svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

เปิดเอกสารยื่น ป.ป.ช.สอบ “ศักดิ์สยาม”ผิดจริยธรรมร้ายแรง ปม “เขากระโดง”

15 กันยายน 2565

เปิดเอกสารที่ พรรคร่วมฝ่ายค้าน ยื่อขอให้ ป.ป.ช. ไต่สวน “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” กรณีผิดจริยธรรมร้ายแรง ปมครอบครองที่ดินเขากระโดง

ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตา กรณี ตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย และพรรคเพื่อชาติ ยื่นเอกสารร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้ไต่สวนนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย 

 

กรณี ข้อเท็จจริงและดำเนินการด้านจริยธรรมกับนายศักดิ์สยาม ในฐานะที่กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวหาว่า ปล่อยปละละเลยไม่เร่งรัดสั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยที่ตนเองกำกับดูแล ให้เร่งดำเนินการฟ้องร้องเรียกคืนและเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟ บริเวณเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จากผู้บุกรุกที่ดินการรถไฟเพื่อให้กลับมาเป็นของการรถไฟโดยเร็ว

 

โดยมีมูลเหตุจูงใจจากที่นายศักดิ์สยาม รวมถึงเครือญาติยังคงถือครองที่ดินดังกล่าวในการใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ และต้องการครอบครองที่ดินนั้นไว้ต่อไปให้นานที่สุด โดยขอให้ ป.ป.ช .ส่งเรื่องไปยังศาลฎีกา 

 

เเละปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ยึดถือ ครอบครองที่ดินรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีการครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

เมื่อตรวจสอบเอกสารจำนวน 7 หน้า พบประเด็นสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้

 

  • กรณียึดถือครอบครองที่ดินของรัฐกรณีการครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ เป็นที่ดินที่อยู่ในแนวเขตตามประกาศราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวง

 

  • 9 พฤศจิกายน 2513 ได้เกิดข้อพิพาทระหว่างนายชัย ชิดชอบ บิดาของนายศักดิ์สยาม กับประชาชนผู้บุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดง นายชัย ยอมรับว่าที่ดินที่ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และทำหนังสือขออาศัยและได้มีการนำที่ดินที่ครอบครองไปขอออกโฉนดที่ดิน และโอนให้ภริยาของตน และที่ดินได้โอนขายให้บริษัท ศาลาชัยบุรีรัมภ์ (1991) จำกัด

 

  • เมื่อปี 2539 จังหวัดบุรีรัมภ์มีหนังสือ ส่งปัญหาข้อพิพาทให้คณะกรรมการกฎษีกาวินิจฉัยและมีความเห็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยมีความเห็นเมื่อปี 2541 ว่าที่ดินที่ประชาชนครอบครองบริเวณเขากระโดง เป็นที่ดินของการรถไฟ และได้รับการคุ้มครอง

 

  • ปี 2554 ข้อเท็จจริงนในรายงานและสำนวนไต่สวนของ ป.ป.ช. กรณีกล่าวหาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ไม่ดำเนินการกับผู้บุกรุก กรณีนายชัย ขอออกโฉนด และภริยาถือกรรมสิทธิ์ ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ โดย ป.ป.ช. มีมติวินิฉย ว่าที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมภ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ จึงมีหนังสือลับถึงผู้ว่าการรถไฟฯ ให้ดำเนินคดีกับผู้บุกรุก  และได้มีประชาชนที่อาศัยบริเวรณเขากระโดง 35 คน ยื่นฟ้องการรภไฟและกรมที่ดิน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่ดินเป็นของที่ดินการรถไฟฯ พิพากษายกฟ้อง

 

  • ปี 2560 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืนและศาลฎีกาพิพากษา ว่าที่ดินที่โจทก์ทั้ง 35 คน ครอบครองเป็นของการรถไฟและทางหลวง

 

  • ปี 2561 ศาลฎีกาพิพากษา คดีที่นายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ ฟ้องการรถไฟฯ และนายสมศักดิ์ คริบรัมย์ คดีที่นายสมศักดิ์ ค้านการรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ในตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินแปลงนั้นบางส่วนเป็นที่ดินรถไฟ

 

  • ปี 2563 ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษาในคดีที่การรถไฟฯ พ้องนายวิรัตน์ วงศ์พัฒน์ชัย กับพวก ขอให้ขับไล่ ละเมิด เพิกถอนโฉนด ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งศาลพิพากษาตามศาลชั้นต้น ให้เพิกถินที่ดิน 3 แปลง และส่งมอบที่ดินคืนการรถไฟ

 

  • ปรากฎว่านายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัยในตำบลอิสาณ ซึ่งใช้เป็นที่ตั้งบริษัท ศิลาชัยบุรีรัมย์ (1991) จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีคอนสตรัคชั่น แม้ต่อมาจะทำการย้ายไปแต่ที่ตั้งทั้งสองกิจการและที่ดินที่นายศักดิ์สยาม ถือครอง ยังอยู่บนที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นของการรถไฟฯ และยังมีเครือญาติของตน และนิติบุคคลที่เครือญาติเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น ได้ถือครองที่ดินและใช้ที่ดินเขากระโงประกอบกิจการต่างๆ รวม 12 แปลง กรือประมาณ 179 ไร่ 1 งาน 43.3 ตารางวา

 

พฤติการณ์นายนายศักดิ์สยามที่ถูกระบุไว้ในเอกสารที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. นั้น สรุปได้ดังนี้ 

 

  • ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินเขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ ตามความเห็นของคะณกฎีกา ตามมติของ ป.ป.ช.ตามคำพิพากษาศษลอุทธรณ์ ภาค 3 และศาลฎีกา เกิดขึ้นก่อนที่นายศักดิ์สยาม จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคมนาคม และระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง มีหน้าที่และอำนาจกำกับดูแลการรถไฟฯ ย่อมข้อเท็จจริงจึงต้องสั่งเร่งรัด กำชับ หรือมอบหมายให้การรถไฟฯ ฟ้องผู้บุกรุกที่ดินเขากระโดง แต่การที่ไม่ดำเนินการเพราะนายศักดิ์สยาม ทราบดีว่าหากสั่งการ ตนเองและเครือญาติรวมถึงกิจการจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ปล่อยปละละเลยไม่สั่งการ และยินยอมให้การรถไฟฯ ฟ้องต่อศาลปกครองกลางกับกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินในข้อหาละเมืดที่ออกโฉนดบนที่ดินเขากระโดง จึงส่อว่านายศักดิ์สยาม เจตนาที่จะหน่วงเวลาการเรียกคืนที่ดินให้การรถไฟฯ พฤติการณ์จึงเข้าข่ายละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่การรถไฟฯ ที่เสียโอกาสได้ที่ดินคืน หรือเป็นการปฎิบัติ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดนสุริตเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตนเองและเครือญาติได้ใช้ประโยชน์บนที่ดินดังกล่าว ไม่ต้องถูกการรถไฟฟ้องร้องเรียกคืน ซึ่งเข้าข่ายมาตรา 157     

 

  • นายศักดิ์สยาม ย่อมต้องรู้ดีว่า ป.ป.ช.ได้เคยเเต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จริงเเละมีมติในการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 เเละ 8564 โดยมิชอบ เพราะทั้ง 2 แปลง มีนายชัย ชิดชอบ บิดา เเละนายประพันธ์ สมานประธาน เป็นผู้ขอออกโฉนด เเละนางกรุณา ชิดชอบ ได้ซื้อที่ดินโฉนดที่ 8564 ในเวลาต่อมา ส่วนโฉนดที่ 3466 ได้โอนให้นางละออง ชิดชอบ มารดานายศักดิ์สยาม ซึ่ง ป.ป.ช. ได้มีมติว่าการออกโฉนดทั้ง 2 เเปลง เป็นการออกโฉนดที่ดินการรถไฟฯ ซึ่งเป็นที่ดินสงวน จึงเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ ให้เเจ้งกรมที่ดินเพิกถอนที่ดินทั้ง 2 แปลง 

 

  • ป.ป.ช.ยังมีมติ ให้เเจ้งการรถไฟฯ ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกที่ดิน เมื่อนายศักดิ์สยาม เข้ารับตำเเหน่ง เเต่กลับเพิกเฉย รู้เห็น ยินยอม ให้การรถไฟไปฟ้องกรมที่ดิน เเทนที่จะฟ้องผู้ครอบครองเเละบุรุกที่ดิน ต่อศาลยุติธรรม

 

  • นอกจากนี้ยังพบว่า การรถไฟฯ ไม่ได้ส่งผู้เเทนเข้าร่วมดำเนินการกับกรมที่ดินในการรังวัดตรวจสอบเเนวเขตที่ดินของการรถไฟ เพื่อร่วมแก้ปัญหาที่ดินทับซ้อน ของการรถไฟฯ จึงทำให้การเพิกถอนเอกสารสิทธิ์เขากระโดง ล่าช้าไปมาก นายศักดิ์สยาม ไม่ใส่ใจการดำเนินเพราะตนเองเเละครอบครัวยึดถือครองที่ดินเขากระโดงอยู่ด้วย