เอไอเอส ลงทุน 5G ต่อเนื่องสูงสุด 35,000 ล้านบาท ส่วน อีอีซี สัญญาณครอบคลุม 85%

29 พ.ย. 2565 | 08:19 น.

“เอไอเอส” เผยเทคโนโลยี 5G ส่งผลต่อ GDP ประเทศไทยในปี 2035 เติบโต 10.12% หรือ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 2.3 - 5 ล้านล้านบาท

วันนี้ 29 พฤศจิกายน 2565 นายธนพงษ์  อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร บริษัท แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS  เปิดเผยในเวทีสัมมนา “THE BIG iSSUE 2022 EECi พลิกโฉมประเทศไทย สู่ศูนย์กลางนวัตกรรมภูมิภาค” จัดโดยหนังสือพิมพ์ “ฐานเศรษฐกิจ”  ภายใต้หัวข้อสัมมนา EECi ศูนย์กลางสร้างนวตกรรมสู่เวทีโลก ว่า  สำหรับบทบาทของ เอไอเอส  ต่อการพัฒนาโครงข่าย 5G   ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสื่อสาร และ เทคโนโลยีดิจิทัล ที่สำคัญในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก  EEC  โดย เอไอเอส มุ่งมั่นพัฒนาเครือข่าย 5G สร้างแพลทฟอร์มรองรับการเจริญเติบโตร่วมมือกับองค์กรชั้นนำหลาย ๆ ด้าน เพราะ 5G ไม่ใช่ติดต่อสื่อสารเท่านั้น ความเร็วของ 5G มีประโยชน์มหาศาล เอไอเอส ได้ร่วมกับ บริษัท ปูนซิเมนต์ ไทย จำกัด ทดลองทดสอบ Solutions 5G remote controlled  forklift สามารถครอบคลุมผ่านระยะไล บนเครือข่าย 5G  โดยผู้ที่ควบคุมรถไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถ  แต่สามารถควบคุมรถให้เคลื่อนย้ายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่ต้องการได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ

 

5G ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจสร้าง GDP ให้ประเทศถึง  2.3 - 5 ล้านล้านบาท

นายธนพงษ์  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เอไอเอส ลงทุนต่อเนื่องปีละ 30,000 – 35,000 ล้านต่อปี เพื่อขยายเครือข่าย และ ความครอบคลุมของ network  โดยในพื้นที่ EEC เทคโนโลยี 5G ครอบคลุมพื้นที่กว่า 85% สำหรับผลกการนำเทคโนโลยีมาใช้ 5G ต่อเศรษฐกิจไทย คาดว่าเทคโนโลยี 5G จะมีผลต่อGDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross domestic product) ประเทศไทยในปี 2035 เติบโต 10.12% หรือ คิดเป็นมูลค่า 2.3 - 5 ล้านล้านบาท 

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G สร้างโอกาสดีภาคการผลิตหลายแขนงสร้างมูลค่าเพิ่ม 7 แสนล้านบาท -1.6 ล้านล้านบาทในปี 2035  สำหรับอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์มากที่สุด มีดังนี้

  • ภาคการผลิต คิดเป็นสัดส่วน 49% คิดเป็นมูลค่า 232  ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใช้กับเทคโนโลยีเซนเซอร์ หุ่นยนต์ และ เจอนอเรชั่นสมัยใหม่
  • ภาคค้าปลีก คิดเป็นสัดส่วน 20%  มูลค่า 97 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ด้วยการนำเทคโนโลยีด้าน AR มาดูแลลูกค้ามาเชื่อโยงบริการให้ดีที่สุด
  • ภาคขนส่งและโลจิสติกส์ สัดส่วน 10% คิดเป็นมูลค่า 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยการนำเทคโนโลยีที่นำมาใช้ใกนารติดต่อขนส่งสินค้าแบบคันต่อคันตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย
  • ภาคการเกษตร สัดส่วน 8% คิดเป็นมูลค่า 43 ล้านดอลล่าร์นำระบ AR  (Augmented reality  คือ การรวม สภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน) เข้ามาติดตั้งพื้นที่ภาคการเกษตรใช้ในควบคุมระบบฆ่าศัตรูพืชอย่างแม่ยำ

 

นายธนพงษ์  อิทธิสกุลชัย

 

นายธนพงษ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เอไอเอส มีคลื่นความถี่มากที่สุด จำนวน 1420 MHz แบ่งเป็น

  • คลื่นความถี่ 26 GHz จำนวน 1200 MHz
  • คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 40 MHz
  •  คลื่นความถี่  2100 MHz จำนวน 60 MHz
  • คลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 100 MHz
  • คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 30 MHz
  • และ คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz.