ตั้งบริษัทบริหารบรอดแบนด์แห่งชาติ สะเทือน'ทีโอที-แคท'

02 มี.ค. 2560 | 04:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ในที่สุด นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เดินหน้าจัดตั้ง 2 บริษัทบริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติโดยเบื้องต้นรัฐเป็นผู้ลงทุนและเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวให้แล้วเสร็จกลางปี 2560 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคไทยแลนด์4.0

ย้อนรอย

เป็นเพราะในการประชุมคนร. (คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560 ได้มีมติปรับโครงสร้าง บริษัท ทีโอทีจำกัด (มหาชน) และบริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)หรือ แคท และนำโครงข่ายของทั้ง 2 หน่วยงานที่มีอยู่เดิมนำมาบูรณาการ พร้อมจัดตั้งบริษัทNBN Co. เพื่อดำเนินธุรกิจอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ และจัดตั้งบริษัท NGDC Co. เพื่อดำเนินธุรกิจเคเบิลใยแก้วใต้นํ้าและธุรกิจศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ตส่วนการเปลี่ยนผ่านสินทรัพย์และบุคลากร จะสามารถดำเนินการเสร็จอย่างสมบูรณ์คาดว่าใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี

 ยึดโมเดลประชารัฐ

สำหรับการลงทุนนั้นในเบื้องต้นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะมีภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนและเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเป็นจะต้องบริหารจัดการแบบภาคเอกชน จากนั้นระยะต่อไปจะดำเนินการรูปแบบประชารัฐ ซึ่งภาครัฐและเอกชนจะต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งด้านงานให้บริการและการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงสร้างการระดมทุนและการจัดการที่สามารถดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนและนักลงทุนต่างประเทศในทุกรูปแบบ

 ทีโอที-แคท รับนโยบาย

อย่างไรก็ตาม หลัง คนร.มีมติปรับโครงสร้างทั้ง 2 องค์กรในทางปฏิบัติผู้บริหารของทีโอทีและแคท ออกมายอมรับนโยบายซึ่งการปรับโครงสร้างองค์กรดำเนินการมาหลายครั้งไม่ประสบความสำเร็จ

“โครงสร้างครั้งนี้แยกตั้งบริษัทใหม่ คือการสร้างบ้านหลังใหม่ บ้านนี้อยู่มา 30 ปีบ้านถูกต่อเติมและทำไม่ได้สักที แต่เมื่อมีความฝันสร้างบ้านใหม่ มีรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีกว่าก็น่าจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น” นั้นคือคำให้สัมภาษณ์ของ มนต์ชัยหนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

 สหภาพฯตั้งประเด็น 8 ขŒ้อ

ขณะที่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทร-คมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือกสท โดยนายสังวร พุ่มเทียนประธานสหภาพแรงงานของกสท ได้ส่งหนังสือไปยัง พล.อ.ทวีปเนตรนิยม ประธานกรรมการของแคท เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อถามหาประเด็นข้อสงสัยในการปรับโครงสร้างตามมติ คนร. ด้วยกัน 8 ข้อ 1.บริษัท จัดตั้งใหม่ กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% หรือเป็นบริษัทลูกจากการร่วมทุนระหว่างแคท และทีโอที และจะมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือเป็นหน่วยงานในลักษณะใด, 2.การจัดตั้งบริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศและศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมายใด?, 3.บริษัทที่เกิดจากการร่วมทุน ใช้หลักเกณฑ์ใด ในการคำนวณสัดส่วนการร่วมทุนหรือการถือหุ้น?, 4.การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และ การคิดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ที่จะโอนไปให้บริษัทใหม่ มีการประเมินและตรวจสอบทรัพย์สินด้วยหลักเกณฑ์อย่างไร

ข้อที่ 5 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และสิทธิประโยชน์นั้น มีการคุ้มครองสิทธิประโยชน์พนักงานที่ต้องย้ายไปบริษัทใหม่ ด้วยหรือไม่? 6.หากบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ประสบปัญหาขาดทุน จะดำเนินการอย่างไร 7.การจัดตั้งบริษัทใหม่ และให้เอกชนเข้าร่วมทุน จะถือว่าเป็นการนำทรัพย์สินของรัฐ ไปเอื้อให้เอกชนเข้าข่ายแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และ บริษัท ทีโอทีจำกัด (มหาชน) ได้ประโยชน์อะไรจากบริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่

ประเด็นข้อสงสัยทั้ง 8ข้อนั้นเป็นคำถาม? ที่ สร.กสทต้องการคำตอบก่อนเปลี่ยนผ่านโครงสร้างธุรกิจไปสู่บริบทใหม่
ขณะที่ทางฝ่ายนโยบายเดินหน้าปรับโครงสร้างขับเคลื่อนองค์กรตามมติ คนร. แต่เชื่อว่าโรดแมป ของ “ทีโอที” และ แคทมาไกลถึงขนาดนี้ทุกอย่างน่าจะสรุปได้อย่างลงตัว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,240 วันที่ 2 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2560