ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม 2567 เว็บไราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารประเภท ง ตามข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และอาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดียว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หรือบ้านแฝด
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ เรื่อง ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารประเภทแห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๖ และอาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดียว ห้องแถว ตึกแถวบ้านแถว หรือบ้านแฝด ซึ่งเป็นรายละเอียดด้านเทคนิคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๖๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
"อาคารพักอาศัย" หมายความว่า อาคารซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อยู่อาศัยได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัยอย่างถาวร หรือชั่วคราว
"ปริมาตรใช้งาน" หมายความว่า ปริมาตรของส่วนเกรอะ หรือส่วนบำบัด หรือระบบบำบัดนำเสียที่คิดจากปริมาตรรวมของน้ำในส่วนเกรอะหรือส่วนบำบัดหรือระบบบำบัดน้ำเสีย ถึงระดับสูงสุดซึ่งเป็นระดับใช้งาน
"ระดับใช้งาน" หมายความว่า ระดับสูงสุดของน้ำในส่วนเกรอะ หรือส่วนบำบัดหรือระบบบำบัดน้ำเสีย จนถึงก้นท่อทางออกของส่วนเกรอะ หรือส่วนบำบัด หรือระบบบำบัดน้ำเสียนั้น
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๓ ประกาศนี้กำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคเกี่ยวกับการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย
(๑) รูปแบบของระบบบำบัดน้ำเสีย ดังต่อไปนี้
(๒) ปริมาตรใช้งานขั้นต่ำแต่ละส่วนของระบบบำบัดน้ำเสีย
(๓) คุณลักษณะด้านความมั่นคงแข็งแรงของระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้กับการออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียของอาคาร ดังต่อไปนี้
(๑) อาคารพักอาศัยประเภทบ้านเดียว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หรือบ้านแฝด
(๒) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพักที่มีจำนวนห้องนอนรวมกันทกชั้นในอาคารหลังเดียวกัน หรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ ๑๐ ห้อง แต่ไม่ถึง ๕๐ ห้อง
(๓) อาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกัน ไม่เกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร
(๔) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกัน หรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง ๑,๐๐๐๐ ตารางเมตร
สถานศึกษาที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง ๕,๐๐๐ ตารางเมตร
(๖) อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือเอกชนที่มีพื้นที่ รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง ๕,๐๐๐๐ ตารางเมตร
(๗) ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
(๘) ตลาดที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ ๕๐๐ ตารางเมตร แต่ไม่ถึง ๑,๐๐๐ ตารางเมตร
(๙) ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันตั้งแต่ ๑๐๐ ตารางเมตร แต่ไม่ถึง ๒๕๐ ตารางเมตร
(๑๐) โรงพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ที่มีจำนวนเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังรวมกันไม่ถึง ๑๐ เตียง
กรณีห้องแถวหรือตึกแถวไม่ได้ใช้เพื่อการพักอาศัยให้พิจารณาตาม (๒) ถึง (๑๐)
ข้อ ๕ อาคารตามข้อ ๔ ต้องจัดให้มีแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร แบบแปลนต้องมีมาตราส่วนเหมาะสมเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดที่จำเป็นได้ครบถ้วน โดยมีรายละเอียดที่ต้องแสดง ดังต่อไปนี้
(๑) แบบแปลนแสดงตำแหน่งระบบบำบัดน้ำเสีย แนวท่อน้ำเสียเข้า แนวท่อระบายน้ำทิ้งที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของที่ตั้งอาคารและขอบเขตพื้นที่โครงการ และตำแหน่งฝาของระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้เพื่อการดูแลและบำรุงรักษา
(๒) แบบแปลนต้องแสดงแบบแสดงระดับพื้นที่ตั้งสุขภัณฑ์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดนำเสียจากอาคารระดับกันท่อน้ำเสียเข้า ระดับที่ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย ระดับกันท่อน้ำทิ้งออก ระดับทางระบายน้ำ รองรับน้ำทิ้ง (ถ้ามี) และระดับพื้นผิวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งแสดงว่าน้ำเสียไหลจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียผ่านระบบบำบัดน้ำเสียเป็นน้ำทิ้งที่ระบายสู่แหสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้งได้
(๓) แบบแปลนแสดงรายละเอียดส่วนประกอบของระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบระบายนำทิ้ง พร้อมรูปตัดที่จำเป็น
หมวด ๒ รูปแบบของระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อ ๖ อาคารตามข้อ ๔ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ประกอบด้วยส่วนเกรอะ ส่วนบำบัด และส่วนระบายน้ำทิ้ง โดยต้องมีรูปแบบ ดังต่อไปนี้
(๑) มีขนาดของระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียที่เข้าสูงสุดในรอบวัน โดยต้องมีขนาดที่สามารถแยกและเก็บกากไขมันได้เพียงพอ โดยขนาดของระบบบำบัดนำเสียต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
(๒) กำหนดระดับพื้นห้องน้ำ ห้องส้วม และสุขภัณฑ์ที่สูงเพียงพอให้สามารถระบายน้ำเสียเข้าระบบบำบัดนำเสียและระบายออกไปทางท่อน้ำทิ้งได้โดยแรงโน้มถ่วง โดยมีระยะระหว่างกันท่อน้ำเสียเข้า และก้นท่อนำทิ้งออกจากถังบำบัดน้ำเสียไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และมีปริมาตรส่วนที่เป็นอากาศเหนือระดับก้นท่อออกไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของปริมาตรใช้งานของระบบในส่วนนั้น
กรณีที่ไม่สามารถระบายนำเสียเข้าระบบบำบัดนำเสียและระบายออกไปทางท่อน้ำทิ้งได้โดยแรงโน้มถ่วงของโลก ต้องจัดให้มีระบบที่สามารถทำให้ระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งได้ได้โดยสะดวก
(๓) ระบบบำบัดน้ำเสียอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ส่วนที่รับน้ำเสียจากห้องส้วม ต้องมีลักษณะมิดชิดมีช่องเปิดและฝาปิดมิดชิดป้องกันกลิ่น โดยมีขนาดช่องเปิดที่ใหญ่เพียงพอ และอยู่ในตำแหน่งที่ใช้ตรวจสอบ ดูแล และ บำรุงรักษาได้สะดวก ให้รถสูบสิ่งปฏิกูลที่มีใช้ในท้องถิ่นสามารถวางท่อดูดมาเก็บขนกากและไขมันได้ และให้มีช่องเปิด หรือ มีวิธีการทำความสะอาดตัวกลางเพื่อเลี้ยงฟิล์มชีวภาพที่เพียงพอ
(๔) ห้ามต่อท่อน้ำฝนกับท่อน้ำเสีย และมีการป้องกันไม่ให้น้ำไหลนองบนพื้นผิวไหลเข้าไปในระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕) ต้องมีบ่อเพื่อตรวจคุณภาพน้ำทิ้งหลังการบำบัดก่อนระบายน้ำทิ้ง
(๖) มีวิธีการป้องกันกลิ่นรบกวนจากน้ำเสียและสภาพการเกิดก๊าซจากการบำบัด โดยต้องมีท่อระบายอากาศภายในถังบำบัดน้ำเสีย และมีท่อระบายก๊าซออกจากถังบำบัดนำเสียขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร
ท่อระบายอากาศจากระบบบำบัดน้ำเสีย ให้ใช้เป็นท่อจากท่อระบายอากาศ ในระบบท่อระบายน้ำเสียและน้ำทิ้งของอาคาร ปลายท่ออยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ที่จะไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ
(๗) ฝาปิดของระบบำบัดน้ำเสียต้องมีความแข็งแรงทนทาน สามารถรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยตามการใช้สอยพื้นที่นั้น การติดตั้งฝาต้องป้องกันการเปิดโดยไม่ตั้งใจ