญชีการเงิน การขนส่ง การเก็บข้อมูล ฯลฯ มาอยู่ในรูปแบบ e-Catalog ที่ชื่อ “Service Provider Profile” ให้ผู้ประกอบการได้เลือกใช้บริการ เพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบ e-Office และวันนี้  หลายองค์กร หลายบริษัท สามารถทำงานในรูปแบบ Remote Working ที่การทำงานไม่จำกัดแค่ในสำนักงานเท่านั้น โดย ETDA ได้ยกระดับการทำงานแบบ Remote working ได้ 100% เพื่อเป็นต้นแบบกับหน่วยงานที่สนใจ พร้อมกันนี้ยังมีการสนับสนุนในมุมของการยื่นใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) ผ่านระบบและผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองระบบสารสนเทศ

 

ในมุมของผู้ให้บริการ Service Provider มีพื้นที่ในการร่วมสร้างและการันตีความน่าเชื่อถือของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมฯ ผ่าน Digital Service Sandbox สนามทดสอบความพร้อมของนวัตกรรมว่ามีความสอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ก่อนให้บริการจริงและกิจกรรม Hackathon ต่างๆ ที่ ETDA จัดขึ้น เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมด้าน Digital ID และ e-Office ทำให้มีเวที Showcase และประลองไอเดีย ร่วมพัฒนานวัตกรรม ช่วยสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น จนนำมาสู่การจับคู่ทางธุรกิจ ระหว่าง ผู้ให้บริการ และ SMEs แล้วไม่น้อยกว่า 200 คู่ พร้อมโอกาสในการเป็นพาร์ทเนอร์กับ ETDA ในการร่วมแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ต่อยอดให้เกิดการพัฒนาและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่เหมาะสม ไปกับ ETDA Live และกิจกรรม Workshop ต่างๆ ตลอดจนการผลักดันให้เกิดการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นธรรม เท่าเทียม โปร่งใส ภายใต้การเสนอร่างกฎหมาย Digital Platform และ Digital ID ที่รอการประกาศใช้ ทำให้ ETDA ได้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมทั้งผู้ประกอบการ และจัดเตรียมมาตรฐาน แนวทาง และมาตรการที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง

 

ในมุมของหน่วยงานรัฐ ทำงานสะดวก เร็วขึ้น ด้วย e-Saraban โมเดลต้นแบบพัฒนาโดย ETDA เพื่อยกระดับงานเอกสารภาครัฐ จากกระดาษสู่อิเล็กทรอนิกส์ สามารถลงนาม ส่งต่อได้ ทุกที่ทุกเวลา ปัจจุบันเกิดการนำร่องใช้งานแล้ว 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สำนักงาน ป.ย.ป. พร้อมร่วมผลักดันเอกสารสำคัญๆ ของรัฐ เช่น ใบอนุมัติอนุญาต, ใบเสร็จรับเงิน, ใบรับรองแพทย์ และ Digital Transcript ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลแล้ว ส่งเสริมการให้บริการ หรือ e-Government Service โดยการทำางานร่วมกับพาร์ทเนอร์ภาครัฐที่สำคัญ พร้อมกันนี้ ขณะนี้เนื่องจากอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านงานทางด้าน  Cybersecurity จึงยังมีการดำเนินงานในการเฝ้าระวังและจัดการภัยคุกคามไซเบอร์ ให้กับหน่วยงานรัฐซึ่งในปี 65 ได้ดำเนินการไปแล้ว 280 หน่วยงาน พร้อมเปิดพื้นให้หน่วยงานรัฐนำนวัตกรรมร่วมทดสอบใน Digital Service Sandbox การรันตีความพร้อมก่อนให้บริการจริง อย่าง ไปรษณีย์ไทย (บริการ e-Timestamp)  กสทช. (บริการ Mobile ID) และ NECTEC (บริการ e-Meeting ระบบเลือกตั้งออนไลน์) โดยไม่ลืมที่จะพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัล แก่บุคลากรภาครัฐ ที่ผ่านการอบรมโดยสถาบัน ADTE ไปแล้วไม่น้อยกว่า 1,500 คน

 

ในมุมของประชาชน ได้รับการพัฒนาทักษะสู่พลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันโลกออนไลน์ไปกับโครงการ EDC (ETDA Digital Citizen) แล้วไม่น้อยกว่า 5,700 คน ทั่วประเทศ ต่อยอดสู่เทรนเนอร์ดิจิทัล (EDC Trainer) ที่พร้อมส่งต่อความรู้สู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 250 คน ทั้งยังมีสื่อเรียนรู้วิดิทัศน์สร้างภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์ ที่คนไทยเข้าชมแล้วมากกว่า 26 ล้านการเข้าชม นอกจากนี้ คนในชุมชนกว่า 186 ชุมชน ยังสามารถโกออนไลน์ สร้างรายได้จากการขายสินค้าท้องถิ่นสู่แพลตฟอร์มดิจิทัลแล้วกว่า 70.65% ภายใต้โครงการโค้ชดิจิทัลชุมชน นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงเมื่อประชาชนพบกับปัญหา เมื่อเกิดปัญหาออนไลน์ยังสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้ง่ายมากขึ้น ผ่านศูนย์ 1212 ETDA ที่ให้บริการตลอด 24 ชม. ช่วยประสานส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องที่ครอบคลุมทั่วประเทศในระดับชุมชน ส่งผลให้ผู้บริโภคออนไลน์เข้าถึงการดูแลแล้วกว่า 95% จากจำนวนผู้ร้องเรียนทั้งหมด ที่สำคัญคนไทยยังมีความรู้ ความเข้าใจ  เกี่ยวกับ Digital ID รวมถึงได้รู้จัก Use Case ของบริการภาครัฐและเอกชนที่เชื่อมต่อกับบริการ Digital ID เพิ่มมากขึ้นและส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนได้มีรู้จัก มีความตระหนัก สำหรับการเข้าสู่การใช้บริการทั้งในภาคการเงิน หรือการให้บริการภาครัฐ ผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในแคมเปญ MEiD (มีไอดี…บริการไทย ไร้รอยต่อ)  เป็นต้น

 

ดร.ชัยชนะ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้คนไทยมีชีวิตดิจิทัล ที่ดียิ่งขึ้นกว่าที่เคย ในก้าวต่อไป ปี 2566 ETDA จึงมีเป้าหมายในการทำงานในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 66-70) ด้วยโจทย์ 30:30 คือ การเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP เป็น 30% และวางเป้าให้ไทยเป็น 30 อันดับแรกของโลกที่มีความสามารถการแข่งขันทางดิจิทัล โดยมียุทธศาสตร์ในการเติมเต็มอนาคตธุรกรรมฯ ของไทย  คือประเทศ ต้องเกิดการประยุกต์ใช้กลไกการกำกับดูแล Digital Platform ภายใต้มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ เกณฑ์การกำกับที่จำเป็น เกิดแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับผู้ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม รู้ว่าบริการไหนที่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับและที่ได้รับการยกเว้น และต้องมีข้อมูล Strategic Foresight ที่ช่วยให้การมองอนาคตดิจิทัลชัดขึ้นในรูปแบบงานวิจัยและข้อเสนอแนะ โดยเฉพาะในมิติ Well-being, Digital Tourism ภายใต้ Foresight Center ที่ ETDA ร่วมกับ Partner ไทยและต่างประเทศจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งข้อมูลการทำธุรกรรมฯ ของประเทศ ที่พร้อมกระจายความรู้สู่ทุกภาคส่วน ต้องมีกรอบธรรมาภิบาลสำหรับการประยุกต์ใช้ AI หรือ AI Governance Framework  โดยเริ่มในกลุ่ม Health Sector และมี AI Governance Course เพื่อเตรียมความพร้อมผู้บริการและบุคลากรในการประยุกต์ Framework และต้องมีดัชนีความพร้อมทางด้านดิจิทัล หรือ Digital Transformation Maturity Index เพื่อให้ทราบถึงสถานะของผู้ประกอบการ ปัญหา อุปสรรคและนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางเพื่อแก้ไข ส่งเสริมเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลที่ตรงความต้องการมากที่สุด เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP ของประเทศ และสุดท้าย คือ การมีแนวทางการบริหารเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain

 

เอกชน ผู้ประกอบการ SMEs และ Service Provider ต้องเร่งเครื่องการจับคู่ธุรกิจเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ ผ่านกิจกรรม Business matching ร่วมสร้างบริการและนวัตกรรมใหม่ๆ รองรับธุรกิจดิจิทัล ผ่านการจัดกิจกรรม Hackathon และการทดสอบนวัตกรรม ภายใต้ Innovation Sandbox by ETDA และ ETDA Testbed สำหรับ SMEs จะมีแหล่งให้คำปรึกษาและพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ผ่านศูนย์ ADTE by ETDA ที่ร่วมกับพาร์ทเนอร์พัฒนาหลักสูตร Mandatory course ที่จำเป็นสำหรับคนยุคดิจิทัล

 

หน่วยงานรัฐ เร่งเครื่องสนับสนุนกับหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบเร็วที่สุด ภายใต้กฎหมาย มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการให้คำปรึกษาแนวทางปฏิบัติจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ ETDA ทั้งยังต้องมีหลักสูตรความรู้ที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรภาครัฐ โดยสถาบัน ADTE เพื่อให้เกิดการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น รวมทั้งขยายผลให้เกิดการใช้งานระบบ e-Saraban ระบบ e-Timestamp ระบบ e-Signature กับหน่วยงานสำคัญๆ ของภาครัฐขยายวงกว้างยิ่งขึ้น

 

ประชาชน จะเดินหน้าพัฒนาคนไทยและกลุ่มที่เปราะบาง ตลอดจนกลุ่มผู้พิการ ให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ผ่านการต่อยอดโครงการ ETDA Digital Citizen (EDC) และ EDC Trainer ที่กระจายความรู้ไปทั่วประเทศมากขึ้น ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ทั้ง 76 จังหวัด ซึ่งมีการเข้าถึงทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมมุ่งยกระดับความรู้ของคนในชุมชน สู่การสร้างรายได้ ผ่านเครือข่ายในพื้นที่ อย่าง สถาบันการศึกษาและผู้นำชุมชน ไปกับโค้ชดิจิทัลชุมชน หรือ ETDA Local  Digital Coach (ELDC) ที่จะกระจายสู่ 4 ภูมิภาค พร้อมๆ กับส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้ ผ่านหลักสูตร  EASY e-Commerce ที่สามารถเข้าเรียนได้ผ่านออนไลน์ต่อยอดสู่กิจกรรม Pitching เพิ่มทักษะการคิดในเชิงธุรกิจมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพการช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ด้วยการเพิ่มเครือข่ายการทำงานของ ศูนย์ 1212 ETDA ที่ลงลึกระดับพื้นที่มากขึ้น

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพชีวิตดิจิทัลของคนไทยให้ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืน  ETDA จึงเดินหน้าจัดงานใหญ่ ครั้งแรกกับงาน Digital Governance Thailand หรือ DGT 2023 ภายใต้คอนเซปต์ Happiness Creation ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ สามย่านมิตรทาวน์ นับเป็นมหกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะรวมพลพาร์ทเนอร์ด้านดิจิทัลจากทั้งไทยและต่างประเทศมาไว้ที่งานนี้ที่เดียว เพื่อมาร่วมขับเคลื่อนและร่วมสร้างสรรค์ให้ชีวิตดิจิทัลของคนไทย….มีความสุข พร้อมก้าวสู่โลกอนาคตได้เร็วและสำเร็จยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ตัวเลข 30:30 ไปด้วยกัน

 

“การทำให้ชีวิตดิจิทัลของคนไทย ดีกว่าที่เคยเป็น ปิด GAP ที่คนไทยพบเจอ ถือเป็นโจทย์ท้าทายที่จะเกิดขึ้นโดยที่ ETDA เดินหน้าไปเพียงลำพังไม่ได้ เพราะการเดินทางครั้งนี้ไม่ง่าย เราจึงอยากชวนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชน คุณมาร่วมเป็น Partner เป็นส่วนหนึ่งที่ ร่วมสร้างชีวิตดี…เมื่อมีดิจิทัล อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน”