'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

06 มี.ค. 2565 | 09:21 น.

เปิดแบบจำลองสมบูรณ์ที่สุด 'สะพานเขียว' โฉมใหม่ กทม.รุกปรับปรุง ก่อนคาดแล้วเสร็จ และเปิดให้ใช้ ก.ย.2565 บูมแลนด์มาร์กใหญ่กลางกรุง ลานกิจกรรมลอยฟ้า - ทางปั่นจักรยาน เชื่อม ถนนรัชดาภิเษก และถนนวิทยุ สวนสาธารณะขนาดใหญ่เทียบ Central Park

6 มีนาคม 2565 - หลายคนคุ้นกับชื่อ “สะพานเขียว” โดยเฉพาะผู้ที่หลงใหลการปั่น หรือผู้ที่ชื่นชอบการเดินถ่ายรูปเก๋ ๆ  คงได้เคยแวะไปเยือนกันมาแล้ว สำหรับทางจักรยานลอยฟ้าแห่งแรกในกรุงเทพฯ ที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสวนลุมพินีและสวนเบญจกิติที่มีมากว่า 20 ปี ซึ่งทรุดโทรมไปตามกาลเวลาและสภาพการใช้งานมายาวนาน 
 

ล่าสุด ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า นโยบายของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิด “ฟื้นเมือง เชื่อมย่าน สานอนาคต” ได้ปักหมุดพื้นที่บริเวณนี้เพื่อพัฒนาเมืองในมิติใหม่ทั้งระบบ ซึ่งสะพานเขียวจะเป็นหนึ่งในหลายๆ แห่งที่จะถูกเปลี่ยนโฉมใหม่  และกำลังเริ่มปรับตั้งแต่เดือนมีนาคมและคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดใช้งานในเดือนกันยายน 2565 นี้ 

  • โครงการสะพานเขียว 

คือ โครงการปรับปรุงฟื้นฟูสะพานคอนกรีตเก่าสร้างในปี พ.ศ. 2542 และพื้นที่เกี่ยวเนื่องริมคลองไผ่สิงโต มีจุดเริ่มต้นจากถนนรัชดาภิเษก ลัดเลาะตามแนวรอยต่อระหว่างสวนเบญจกิติกับคลองไผ่สิงโต ลอยข้ามผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานครและชุมชนโปโล-ชุมชนร่วมฤดี มาบรรจบกับสวนลุมพินีบริเวณแยกสารสินของถนนวิทยุ ความยาวรวมประมาณ 1.6 กิโลเมตร

 

โดยได้รับความร่วมมือจาก UddC-CEUS ร่วมกับ LRIC สตูดิโอใต้หล้า ATOM DESIGN, LANDSCAPE COLLABORATION, QBIC และ THAITHARM  ที่อาสาช่วย กทม.ออกแบบปรับปรุง โดยเป้าหมายเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้น่าใช้งานและเชื่อมโยงกับชุมชนโดยรอบมากขึ้น ด้วยภูมิสถาปัตยกรรมและแสงสว่าง ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

  • เป้าหมายของปรับปรุงสะพานเขียว 

Green Bridge เป็นการสร้าง “สถานที่แห่งใหม่ของเมือง” หรือแลนด์มาร์กที่จะเชื่อมเมืองและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน นั่นคือ  การเชื่อมโยงของถนนสายธุรกิจหลักของเมือง ได้แก่ ถนนรัชดาภิเษก และถนนวิทยุ ให้ผู้คนสามารถสัญจรติดต่ออย่างมีพลวัติ  เชื่อมโยงเชิงนิเวศ

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

โดยเชื่อมระหว่างสวนสาธารณะขนาดใหญ่ระดับเมืองสวนสาธารณะทั้งสองแห่งให้เป็น Central  Park เชื่อมโยงการสัญจรแบบเท่าเทียมด้วยการเดินเท้าและจักรยาน  ให้ผู้คนทุกกลุ่มเข้าถึงได้แบบไร้รอยต่อจากโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและโครงการที่มีอยู่โดยรอบโดยการออกแบบอารยสถาปัตย์ และสุดท้ายคือการเชื่อมโยงกับชุมชนพหุวัฒนธรรม ที่มีศูนย์กลางเป็นศาสนสถานและโรงเรียน ให้เกิดยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม 

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

  • สะพานเขียวโฉมใหม่กับสวนลอยน้ำ

สะพานเขียวโฉมใหม่จึงไม่ได้เป็นแค่สะพานที่มีสีเขียว แต่จะมีสวนลอยน้ำที่ใช้พืชที่มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย พร้อมจัดวางทางจักรยานและลานกิจกรรมเหนือน้ำ ตลอดจนทางเดินลอยน้ำที่ยืดหยุ่นไปตามระดับน้ำขึ้นลง เป็นแหล่งเรียนรู้ใหม่ของเมือง มีสวนสะพานหรือสวนลอยฟ้าที่ผู้คนสามารถเดินเล่น พักผ่อน วิ่งออกกำลังกาย ขี่จักรยานจากสวนเบญจกิติไปยังสวนลุมพินีได้โดยยังรู้สึกเหมือนยังอยู่ในสวน 

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

นอกจากนี้ ได้มีการออกแบบให้รองรับกิจกรรมอื่นๆ ไม่ว่าการนั่งเล่นชมทัศนียภาพเมือง การเรียนรู้ และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ   รวมทั้งปรับพื้นที่จุดอับและเสื่อมโทรมใต้สะพาน-เหนือคลองไผ่สิงโต สู่พื้นที่อเนกประโยชน์ของชุมชนที่สะอาด โปร่งโล่ง มีสุขภาวะ เป็นพื้นที่ที่ชาวชุมชนสามารถใช้นั่งพักผ่อนและค้าขายได้ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมของชุมชน 

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

  • ไฮไลท์เชื่อมถนนรัชดากับถนนวิทยุ

ที่สำคัญการปรับปรุงพื้นที่สะพานลอยข้ามถนนรัชดา ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และวิทยุ สู่ทางเข้าโครงการที่เป็นจุดหมายตาให้ผู้คนจดจำ และ “ลานคนเมืองลอยฟ้า”ขนาดย่อม ในการจัดกิจกรรมเทศกาลต่างๆ คลุมด้วยโครงสร้างกันแดดกันฝนที่โปร่งเบา มีรูปทรงเป็นที่จดจำของเมือง

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

'สะพานเขียว' โฉมใหม่ แลนด์มาร์กกลางเมือง คาดแล้วเสร็จ ก.ย. 2565

 

ที่มา : เพจประชาสัมพันธ์ กทม.