ตลาดเกมมุ่งสู่ธุรกิจใหม่ ‘Game as a Service’ หวังดึงผู้เล่นติดตามตลอดเวลา

03 ส.ค. 2561 | 10:31 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

Far-Cry-Primal1 อุตสาหกรรมเกมปรับตัวรับเทรนด์ Game as a Service ยักษ์ใหญ่เอาจริงเร่งพัฒนาเกมแนวโลกอิสระ (Open World Game) หวังดึงลูกค้าใช้เวลากับเกมนานขึ้น นักออกแบบเกมระดับโลกแนะเคล็ดลับทำเกมให้โดนใจผู้เล่น

นางสาวศิรดา เจนเซ่น นักออกแบบอาวุโส (Senior Level Designer) บริษัท ยูบิซอฟท์ โตรอนโตฯ หนึ่งในสตูดิโอเกมชั้นนำระดับโลก และเป็นผู้ออกแบบฉากสำคัญของเกม Far Cry Primal เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมปรับเข้าสู่รูป แบบที่เรียกว่า Game as a Service (GaaS) จะเห็นการสร้างเกมออกมาในลักษณะออนไลน์ ที่คนเข้ามาเล่นได้ตลอดเวลา และสามารถร่วมเล่นกับคนอื่นได้มากขึ้น

นอกจากนี้จะมีกลยุทธ์การตลาดออกมา เพื่อให้ผู้เล่นติดตามตลอดเวลา เช่น บางเกมแทนที่จะออกแค่แคมเปญหลักของเกม ก็จะมีการจัดแข่งขัน (Tournament) เป็นระยะๆ เพื่อกระตุ้นให้คนกลับมาเล่น รูปแบบธุรกิจใหม่นี้ บริษัทเกมจะสร้างเกมขึ้นมาเพื่อให้บริการ โดยมีเป้าหมายหลักในการแย่งชิงลูกค้าหรือจำนวนผู้เล่น เพื่อแย่งชิงแอร์ไทม์ หรือการดึงดูดให้ผู้เล่นอยู่กับเกมนานๆ เพราะยิ่งอยู่นานเท่าไร ก็จะไม่สามารถมีเวลาไปเล่นเกมอื่นได้

[caption id="attachment_303255" align="aligncenter" width="503"] ศิรดา เจนเซ่น ศิรดา เจนเซ่น[/caption]
“บริษัทเกมเริ่มให้ความสำคัญกับ LESS IP หรือลดการมุ่งเน้นรายได้จากลิขสิทธิ์ในเกมใหม่ๆ (IP) แต่พยายามขยายระบบนิเวศ (ECOSYSTEM) ของแต่ละเกมให้นานขึ้น เพื่อเก็บผู้เล่นให้อยู่กับเกม นั้นๆ นานขึ้น ซึ่งสนับสนุนการต่อยอดสร้างรายได้ เช่นไอเทม และอื่นๆ ที่จะตามมา”

นอกจากนี้อีกแนวโน้มที่มาแรง ในอุตสาหกรรมเกมโดยเฉพาะเกมที่มีศักยภาพในการเล่นออนไลน์ คือ เกมแนวโลกอิสระ (OPEN WORLD) ซึ่งเป็นเกมที่มีความอิสระในการเล่น มีพื้นที่เกมอันกว้างใหญ่ และกิจกรรมหรือภารกิจย่อยๆ หลากหลายให้ผู้เล่นเลือกทำ เป็นภารกิจสั้นๆ 10-15 นาที เพื่อคนจะได้ไม่เบื่อ หรือเพิ่มอิสระในการเข้ามาเล่นเวลาว่าง และเมื่อทำภารกิจใดก็จะได้ไอเทมตอบแทน สำหรับเกมแนวโลกอิสระ จะตอบโจทย์ในเรื่องการดึงผู้เล่นให้อยู่ในเกม นานๆ และกลับมาเล่นซํ้าเรื่อยๆ โดยไม่เบื่อเพราะมีความหลากหลายของกิจกรรมและภารกิจในเกม ไม่ใช่เป็นการเล่นวนไปกับภารกิจซํ้าๆ ของเกมรูปแบบเดิม

ทั้งนี้มีรายงานจาก Newzoo บริษัทวิจัยตลาดเกมระดับโลก เปิดเผยแนวโน้มตลาดเกมปี 2018 ว่า จะเห็นขาขึ้นของเกมประเภท free-to-play บนเครื่องเล่นเกม ซึ่งเป็นการตามรอยความสำเร็จของตลาดเกมบนมือถือและพีซีหลายค่ายเกมจะมุ่งสู่ทิศทางนี้

TP7-3381-1 ด้าน นายจอห์น เฮอมาโนกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ บิ๊กบ็อกซ์ วีอาร์ และหนึ่งในทีมสร้างตัวละครในเกม Final Fantasy VII เวอร์ชันภาพยนตร์ กล่าวว่าผู้สนใจในสายงานศิลปะดิจิตอล สามารถเรียนรู้พื้นฐานงานศิลปะแบบดั้งเดิม เพื่อต่อยอดสู่จินตนาการและการสร้างสรรค์งานในสายดิจิตอล เช่น การออกแบบฉาก หรือตัวละครในเกม หรือนำสิ่งที่มีอยู่ในเกมขึ้นไปนำเสนอบนจอภาพยนตร์ เนื่องจากมีพื้นฐานศิลปะเดียวกัน เช่น การกำหนดสัดส่วน โครงภาพร่าง การลงแสงและเงาในภาพ ที่สำคัญต้องทำโดยใช้มุมมองของผู้ชมที่มองเข้ามา โดยเฉพาะใน 2 ข้อแรกต้องให้สมจริง เพื่อง่ายต่อการออกแบบหรือตกแต่งใหม่ โดยไม่ต้องมานั่งเสียเวลาแก้ไขงานทั้งชิ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาพต่างๆ ที่อยู่ในเกมขยับเร็วมาก ดังนั้นผู้ออกแบบต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสัดส่วนของตัวละครเป็นพิเศษ เพราะถ้าไม่ดี เมื่อมุมกล้องเปลี่ยน สัดส่วนจะเสียทันที

นอกจากนี้ยังได้เสนอเทคนิค 5 ข้อให้กับนักออกแบบเกมรุ่นใหม่ ได้แก่ 1.Reference Everything การใช้ต้นแบบจากศิลปินชั้นครู หรือใช้ภาพถ่ายมาช่วยให้การวางองค์ประกอบและอารมณ์ของภาพทำได้ง่ายและดีขึ้น 2. Paintover เพื่อช่วยให้ปรับแก้งานที่เสร็จแล้วได้ โดยไม่ต้องรื้อรายละเอียดของคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ 3. Scale การให้ความสำคัญกับการแบ่งสัดส่วน ช่วยสร้างสรรค์ให้เกิดงานศิลปะที่มีพลังเคลื่อนไหว และเป็นแนวคิดใหม่ๆ 4. Teamwork เกมเป็นอุตสาหกรรมสากล ต้องทำงานกับคนจากหลากหลายประเทศ การทำงานร่วมกัน สามารถเรียนรู้จากกันและกันได้ และ 5.The power of the sketch การวาดภาพร่างขึ้นมาก่อนตลอดทั้งกระบวนการสร้างงาน ช่วยให้ทำงานทั้งหมดได้เร็วขึ้น และความท้าทายก็คือ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยที่สามารถรักษาอิทธิพลของความคิดเริ่มแรกไว้ได้

e-book-1-503x62

..............................................................................................................

หน้า 7 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,381 ระหว่างวันที่ 8-11 กรกฎาคม 2561