ภารกิจ 49 วัน “AIS” ผสานเครือข่าย-นวัตกรรม หนุนกู้ภัยอาคารถล่ม

09 มิ.ย. 2568 | 05:53 น.
อัปเดตล่าสุด :09 มิ.ย. 2568 | 06:06 น.

28 มีนาคม 2568 เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงได้สร้างความเสียหายต่อหลายพื้นที่ในประเทศไทย ตามมาด้วยเหตุอาคารถล่มที่สร้างความสูญเสียและความกังวลให้กับประชาชนทั่วประเทศ ในช่วงเวลานั้น AIS ในฐานะผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตชั้นนำของประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างเต็มที่ในการสนับสนุนหน่วยกู้ภัยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

หลังเหตุการณ์ AIS ดำเนินการตามแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) โดยเร่งตรวจสอบความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมส่งทีมวิศวกรและอุปกรณ์สถานีฐานเคลื่อนที่พิเศษ (Mobile BTS) ลงพื้นที่ทันที เพื่อเสริมความแรงของสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ภัย

ภารกิจ 49 วัน “AIS” ผสานเครือข่าย-นวัตกรรม หนุนกู้ภัยอาคารถล่ม นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS เปิดเผยว่า ในช่วงวิกฤต การสื่อสารคือหัวใจสำคัญของการช่วยเหลือ โดย AIS ได้นำเทคโนโลยีเครือข่ายขั้นสูง เริ่มต้นจากการนำรถโมบายและอุปกรณ์สถานีฐานเคลื่อนที่พิเศษ (Base Station) เข้าไปในพื้นที่ให้เร็วที่สุด เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานช่วยเหลือฉุกเฉิน โดยใช้ Network Data Analytics และเทคนิค Small Cellular Pinpointing ในการกำหนดพื้นที่อย่างเจาะจง เพื่อช่วยจับสัญญาณมือถือและระบุตำแหน่งผู้ติดค้างภายในอาคารอย่างแม่นยำ โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมการยิงสัญญาณในช่วง 3 วันแรก เพื่อประหยัดพลังงานแบตเตอรี่ของผู้ประสบภัยให้มากที่สุด

นอกจากนี้ AIS  ยังได้ใช้เครือข่ายสนับสนุนการทำงานของเทคโนโลยีโดรน และหุ่นยนต์ติดกล้องในการสำรวจพื้นที่อันตราย เพื่อประเมินสภาพอาคารและค้นหาผู้รอดชีวิตโดยไม่เสี่ยงต่อทีมปฏิบัติงาน พร้อมเดินหน้าเสริมความแรงของสัญญาณ High-Speed Fiber และเทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาปฏิบัติการ เพื่อให้การทำงานของหน่วยกู้ภัยและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ราบรื่น และปลอดภัยสูงสุด

ภารกิจ 49 วัน “AIS” ผสานเครือข่าย-นวัตกรรม หนุนกู้ภัยอาคารถล่ม

 “เครือข่ายดิจิทัลของเราไม่ได้เป็นเพียงแค่เทคโนโลยี แต่เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมโยงชีวิต ธุรกิจ และสังคม โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตที่การสื่อสารคือหัวใจของการช่วยเหลือ AIS พร้อมนำโครงข่ายดิจิทัลเข้าช่วยเหลือทุกภาคส่วนทันทีที่เกิดเหตุการณ์

โดรนและหุ่นยนต์ ช่วยสำรวจพื้นที่เสี่ยง

ในขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายอย่างมาก AIS ยังนำเทคโนโลยีโดรนติดกล้องและหุ่นยนต์สำรวจเข้ามาช่วย โดยใช้เครือข่าย 5G และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสนับสนุนการส่งภาพเรียลไทม์ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินสภาพอาคารและสถานการณ์ความปลอดภัยได้

ภารกิจ 49 วัน “AIS” ผสานเครือข่าย-นวัตกรรม หนุนกู้ภัยอาคารถล่ม

จากระยะไกล ลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานลงได้มาก

นายสิทธิพล คงยิ่งหาร หัวหน้าทีมปฏิบัติการสมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ (ประเทศไทย) อธิบายว่า “เราใช้โดรนในการสำรวจพื้นที่ที่เข้าถึงยากหรือต้องระวังความปลอดภัย การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ AIS สนับสนุน ทำให้เราสามารถควบคุมโดรนและถ่ายทอดภาพได้อย่างรวดเร็วและคมชัด ข้อมูลภาพที่ได้รับนำมาสร้างแผนที่ 3 มิติ เพื่อประเมินโครงสร้างและวางแผนช่วยเหลือได้อย่างแม่นยำ”

ภารกิจ 49 วัน “AIS” ผสานเครือข่าย-นวัตกรรม หนุนกู้ภัยอาคารถล่ม

การประสานงานที่เข้มแข็ง รัฐ-เอกชน

การทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย พล.ต.ต.โชติวัฒน์ เหลืองวิลัย ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เล่าถึงบทบาทของ AIS ว่า หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้ประสานงานกับ AIS เพื่อช่วยสแกนและคัดกรองสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ สามารถระบุหมายเลขโทรศัพท์ที่เกี่ยวข้องถึง 249 หมายเลข และคัดกรองผู้ที่ยังมีสัญญาณโทรเข้าได้แต่ไม่มีผู้รับสาย 46 หมายเลข ข้อมูลนี้ทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัยได้จริง

ระบบสื่อสารกุญแจสำคัญกู้ภัย 72 ชั่วโมงแรก

 นายวัชระ อมศิริ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้วางแผนรับมือภัยพิบัติของประเทศ ให้ความเห็นว่า ช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังเหตุการณ์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการช่วยชีวิต การมีระบบสื่อสารที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ คือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ทีมกู้ภัยสามารถประสานงานและลงพื้นที่ช่วยเหลือได้ทันท่วงที AIS จึงได้ทุ่มเทกำลังเสริมสัญญาณทั้งในส่วนของโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนการทำงานในช่วงเวลานี้

อินเตอร์เน็ตหัวใจสำคัญบินโดรน

นายสิทธิพล คงยิ่งหาร หัวหน้าทีมปฏิบัติการสมาคม ตอบโต้ภัยพิบัติ (ประเทศไทย) กล่าวเสริมว่า “เราใช้โดรนเพื่อมอนิเตอร์และประเมินสถานการณ์จากการสำรวจพื้นที่อันตรายหรือเข้าถึงยาก จึงจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้การถ่ายทอดภาพเป็นไปอย่างรวดเร็วและคมชัด ในช่วงที่อินเทอร์เน็ตมีปัญหา โชคดีที่ AIS เข้ามาช่วยกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้การควบคุมโดรนมีความแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำข้อมูลต่างๆ มาผสานเทคโนโลยีการสร้างแผนที่ภาพ 3 มิติ เพื่อสแกนโครงสร้างตึกได้อย่างละเอียด รวมเร็ว เพื่อประเมินความปลอดภัยของการปฏิบัติภารกิจและความแม่นยำในการค้นหาผู้รอดชีวิต”

 ตลอดระยะเวลา 49 วันของภารกิจ AIS ไม่ได้หยุดยั้งแค่การลงพื้นที่ครั้งแรกเท่านั้น แต่ยังส่งทีมวิศวกรหมุนเวียนเข้าไปติดตั้งและดูแลอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟเบอร์ออปติกและเครือข่าย 5G เพื่อให้การสื่อสารของหน่วยกู้ภัยและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายเป็นไปอย่างราบรื่น แม้ในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง

AIS สร้างเครือข่ายเพื่อสังคมที่ยั่งยืน

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ ยังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของ AIS ว่า “ภารกิจครั้งนี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีควรจะช่วยสร้างความยั่งยืนให้สังคมและประเทศ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาปกติหรือวิกฤต เราพร้อมยืนเคียงข้างคนไทยด้วยเครือข่ายและนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของทุกคน”

ภารกิจ 49 วันของ AIS ในครั้งนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นความทุ่มเท ความร่วมมือ และความตั้งใจจริงที่จะช่วยให้ทุกชีวิตที่ได้รับผลกระทบได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและปลอดภัยที่สุด