ใช้จ่ายไอทีทั่วโลกโตแตะ4.1ล้านล้านดอลลาร์

31 พ.ค. 2564 | 11:42 น.

การ์ทเนอร์เผยแนวโน้มการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2564 สูงแตะ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.4% จากปี 2563 โดยแหล่งที่มาของเงินทุนเพื่อเริ่มธุรกิจดิจิทัลใหม่ ๆ นั้นมาจากแผนกธุรกิจอื่นๆ นอกแผนกไอที และคิดเป็นต้นทุนการผลิตหรือต้นทุนการขาย (COGS)

นายจอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ อิงค์ กล่าวว่า “ไอทีไม่เพียงแต่ปรับโฉมรูปแบบการดำเนินงานขององค์กรไปสู่สิ่งใหม่ ๆ แต่ยังมีส่วนสำคัญในการส่งมอบและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ นอกเหนือจากการพลิกบทบาทจากการทำงานเบื้องหลังไปสู่ส่วนหน้าของธุรกิจแล้ว ไอทียังเปลี่ยนต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้กลายเป็นแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ อาทิ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ การติดตามตรวจสอบ และบางครั้งตัดต้นทุนบางอย่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อให้องค์กรมุ่งเน้นในสิ่งที่สร้างรายได้”

การ์ทเนอร์คาดว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทุกเซ็กเมนต์จะเติบโตต่อเนื่องไปถึงปี 2565 อุปกรณ์ดีไวซ์จะเติบโตสูงสุด (14%) ขณะที่ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรเติบโต (10.8%) เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ หันมาให้ความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานระยะไกลเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ทีมงาน

คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายไอทีทั่วโลก (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

 

มูลค่าการใช้จ่าย

 

ปี 2563 

มูลค่าการเติบโต

 

ปี 2563 (%)  

มูลค่าการใช้จ่าย

 

ปี 2564

มูลค่าการเติบโต

 

ปี  2564 %)  

มูลค่าการใช้จ่าย 

 

ปี  2565

มูลค่าการเติบโต

 

 ปี 2565 (%)

ดาต้าเซ็นเตอร์ 

219,940

2.3

236,806

7.7

247,513

4.5

ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร 

466,647

-2.1

516,872

10.8

571,725

10.6

อุปกรณ์ดีไวซ์

663,223

-6.9

755,798

14.0

778,949

3.1

บริการทางด้านไอที 

1,021,187

-1.8

1,112,626

9.0

1,193,461

7.3

บริการด้านการสื่อสาร 

1,386,471

-0.7

1,450,444

4.6

1,504,743

3.7

มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด 

3,757,468

-2.2

4,072,547

8.4

4,296,391

5.5

ที่มา: การ์ทเนอร์ (เมษายน 2564)

หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดเจน คือ องค์กรให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นกับทั้งประสบการณ์และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ซึ่งเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการลงทุนด้านเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ แห่งอนาคต อาทิ โซเชียลซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มทำงานร่วมกัน และซอฟต์แวร์การบริหารทุนมนุษย์ในองค์กร (HCM)

แม้ความพยายามในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการประหยัดต้นทุนจะยังคงมีอยู่ เนื่องจากความแน่นอนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในปี 2564 แต่สิ่งที่ซีไอโอให้ความสำคัญตลอดในช่วงเวลาที่เหลือของปี คือ การเร่งดำเนินการตามแผนธุรกิจดิจิทัลเพื่อยกระดับการดำเนินงาน ขยายและเปลี่ยนแปลงคุณค่าในการดำเนินงานของบริษัท

“ปีที่แล้ว การลงทุนด้านไอทีเป็นไปตามสภาวะการณ์ที่จำเป็น เพื่อเร่งเปิดใช้ระบบการทำงานจากระยะไกลให้พนักงานภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่รูปแบบการทำงานไฮบริดนั้นเกิดขึ้น ซีไอโอจะมุ่งให้ความสำคัญไปกับการใช้จ่ายไอทีที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมไม่ใช่เพียงทำงานให้สำเร็จลุล่วง” นายเลิฟล็อคกล่าวเพิ่มเติม

การใช้จ่ายไอทีกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดแต่มีความต่างออกไป การฟื้นตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ๆ และกลุ่มไอทีในประเทศต่าง ๆ ยังคงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในรูปแบบ K-Shape จากมุมมองในระดับอุตสาหกรรม ภาคการเงินการธนาคาร หลักทรัพย์และการประกันภัยจะฟื้นตัวกลับมาในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดเมื่อต้นปี 2564 ขณะที่กลุ่มค้าปลีกและภาคการขนส่งจะยังไม่ฟื้นตัวจนกว่าจะถึงปี 2566  การใช้จ่ายด้านไอทีในภูมิภาคละตินอเมริกาคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2567 ขณะที่ประเทศจีนกลับมาอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับปี 2562 ส่วนภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกคาดว่าจะฟื้นตัวได้ช่วงปลายปีนี้

ใช้จ่ายไอทีทั่วโลกโตแตะ4.1ล้านล้านดอลลาร์

 

สำหรับตัวเลขคาดการณ์เฉพาะของประเทศไทยนั้นการ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยปี 2564 มีมูลค่าประมาณ 680,339 ล้านบาท  เติบโต 4.9% และจะขยับขึ้นเป็น 718,980 ล้านบาท เติบโตขึ้น  5.7% ในปี 2565   โดยการใช้จ่ายในทุกเซกเมนต์จะกลับมาเติบโตทั้งหมด   โดยซอฟต์แวร์ระดับองค์กรจะเติบโตสูงสุดที่ 13.2% ตามด้วยอุปกรณ์ดีไวซ์11.3% จากการพัฒนาและการขยายตัวของรูปแบบการทำงานจากระยะไกล

คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายไอทีของประเทศไทย (หน่วย: ล้านบาท) 

 

มูลค่าการใช้จ่าย

 

ปี 2563 

มูลค่าการเติบโต

 

ปี 2563 (%)  

มูลค่าการใช้จ่าย

 

ปี 2564

มูลค่าการเติบโต

 

ปี  2564 (%)  

มูลค่าการใช้จ่าย 

 

ปี  2565

มูลค่าการเติบโต

 

 ปี 2565 (%)

ดาต้าเซ็นเตอร์ 

23,904

-3.8%

25,192

5.4%

26,281

4.3%

ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร 

40,653

0.8%

46,023

13.2%

50,000

8.6%

อุปกรณ์ดีไวซ์

162,963

-15.2%

181,386

11.3%

196,522

8.3%

บริการทางด้านไอที 

62,212

-0.1%

62,825

1.0%

66,573

6.0%

บริการด้านการสื่อสาร 

359,084

-0.8%

364,913

1.6%

379,603

4.0%

มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด 

648,816

-4.8%

680,339

4.9%

718,980

5.7%