ทักษิณ-เศรษฐา-แพทองธาร-พิธา ลุยไฟป่า คลุกฝุ่น PM2.5 เหยียบหมอกควันการเมือง

16 มี.ค. 2567 | 06:45 น.

ทักษิณ - เศรษฐา-แพทองธาร - พิธา ลุยเชียงใหม่ แก้ไฟป่า-ฝุ่น PM 2.5 หมอกควัน เดิมพัน 10 เก้าอี้ สส.-ทวงแชมป์ "ฐานที่มั่นชินวัตร"

ฮอตสปอตการเมืองในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ร้อนแรง เมื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี-เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกฯเพื่อไทย และ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แคนดิตเดตนายกฯก้าวไกล ลงพื้นที่พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

โดยมีอีเวนท์แก้ไขปัญหาไฟป่า-หมอกควัน และฝุ่น PM2.5 เป็นฉากหน้า 

การลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ของอดีตนายกฯ-นายกฯเพื่อไทย "เดิมพันสูง" เพราะ "เสียแชมป์" ให้กับพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งปี 2566 ที่ได้กวาด สส.ไปถึง 7 ที่นั่ง จากทั้งหมด 10 ที่นั่ง ประกอบด้วย 

ทักษิณ-เศรษฐา-แพทองธาร-พิธา ลุยไฟป่า คลุกฝุ่น PM2.5 เหยียบหมอกควันการเมือง

เขต 1 เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เขต 2 การณิก จันทดา เขต 3 ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เขต 4 พุธิตา ชัยอนันต์ เขต 6 อรพรรณ จันตาเรือง เขต 7 สมดุลย์ อุตเจริญ และเขต 8 ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์

ขณะที่พรรคเพื่อไทยต้อง "ปาดน้ำตา" พ่ายแพ้หมดรูปทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่เป็น “บ้านเกิดทักษิณ” หลุดเข้าสภามาได้เพียง 2 ที่นั่ง คือ "จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์" เขต 5 และ ศรีโสภา โกฏคำลือ เขต 10 

ทักษิณ-เศรษฐา-แพทองธาร-พิธา ลุยไฟป่า คลุกฝุ่น PM2.5 เหยียบหมอกควันการเมือง

การเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้า พรรคเพื่อไทยจึงหมายมั่นที่จะทวงคืน "ฐานที่มั่นตระกูลชินวัตร" กลับมาให้ได้ โดยมีศึกเลือกตั้งอบจ.เป็นการ "หยั่งเสียง" เบื้องต้น ว่า "กระแสทักษิณ" ขายได้ในจังหวัดเชียงใหม่-นโยบายต้นตำหรับประชานิยมยังมีมนต์คลังอยู่หรือไม่ 

ทันทีที่ “รัฐบาลเศรษฐา” เข้ารับตำแหน่ง-แถลงนโยบายต่อรัฐสภา การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็น “วาระแห่งชาติ” ได้ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน

โดยมี “พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ 

ทักษิณ-เศรษฐา-แพทองธาร-พิธา ลุยไฟป่า คลุกฝุ่น PM2.5 เหยียบหมอกควันการเมือง

ทันใดนั้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 272,655,350 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและ PM2.5 แบ่งออกเป็น

กรมป่าไม้ วงเงิน 109,946,650 บาท 

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช วงเงิน 162,708,700 บาท  เพื่อจัดตั้งจุดเฝ้าระวัง 1,582 จุด ใน 1 จุดเฝ้าระวังใช้งบประมาณ 102,850 บาท ประกอบด้วย

  • การจ้างประชาชนเป็นรายบุคคล ประจำจุดเฝ้าระวังไฟป่า จำนวน 3 คน ค่าจ้างเดือนละ 9,000 บาท (1 มี.ค.67 – 31 พ.ค.67) วงเงิน 67,500 บาท
  • ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องเป่าลม 7,500 บาท
  • อุปกรณ์ดับไฟป่า ได้แก่ ถังฉีดน้ำดับไฟป่า ไม้ตบไฟ ไฟฉายคาดหัว อุปกรณ์สนาม 4,100 บาท 
  • วัสดุสำนักงาน กระดาษ หมึกพิมพ์ สำหรับลงทะเบียนเข้า-ออก 810 บาท 
  • การจัดประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบและการแก้ไขปัญหาไฟป่าให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 1 ครั้ง 7,500 บาท 
  • การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 3 ครั้ง 5,580 บาท 
  • การประสานงานและติดตามผลการดำเนินการของจุดเฝ้าระวังป้องกันป่า 4,060 บาท 
  • เครื่องเป่าลมดับไฟป่า 5,800 บาท 

ทว่าดูจะ “ผิดฝาผิดตัว” เพราะรัฐมนตรีที่เอาเงินไปใช้สร้างผลงาน-ทำคะแนนนิยมกลับมาจากโควตาพรรคพลังประชารัฐ 

ขณะที่การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ใน"เชียงใหม่" ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ สะท้อนจากข้อมูลคุณภาพอากาศจาก เว็บไซต์ IQAir ล่าสุด ณ 16 มีนาคม 2566 รายงานคุณภาพอากาศของทั่วโลก พบว่า เชียงใหม่ ประเทศไทยงคงมีระดับมลพิษพุ่งสูงต่อเนื่อง โดยเช้านี้ยังครองแชมป์อันดับ 1 เมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุดของโลก โดยมีค่า AQI อยู่ที่ 231 อยู่ในระดับสีม่วง (AQI = 201-300) ที่มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง

วาระทักษิณ-เศรษฐา แพทองธาร และพิธา ลุยไฟป่า คลุกฝุ่น PM2.5 เหยียบหมอกควัน ทะลุถึงการเลือกตั้งครั้งหน้าทั้งสนามเล็ก-สนามใหญ่ อย่างแน่นอน