โหวตซักฟอก พปชร. ‘บิ๊กป้อม’ ยัน ไปทิศทางเดียวกัน

23 ก.ค. 2565 | 03:14 น.

อภิปรายไม่ไว้วางใจ โหวตซักฟอกพปชร. ‘บิ๊กป้อม’ ยัน ไปทิศทางเดียวกัน "ชวน หลีกภัย" ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุมดีเดย์เริ่มแล้ว10.00น.23กรกฎาคม 2565

 

 

 

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล จำนวน 11 คน ปิดฉากลงเมื่อประมาณ 22.00น.ของวันที่22 กรกฎาคม 2565 และมีกำหนดลงมติในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. ซึ่งเริ่มเปิดประชุมโดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม

 

 

 

อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงเช้า( 08.48 น.) ของวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ที่ชั้น 6 อาคารรัฐสภา พล.อ.ประวิตรวงษ์สุวรรณในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้เดินทาง มาเป็นประธานการประชุม สมาชิก พรรคก่อนที่จะลงมติโหวต ลงคะแนนเสียง

 

 

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยพล.อ.ประวิตรกล่าวก่อนประชุมเพียงสั้นๆ อย่างอารมณ์ดี ถึงแนวทางการลงมติของพรรคจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ว่า พรรคเดียวกันก็ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว

 

ทั้งนี้ ตามที่นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน เป็นผู้สรุปการอภิปรายได้ดังนี้ 

 

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ถูกกล่าวหาเรื่องแรก คือ ความผิดพลาดในการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจทั้งระดับมหภาคและจุลภาค ที่ตกต่ำมาตลอดระยะเวลา 8 ปี

 

 

 โดยก่อนเกิดสถานการณ์โควิดจีดีพีประเทศที่ตกอยู่แล้วเมื่อเกิดสถานการณ์โควิดยิ่งลงเหว ขณะที่สถานการณ์หลังโควิดก็ยังไม่สามารถฟื้นเศรษฐกิจประเทศได้ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาพื้นฐาน หลายประเทศฟื้นขณะที่ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น 

 

 

รัฐบาลหาเงินไม่เป็น ใช้ไม่เป็น นอกจากบริหารเศรษฐกิจล้มเหลวโดยเฉพาะเรื่องของขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศแล้ว ยังล้มเหลวการแก้ปัญหาทางสังคม การศึกษา และล้มเหลวเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด มีพฤติการณ์ส่อทุจริต เอื้อพวกพ้อง เอื้อนายทุน ไม่ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะการแต่งตั้งลูกนายเสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นราชการตำรวจ ใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า

 

ทั้งยังละเมิดกฎหมายจริธรรม โดยเฉพาะการละเมิดอนุสัญญาเดี่ยวยาเสพติดให้โทษฯ ของยูเอ็น กรณีร่วมกับนายอนุทิน รองนายกฯ ปลดล็อกกัญชา รวมถึงการละเว้นปฏิบัติหน้าที่กรณีจ่ายค่าชดเชยคลองด่าน เช่นเดียวกับการใช้อำนาจมาตรา 44 ปิดเหมืองทองอัครา ทั้งยังล้มเหลวเรื่องการบริหารงานการต่างประเทศกรณีเครื่องบินเพื่อนบ้านบินล้ำน่านฟ้าไทย เป็นผู้นำที่ทำลายระบบประชาธิปไตย   

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ถูกกล่าวหาว่า ไร้ประสิทธิภาพ ขาดความสามารถไม่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้โดยสถิติการแพทยระบาดของยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้น มีการซื้อขายกันง่ายมากขึ้น เยาวชนเข้าถึงยาเสพติดด้วยราคาที่ถูก หาง่าย

 

3.พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ถูกกล่าวหาในฐานะกำกับดูแลการประปาส่วนภูมิภาคว่า มีเจตนาไม่สุจริต ปล่อยปละละเลยเอื้อเอกชน โครงการร่วมลงทุนน้ำประปาปทุมธานี-รังสิต ทำรัฐเสี่ยงเสียหายหลายหมื่นล้าน 

 

 

4.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ถูกกล่าวหาว่า ร่วมกับ นายกฯ ผลิตนโยบายเสรีกัญชา เปรียบเหมือนกลัดกระดุมผิดตั้งแต่เม็ดแรก นำมาซึ่งการไปละเมิดอนุสัญญาเดี่ยวยาเสพติดให้โทษ 1961 ของยูเอ็น ทั้งยังเกิดช่องว่างทางกฎหมายเนื่องจาก พ.ร.บ.กัญชง กัญชาฯ

 

 

ยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ออกมาควบคุมการใช้อย่างชัดเจน ทั้งยังไม่สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน ส่งผลกระทบกับเยาวชนและสังคม เลยไปถึงผู้ประกอบการที่ลงทุนเกี่ยวกับกัญชาในลักษณะต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าสนับสนุนให้ใช้กัญชาทางการแพทย์  

 

 

5.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ถูกกล่าวหา กรณีการจัดซื้อถุงมือยางของ อคส.ที่มีความเสียหายนับแสนล้านบาท ซึ่งได้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว โดยตั้งข้อสังเกตว่า นายจุรินทร์ ไม่ดำเนินการอายัดเงินจากผู้กระทำความผิดทำให้รัฐเกิดความเสียหาย   

 

6.นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวหาว่า ทุจริต ปิดบังอำพรางมีผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีที่ดินเขากระโดง และกรณีบริษัท บุรีเจริญ ที่เชื่อว่า ไม่มีการโอน และการขายหุ้นจริงเป็นนอมินีที่เข้ามารับงานของกระทรวงคมนาคมหลาย

 

โครงการซึ่งจากเอกสารที่นำมายืนยันนั้นเห็นว่า เป็นเอกสารที่มีพิรุธ เพราะไม่มีหัวกระดาษของธนาคาร และลายเซ็นต์เหมือนการตัดแปะทั้งยังเห็นว่า ไม่มีการซื้อขายหุ้นจริง เป็นเอกสารที่ไม่น่าเชื่อถือ มีประโยชน์ทับซ้อน  

 

 

7.นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ถูกกล่าวหาว่า ไร้ประสิทธิภาพ ไร้จริยธรรม โดยเฉพาะเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อประชาชน

 

 

ซึ่งจนถึงวันนี้ในฐานะผู้กำกับดูแลกระทรวงซึ่งมีหน้าที่โดยตรงยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนีได้ ในขณะที่กลับไปเสียเวลาสอดส่องฝ่ายตรงข้ามมากกว่า นอกจากนี้ยังมีพฤติการณ์ตั้งเพื่อนสนิทเป็นที่ปรึกษาและคนๆเดียวกันนี้ได้ไปรับงานโครงการต่าง ๆ รวมถึงการขาดจริยธรรม

 

 

8.นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถูกกล่าวหาว่า ไม่สุจริตโครงการบ้านเคหะฯ สองโครงการ ที่พบว่า บริษัทที่เข้ารับงานถมดินของโครงการไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการรับงาน ขณะเดียวกันพบว่า มีการซอยสัญญาหลายสัญญาด้วยกัน   

 

 

9.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง ถูกกล่าวหาว่า ทุจริตกรณีท่อส่งน้ำอีอีซี ที่กรมธนารักษ์เข้าไปเกี่ยวข้อง จากเดิมที่เป็นงานของ อีสวอร์เตอร์ ที่หมดสัญญาไป ต้องหาผู้รับทำงานต่อ พบว่า บริษัทใหม่ที่เข้ามารับช่วงต่อนั้นบอร์ดได้ให้มีการวิจัยและศึกษาเรื่องของสัญญาดังกล่าว โดยได้เสนอแนะให้รวมสัญญา และจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ พร้อมทั้งมีการแก้ทีโออาร์เพื่อให้ บริษัท วงษ์สยามฯ เข้าเงื่อนไขและชนะการประมูล 

 

 

 

10.นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องรูเห็นโครงการเดินสำรวจที่เกาะนุ้ยนอก และอีกสองสามเกาะที่จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิได้ และคนที่ได้ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายนิพนธ์ เป็นการออกเอกสารสิทธิให้กับพวกพ้อง 

 

 

11.นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน กล่าวหาว่า ใช้กองทุนประกันสังคมเพื่อซื้อหุ้นเอกชนรายหนึ่ง แล้วบริษัทเอกชนดังกล่าวได้นำเงินดังกล่าวนำไปปั่นหุ้นและวนกลับมาซื้อหุ้นของนายสุชาติ รวมถึงเรื่องของแรงงานต่างชาติ 

 

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 151 วรรคสี่ กำหนดว่า มติ "ไม่ไว้วางใจ" ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปัจจุบันส.ส. ในสภามีจำนวน 477 คน 

 

ดังนั้น ต้องมีเสียงไม่ไว้วางใจ 239 เสียงขึ้นไปลงมติ "ไม่ไว้วางใจ" จะส่งผลให้นายกฯ หรือ รมต. ต้องพ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (3) ซึ่งกรณีของนายกฯ นั้นถ้าความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง เพราะสภาผู้แทนราษฎร มีมติ "ไม่ไว้วางใจ" จะส่งผลให้รมต. "ทั้งคณะ"

 

 

พ้นจากตำแหน่งด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 167 (1) แต่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ครม. ที่พ้นจากตำแหน่ง เนื่องด้วยนายกฯ ได้รับเสียงไม่ไว้วางใจ ต้องปฏิบัติหน้าที่รักษาการไปก่อนจนกว่าจะตั้งครม.ชุดใหม่เข้ามา 

 

ทั้งนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ นัดลงมติในเวลา 10.00 น. วันที่ 23 กรกฎาคมเพื่อลงมติไปพร้อมๆ กัน