“ศิริกัญญา” ผิดหวัง แถลงนโยบายรัฐบาล อัดดีแต่หาเสียงแต่ไม่ทำ

11 ก.ย. 2566 | 06:51 น.

“ศิริกัญญา” ผิดหวังแถลงนโยบายรัฐบาลไม่มีอะไรแตกต่างจากเอกสาร อัดดีแต่หาเสียงแต่ไม่ทำ พร้อมยกคำแถลงของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา “นายบารัค โอบามา” มีเป้าหมายและมีกรอบเวลาที่ชัดเจน

วันนี้ 11 กันยายน 2566 ที่รัฐสภา นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นคนแรกของพรรคก้าวไกลในการอภิปรายนโยบายรัฐบาล ว่า การแถลงนโยบายมีความสำคัญมากในระบบประชาธิปไตย ก็จะเป็นกลไกในการรับผิดรับชอบ เป็นคำมั่นสัญญา ที่ฝ่ายบริหารได้แถลงต่อหน้าผู้แทนราษฎร และเป็นคัมภีร์ที่จะต้องติดตา ตรวจสอบไปตลอด 4 ปี  เมื่อฟังคำแถลงนโยบายจากนายกรัฐมนตรีจบ ไม่มีอะไรที่แตกต่างจากในเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้ มีเพียงคำอธิฐานลอยๆ คำกว้างๆ ขาดความชัดเจนของ เป้าหมายที่จะไปถึง ไม่มีการใส่ตัวชี้วัดที่เป็นตัวเลข

พร้อมยกคำแถลงนโยบายของนายบารัค โอบามา ว่ามีเป้าหมายและกรอบเวลา ชัดเจน และ ได้ยกคำแถลงนโยบายรัฐบาลระหว่างรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ,พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งเมื่อตัดเกรดแล้ว คำแถลงนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา จัดอยู่ในเกรดเดียวกับรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ อย่างน้อยคำแถลงนโยบายก็ยาวกว่า แล้วที่น่าผิดหวังไปกว่านั้นพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบา มาตรฐานตกไม่ได้รักษามาตรฐานที่เคยทำไว้ดีมากในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 สำหรับนโยบายพรรคเพื่อไทยหาเสียงในการเลือกตั้ง เช่น นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี รายได้ดี 3 เท่า แต่เมื่อปรากฏในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลกลับเป็น พักหนี้ตามความเหมาะสมรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ , นโยบายหาเสียงค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ปริญญาตรี 25,000 บาท ปรากฏในคำแถลงนโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ และ เงินเดือน เป็นธรรม

นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล

 สำหรับนโยบายพรรคเพื่อไทยหาเสียงในการเลือกตั้ง เช่น นโยบายพักหนี้เกษตรกร 3 ปี รายได้ดี 3 เท่า แต่เมื่อปรากฏในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลกลับเป็น พักหนี้ตามความเหมาะสมรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ , นโยบายหาเสียงค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ปริญญาตรี 25,000 บาท ปรากฏในคำแถลงนโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ และ เงินเดือน เป็นธรรม

โดยคาดหวังว่าจะได้ยินคำแถลงนโยบายรัฐบาลเช่นเดียวกับที่นายเศรษฐาแถลง แผนงานเป้าหมายประจำปีของ บริษัทแสนสิริ จำกัด มหาชน ที่มีกรอบเวลาและเป้าหมายชัดเจน ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์การแถลงนโยบายในครั้งนี้จึงมองว่ามาจาก 2 เหตุผล คือ

  •  รัฐบาลกลัวการผูกมัด กลัวทำไม่ได้ ตามที่สัญญาเลยไม่กล้าผูกมัดอะไรกับประชาชน
  •  เป็นรัฐบาลผสมข้ามขั้วที่มีนโยบายข้ามขั้ว จึงหาข้อตกลงสิ้นสุดไม่ได้ จึงต้องเขียนนโยบายลอย

 นอกจากนั้นนางสาวศิริกัญญา ยังกล่าวถึง เงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่าจำเป็นที่จะต้องมีเงินสดมาการันตีว่า 1 บาท จริง จะเท่ากับ 1 บาท ดิจิทัล หากไม่สามารถนำเงิน 5.6 แสนล้านมาการันตีได้ 1 บาท ดิจิทัล จะไม่เท่ากับ 1 บาทจริง ซึ่งหากเงินดิจิทัลแลก ยากจะทำให้สินค้าและบริการแทงขึ้นมาทันที

จึงสงสัยว่าเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะมาจากแหล่งใด เช่น มาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งงบประมาณจะเพียงพอหรือไม่ หรือมาจากเงินนอกงบประมาณจากกองทุนหมุนเวียน ซึ่งหากรัฐบาลเลือกใช้งบประมาณประจำปี 2567 เชื่อได้ว่างบประมาณไม่พอ ซึ่งหากใช้เงินนอกงบประมาณหากไม่กล้ากรอบวินัยการเงินการคลังจะไม่สามารถทำได้.