เปิดวอร์รูมรัฐบาล ศึกอภิปรายทั่วไป จัด 32 ขุนพล แจงฝ่ายค้าน

03 เม.ย. 2567 | 00:20 น.
อัปเดตล่าสุด :03 เม.ย. 2567 | 00:36 น.

เปิดวอร์รูมรัฐบาล รับมือศึกอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ จัด 32 ขุนพล ครม.เต็มคณะ ลุกชี้แจงฝ่ายค้าน

วันนี้ (3 เมษายน 2567) รายงานข่าวจากรัฐสภา ระบุว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดพิเศษ ระหว่างวันที่ 3 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2567 จะมีการเพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 โดยฝั่งรัฐบาลเตรียมจัดขุนพลไว้สำหรับอภิปราย 
 

แบ่งเวลายังไม่สะเด็ดน้ำ  

สำหรับการแบ่งเวลา ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยจะมีการประชุมเพื่อให้ข้อสรุปอีกครั้งในวันนี้เวลา 08.00 น. เนื่องจากการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา วิปรัฐบาลขอทบทวนกรอบเวลาใหม่ วันที่ 3 เมษายน 2567 เริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 09.00 - 01.00 น. และวันที่ 4 เมษายน 2567 เริ่มประชุมเวลา 09.00 - 23.00 น. 

โดยการจัดสรรเวลา 30 ชั่วโมง ประธานที่ประชุม 2 ชั่วโมง ครม.และพรรคร่วมรัฐบาล 10 ชั่วโมง จากเดิม 6 ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 4 ชั่วโมง และพรรคร่วมฝ่ายค้าน 18 ชั่วโมง จากเดิม 22 ชั่วโมง ลดลง 4 ชั่วโมง กรณีผู้ประท้วงให้หักเวลาจากฝ่ายของผู้ประท้วง

 

 

ฟอร์มทีมรัฐมนตรีชี้แจง

แม้วัน ว.เวลา น.ขณะนี้ ฝ่ายค้านยังอุบไต๋ว่าจะจองกฐินซักฟอกใครในครม. แต่ฝั่งรัฐบาลก็เตรียมความพร้อมแบ่งกลุ่ม-แจกประเด็นที่จะรับมือการอภิปรายไว้เป็นอย่างดี โดยกำหนดเป็นแนวทางการไว้ดังนี้  

สำหรับรายชื่อรัฐมนตรีและประเด็นที่จะอภิปรายใน วันที่ 3 เมษายน 2567 ได้แก่ นายกรัฐมนตรี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดีอีเอส นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์

นายไชยา พรหมา รมช.เกษตรฯ นายอนุชา นาคาศัย รมช.เกษตรฯ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รมช.มหาดไทย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม นางพวงเพชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายหรัฐมนตรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 

สำหรับประเด็นที่รัฐมนตรีเตรียมที่จะอภิปราย ได้แก่ 

  • ปัญหาหนี้สินในภาคเกษตรกร ภาคธุรกิจ  และภาคประชาชน 
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจ 
  • การปล่อยปละละเลยให้กลุ่มผู้มีอิทธิพล เอาเปรียบประชาชน ระบบราชการ แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือการ คอร์รัปชันเชิงนโยบาย 
  • การแก้ไขปัญหากระจายอ านาจสู่ท้องถิ่น และลดความเหลื่อมล้ำ
  • การฟื้นฟูหลักนิติธรรมให้มีประสิทธิภาพ  โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานา ประเทศ 
  • การแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม การท าให้เกิดความ เสมอภาคเท่าเทียมทางกฎหมายและ การเมือง การบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อประชาชน คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐาน 

สำหรับรายชื่อรัฐมนตรีและประเด็นที่จะอภิปรายในวันที่ 4 เมษายน 67 ได้แก่ 
นายกรัฐมนตรี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศึกษาธิการ
พล ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์

นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ นายจักรพงษ์ แสงมณี รมช.การต่างประเทศ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน นางสาวศุภมาศ อิศรภักดี รมว.อว. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา
 

ประเด็นที่จะอภิปราย 

  • การแก้ไขปัญหาการศึกษา 
  • การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 
  • การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 
  • การแก้ไขปัญหาการปฏิรูปกองทัพ 
  • การแก้ไขปัญหาการดำเนินนโยบายต่างประเทศ 
  • การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานของประเทศ


เปิดญัตติซักฟอกของฝ่ายค้าน

สำหรับญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติ ของ สส.พรรคฝ่ายค้านจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาที่ได้ร่วมเข้าชื่อเสนอญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมานตรีได้บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว 

  • ปัญหาหนี้สินในภาคเกษตร ภาคธุรกิจและภาคประชาชน 
  • การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานของประเทศ 
  • ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ 
  • มีพฤติกรรมที่ทำลายความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ 
  • ปล่อยปละละเลยให้มีกลุ่มผู้มีอิทธิพลเอารัดเอาเปรียบประชาชน 
  • ระบบราชการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
  • คอร์รัปชันเชิงนโยบาย 
  • เลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม 
  • ทำลายหลักความเสมอภาคเท่าเทียมทางกฎหมายและการเมือง
  • ไม่จริงใจต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 
  • การลดความเหลื่อมล้ำ 
  • การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน 
  • การปฏิรูปกองทัพ 
  • การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 
  • ปัญหาการศึกษา 
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อม 
  • ปัญหาอาชญากรรม 
  • ยาเสพติด 
  • ไร้ความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย 
  • ไม่สามารถฟื้นฟูบทบาทสำคัญของประเทศไทยในเวทีโลกได้ 


​​​​​​​