กางแผนธุรกิจ “ไทยคม” หลังดาวเทียมสิ้นสุดสัมปทานบริการ 30 ปี ดีเดย์ 10 ก.ย.

28 ส.ค. 2564 | 20:07 น.

กางแผนธุรกิจ "ไทยคม" หลังดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 สิ้นสุดสัญญาสัมปทานให้บริการ 30 ปี วันที่ 10 กันยายน 2564

ธุรกิจดาวเทียม "ไทยคม"  ที่บริหารจัดการโดย บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) กำลังนับถอยหลังสิ้นสุดสัมปทานดาวเทียมที่ให้บริการมายาวนานกว่า  30 ปี โดยในวันที่ 10 ก.ย.64 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงรอยต่อที่ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีผู้ถือหุ้นรายใหม่ คือ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ของ เสี่ยกลาง (สารัชถ์ รัตนาวะดี) เจ้าของหุ้นโรงไฟฟ้าGULF ที่ประสบความสำเร็จทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์สมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนทำคำเสนอซื้อ (Conditional Voluntary Tender Offer ) เข้ามาซื้อกิจการในบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ  INTUCH สำเร็จในราคาหุ้น 65 บาท  คิดเป็นหุ้นทั้งสิ้น 1,354,752,952 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนหุ้นที่ถือทั้งหมด 42.25% ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของTHCOM

 

นับถอยหลังโอนทรัพย์สิน “ไทยคม”

 

เหลืออีกไม่กี่วันดาวเทียมไทยคม 4 และ ไทยคม 6 ถูกผ่องถ่ายไปยังบริษัท บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT หลังกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ลงนามในสัญญามอบสิทธิบริหารจัดการทรัพย์สินของโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศภายหลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ

 

ไม่หวั่นมีระบบใบอนุญาตต่อยอดไทยคม 7 และ8

 

เมื่อพลิกไปดูรายงานประจำปี 2563 ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)  ได้แจ้งถึงผู้ถือหุ้นว่า เนื่องจากปี 2564 จะเป็นปีที่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินกิจการมาครบ 30 ปี และ สัมปทานดาวเทียมจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2564 โดยการดำเนิน กิจการดาวเทียม ยังสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้ระบบใบอนุญาต ไทยคม 7 และ ไทยคม 8 ภายใต้กฎหมายโทรคม ซึ่งออกมารองรับการเปลี่ยนผ่าน ระบบสัมปทานไว้ล่วงหน้าแล้ว

 

กางแผนธุรกิจ

บริษัทเชื่อมั่นว่าโดยอาศัยประสบการณ์และศักยภาพของทีมงาน รวมถึง ชื่อเสียงของบริษัทที่สั่งสมมาตลอดระยะเวลา 30 ปี จนเป็นที่ยอมรับจาก นานาประเทศ จะสามารถพัฒนากิจการของบริษัทให้ยังยื่นต่อไปในอนาคตได้ ประกอบกับแนวโน้มทางเทคโนโลยีของโลกในปัจจุบันและใน อนาคต จะมีการหลอมรวมการใช้งานระบบดาวเทียมกับระบบ โทรคมนาคมภาคพื้นดินและอากาศยานไร้คนขับในหลากหลาย รูปแบบ เพื่อรองรับบริการใหม่ๆ ในอนาคตซึ่งสอดคล้องกับทิศทาง ที่บริษัทจะเปิดกว้างพัฒนาบริการให้ครอบคุลมทั้งระบบดาวเทียม อากาศยานไร้คนขับ ระบบ IoT ภาคพื้นดิน รวมถึงการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทั้งจากดาวเทียมและจากระบบอื่นๆ ที่เรียกว่า Big Data มาใช้ประโยขน์ในหลายรูปแบบผ่านเทคโนโลยี Machine Learning และ Data Analytic เพื่อสร้างประโยชน์และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการซึ่งตรงกับวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการนำเสนอ Space-Air-Ground-Maritime Smart Solutions ให้แก่ลูกค้าทั้ง ระดับประเทศและระดับภูมิภาค

ตั้งบริษัทร่วมทุนสองบริษัท

 

 โดยในปี 2563 บริษัทได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุน 2 บริษัท คือ บริษัท เนชั่น สเปซ แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด หรือ NSAT ในเดือนมิถุนายน 2563 โดย ร่วมทุนกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ด้วยทุนจดทะเบียนจำนวน 10,000,000 บาท และมีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่าง ไทยคม และ CAT 75:25 เพื่อร่วมกันให้บริการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม อาทิ ธุรกิจดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit Satellite) รองรับการ บริการดาวเทียมรูปแบบใหม่ในอนาคต

 

หลังจากนั้นในเดือนกรกฎาคม 2563 บริษัทได้จัดตตั้งบริษัท  เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด หรือ ATI ซึ่งงเป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัทในกลุ่ม บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันบริหารด้านโดรนเพื่อการเกษตร และ รวมถึงบริการๆ ทางด้านนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

 

กางแผนธุรกิจ “ไทยคม” หลังดาวเทียมสิ้นสุดสัมปทานบริการ 30 ปี ดีเดย์ 10 ก.ย.

 

 

กางแผนธุรกิจ “ไทยคม” หลังดาวเทียมสิ้นสุดสัมปทานบริการ 30 ปี ดีเดย์ 10 ก.ย.

 

 

 

กางแผนธุรกิจ “ไทยคม” หลังดาวเทียมสิ้นสุดสัมปทานบริการ 30 ปี ดีเดย์ 10 ก.ย.

ไตรมาส2/64 ขาดทุนลดลง

 

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งผลประกอบการประจำไตรมาส 2/64 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย.64 บริษัทฯ มีรายได้การขายและการให้บริการสำหรับไตรมาส 2/64 รวมทั้งสิ้น 796 ล้านบาท ลดลง 8.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/63 ที่ 873 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ที่ลดลงของการให้บริการดาวเทียม อันเนื่องมาจากลูกค้ามีการใช้งานลดลง ประกอบกับการแข่งขันด้านราคา แต่เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1/64 รายได้จากการขายและการให้บริการเพิ่มขึ้น 1.0% จาก 788 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้งานดาวเทียมทั่วไปของลูกค้าในต่างประเทศ

 

นอกจากนี้บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด รวมทั้งเงินลงทุนชั่วคราวหรือสินทรัพย์ทางการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 2/2564 ทั้งสิ้น 7,265 ล้านบาท

 

ลุ้นไตรมาสามผนึก NTต่อยอดธุรกิจ

 

แม้วันที่ 10 ก.ย. บมจ.ไทยคม จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ ดีอีเอส หาแต่ บมจ.ไทยคม ได้เจรจากับบ NT โดยก่อนหน้านี้ นายปฐมภพ สุวรรณศิริ รักษาการรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการค้า ของ ไทยคม เปิดเผยว่า บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจากับ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินดาวเทียมไทยคม 4 และดาวเทียมไทยคม 6 ที่ NT ได้รับสิทธิบริหารดาวเทียมหลังจาก THCOM สิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 10 ก.ย.64 โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในไตรมาส 3/64

 

“เราได้คุยกับทาง NT เพื่อบริหารจัดการทรัพย์สินเหล่านี้ เราอาจจะไปซื้อ Brandwidth ต่อจาก NT เพื่อให้บริการลูกค้าเราต่อ ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนพูดคุยกับ NT อยู่ เราคาดการณ์จะมีความชัดเจนในไตรมาสที่ 3 "นายปฐมภพ กล่าว.