"EA" ชี้ไทยเป็นพลังงานทดแทน 100% ยากต้องใช้ฟอสฟิลเพื่อให้มั่นคง

30 มี.ค. 2566 | 13:59 น.

"EA" ชี้ไทยเป็นพลังงานทดแทน 100% ยากต้องใช้ฟอสฟิลเพื่อให้มั่นคง เหตุยังใช้สายส่งร่วมกัน แนะแก้ด้วยวิธีอื่น ระบุองค์กรขนาดใหญ่มีโอกาสมากกว่าองค์กรขนาดเล็กเรื่องคาร์บอน

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยในการบรรยายในงานสัมมนา GO GREEN 2023 Business Goal to the Next Era หัวข้อ "Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว" ว่า การใช้พลังงานในประเทศไทยหากจะให้ดีกว่านี้ พลังงานที่นำกลับมาควรเป็นพลังงานทดแทน โดยจะทำอย่างไรให้เป็นพลังงานทดแทน 100% 

อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงแล้วคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากมีการใช้สายส่งร่วมกัน สุดท้ายก็ยังต้องมีฟอสซิลรวมอยู่ด้วยเพื่อความมั่นคง โดยต้องแก้ด้วยวิธีอื่น ซึ่งการจะเป็นพลังงานสะอาด หรือกรีนทำแล้วต้องยั่งยืน แต่หากทำแล้วเป็นเพียงแค่กลไกก็ต้องมาทำใหม่

ทั้งนี้ เรื่องของคาร์บอนถือเป็นกระแส บริษัทฯ ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่จึงต้องช่วยกันผลักดัน โดยการเริ่มต้นดำเนินการจะมีต้นทุน ดังนั้นการจะให้เอสเอ็มอีเริ่มคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งองค์กรที่มีขนาดใหญ่มีโอกาสมากกว่าองค์กรขนาดเล็ก 

"บริษัทฯ ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ จึงได้รู้ว่าการดำธุรกิจและแนวโน้มทั่วโลกเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นโอกาสของบริษัทฯด้วย"

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีทั้งกำลังด้านการเงินและบุคลากร โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจและมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด แต่ละชนิดใช้เวลานานระดับ 5-7 ปี จึงต้องใช้เงิน รวมถึงการศึกษาว่ากรีนโปรดักส์แบบใดจะมา 

EA ชี้ไทยเป็นพลังงานทดแทน 100% ยาก อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทฯ เป็นองค์กรใหญ่มีความน่าเชื่อถือ มีเครดิตจะมีโอกาสขยายธุรกิจ โดยเฉพาะในเรื่องของเทรนด์ธุรกิจอีวี โลจิสติกส์ ในฐานะบริษัทใหญ่ที่ตั้งในไทยช่วยดันซัพลลายเชนและสร้าางความเข้าใจว่าต้องเปลี่ยนเป็นอีวีภายในกี่ปี และกี่เปอร์เซ็น ซึ่งหากไม่เปลี่ยนลูกค้าจะโดนในเรื่องของคาร์บอนด้วย และทำอะไรได้บ้างเพื่อลดการปล่อนคาร์บอน ซึ่งกระบวนการสำคัญคือลดการใช้พลังงงาน และนำพลังงานสะอาดมาใช้

นายอมร กล่าวอีกว่า บริษัทฯ มีธุรกิจใหญ่ 3 ส่วน ประกอบด้วย ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คือ โซลาร์และลม ธุรกิจปาล์ม ซึ่งแต่ก่อนทำไบโอดีเซล มาขยายตลาดกรีนโปรดักส์มากขึ้น อาทิ วัสดุ PCM มาเป็นส่วนผสมของสร้างอาคารหรือเสื้อผ้าเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิ 

รวมถึงไบโอเจ็ตเพราะอุตสาหกรรมการบินปล่อยคาร์บอนเยอะ โดยปกติจะใช้น้ำมันประมาณ 300 ล้านตันต่อปี จึงเป็นตลาดใหญ่ 
 

และธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตั้งแต่แบตเตอรี่ สถานีชาร์จ และทุกอย่างที่เป็นหัวเครื่องจักรมาเป็นไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับการดำเนินธุรกิจในไทยนั้น ถือว่ายังเป็นโอกาสให้บริษัทเป็นศูนย์กลาง หรือฮับ (Hub) เพราะมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถช่วยทำให้เกิดการจ้างงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้ และขายเทคโนโลยีได้ โดยต้องหาทางให้เจอและเจาะเข้าไปให้ตรงจุด 

หากมองโอกาสในส่วนของสถานีชาร์จไฟฟ้า บริษัทฯ ได้เข้าไปติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาลรามา 578 จุด ยกระดับอุตสาหกรรมอีวี จากยอดจดทะเบียนรถอีวีช่วงที่ผ่านมามีการเติบโตหลายหมื่นคัน อนาคตจะเป็นแสนคัน จึงต้องดูว่าคอนโดฯ หรือโรงแรม ควรติดตั้งกี่จุด เช่น รถอีวี 600 คัน จะต้องติด 50 จุด ซึ่งวันนี้เพียงพอ แต่ในอนาคตอาจจะไม่พอ   

นอกจากนี้ ในส่วนของการรีไซเคิลแบตเตอรี่นั้น สามารถนำกลับมาใช้เก็บไฟได้เสมือนกับมือถือที่มีระยะเวลาใช้งาน แต่อาจจะมีการเสื่อมสภาพ เมื่อนำกลับมาดำเนินการใหม่จะใช้ได้อีก 70-80% ซึ่งต้องหาวิธีว่าจะทำวิธีไหน โดยวันนี้ยังมีเวลา

"จุดแข็งบริษัทฯ คือมีโรงงานแบตเตอรี่ จึงต้องบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เป็นภาระของสังคม พร้อมกับสร้างมูลค่าต่อได้จากการดึงกลับมาใช้ใหม่ได้"