“วิชา”ยกกรณี“ผกก.โจ้”แนะรัฐเร่งออกพ.ร.ก.ปฏิรูประบบสอบสวนคดีอาญา

29 ส.ค. 2564 | 10:46 น.

​​​​​​​"วิชา"แฉร่างพ.ร.บ.ตำรวจไร้ความคืบหน้า เหตุตำรวจไม่อยากสูญเสียอำนาจการจับกุม-สอบสวน สบช่องคดี“ผกก.โจ้” แนะเร่งรัดออกพ.ร.ก.สอบสวนคดีอาญา ด้าน“พ.ต.อ.วิรุตม์”แนะ“อัยการ-ดีเอสไอ”ร่วมสอบคดีผกก.โจ้

วันนี้(29 ส.ค.64) นายวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะกรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.... รัฐสภา กล่าวา ในเวทีเสวนาออนไลน์ เรื่อง “ผ่าคดีผู้กำกับโจ้ กับอนาคตปฏิรูปตำรวจแห่ง” จัดโดยสถาบันปฏิรูปประเทศไทย ตอนหนึ่งว่า

 

การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พิจารณาคืบหน้า 14 มาตรา จากเนื้อหาทั้งหมด 172 มาตรา เหตุที่เป็นปัญหาเพราะตำรวจไม่อยากสูญเสียอำนาจการจับกุม และการสอบสวน 

 

นายวิชา กล่าวว่า มีความพยายามผลักดันให้ปฏิรูปกระบวนการสอบสวน ผ่านกฎหมายอีกฉบับ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเสนอเนื้อหา ดังนั้น การปฏิรูปเรื่องดังกล่าวจึงทำได้ยาก

 

ทั้งนี้ในกรณีของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผกก.โจ้ อดีตผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ ผู้ต้องหาคดีถุงดำคลุมหัว  พบว่า กระบวนการทำงานของตำรวจที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ คือ จับ และสอบสวน ทำให้เห็นว่ามีการใช้วิธีบีบบังคับ ให้ผู้ต้องหายอมรับ หรือ ยอมสารภาพ

 

สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เห็นว่าใช้อำนาจล้มเหลว ไม่มีการตรวจสอบ เพราะเป็นอำนาจในทางลับ วัฒนธรรมของตำรวจ คือ ปกปิด ซ่อนเร้น กินเอง ชิมเอง ชงเอง ผลสุดท้ายคือผู้ต้องหา หรือ ผู้ที่อยู่ในข่ายต่อสู้คดี ไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นโทษ และพบกับความตาย

ทั้งนี้ในกรณีของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ ผกก.โจ้ อดีตผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ ผู้ต้องหาคดีถุงดำคลุมหัว  พบว่า กระบวนการทำงานของตำรวจที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ คือ จับ และสอบสวน ทำให้เห็นว่ามีการใช้วิธีบีบบังคับ ให้ผู้ต้องหายอมรับ หรือ ยอมสารภาพ

 

สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เห็นว่าใช้อำนาจล้มเหลว ไม่มีการตรวจสอบ เพราะเป็นอำนาจในทางลับ วัฒนธรรมของตำรวจ คือ ปกปิด ซ่อนเร้น กินเอง ชิมเอง ชงเอง ผลสุดท้ายคือผู้ต้องหา หรือ ผู้ที่อยู่ในข่ายต่อสู้คดี ไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นโทษ และพบกับความตาย

 

ดังนั้น หากจะทำให้กระบวนการสอบสวนให้ชอบธรรมตามกฎหมายต้องมีการถ่วงดุล ซึ่งในร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการสอบสวนนั้น กำหนดประเด็นการตรวจสอบใหม่ คือ ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ตรวจสอบให้รอบด้าน พนักงานสอบสวนต้องมีใจเป็นกลาง ไม่ใช่ตั้งธงคนที่ถูกจับว่าทำผิด รวมถึงให้พนักงานอัยการเข้ามาคุมการสอบสวนได้ ในคดีสำคัญ เช่น คดีค้ามนุษย์ เป็นต้น

 

สำหรับร่างพ.ร.บ.สอบสวนคดีอาญาต้องช่วยผลักดันเข้าสู่สภาฯ และยิ่งกว่านั้น ตนเห็นว่าควรออกเป็นพระราชกำหนด ออกเร่งด่วน ฉุกเฉินรอไม่ได้ เพราะมีเหตุจำเป็น จากเกิดคดีของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ ทำให้เกิดความไม่เชื่อถือเชื่อมั่นเกิดขึ้นกับประชาชน และมีผลกระทบทั่วโลก เพราะนักลงทุนอาจกลัวว่าจะมีถุงดำครอบหัว

                          

ด้าน พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  กล่าวว่า คดี ผกก.โจ้ ควรให้อัยการสูงสุด สั่งการให้อัยการพื้นที่ดำเนินการสอบสวนร่วมด้วย เพราะขณะนี้พบว่าตำรวจดำเนินการเอง

 

“ผมไม่มั่นใจต่อกระบวนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ คือ หัวหน้าพนักงานสอบสวน คดีในพื้นที่ไม่ทราบว่านับจากวันเกิดเหตุมีการสั่งลบพยานหลักฐานใดหรือไม่ และล่าสุดที่มีข่าวว่า บันทึกประจำวันถูกลบ ดังนั้น อาจมีการสร้างพยานหลักฐานเท็จได้ ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการสอบสวนทำให้มีความมั่นใจ อัยการ หรือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมการสอบสวน”

 

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า การปฏิรูปตำรวจ เชื่อว่าจะเป็นไปได้เมื่อบ้านเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ทั้งนี้เข้าใจว่างานปฏิรูปตำรวจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คือการตกกระไดพลอยโจน และไม่มีความเข้าใจ แม้จะออกคำสั่งต่างๆ แต่คือ การถอยหลังลงคลองโดยไม่รู้ตัว เพราะถูกหลอกให้ลงนามในคำสั่ง อีกทั้งไม่มีความเข้าใจงานตำรวจที่ดีพอ ทั้งนี้ปัญหาของตำรวจไม่ใช่เงินเดือน หรือ ยานพาหนะ หรือ อุปกรณ์

 

ส่วนร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ที่กมธ.รัฐสภา พิจารณา ไม่สามารถปฏิรปตำรวจได้ เพราะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากฉบับที่ยกร่างโดย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ กรรมการกฤษฎีกา และคงเนื้อหาเพียง 10-20 % เท่านั้่น ทั้งนี้มองว่า เนื้อหาที่ไม่สามารถยอมได้ คือ องค์ประกอบของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ที่ถูกปรับแก้ไขให้มีสัดส่วนของตำรวจร่วมเป็นกว่า 10 คน จากกรรมการทั้งหมด 18 คน ซึ่งต่างจากร่างของพ.ร.บ.ฉบับของนายมีชัย ที่ให้มีตำรวจเพียง 2 คน นอกนั้นคือ บุคคลภายนอก