หน้าใหม่การเมือง : เพชรชมพู กิจบูรณะ อยากเห็น ‘พลังหญิงสร้างชาติ’

29 ต.ค. 2561 | 10:39 น.
 

206091 เพชรชมพู กิจบูรณะ หนึ่งในคลื่นลูกใหม่ของพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) เธอได้รับความไว้วางใจให้เป็นทีมโฆษกพรรคร่วมกับหนุ่ม-สาว วัยใกล้เคียงกัน

เมื่อพลิกดูประวัติการศึกษา และประสบการณ์จากการขึ้นเวทีมวลมหาประชาชน ที่ราชดำเนิน ช่วงปลายปี 2556 บอกได้เลยว่า ...เธอไม่ธรรมดา!!

“น้องเพชร” จบมัธยมต้น จากโรงเรียนสายปัญญารังสิต จากนั้นไปเรียนระดับ ม.2-ม.4  (O Levels) ที่ Bedok North Secondary School ประเทศสิงคโปร์ และ ม.5-ม.6 (A levels) ที่ Bellerbys College, Oxford ประเทศอังกฤษ

จากนั้นจบปริญญาตรี สาขาปรัชญาการเมือง และเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเดอรัม BA Philosophy Politics and Economics - University of Durham และคว้าปริญญาตรี ด้านกฎหมาย (Graduate Diploma in Law (GDL) and Graduate Bachelor of Laws (Graduate LLB) - BPP University) และปริญญาโท กฎหมาย Legal Practice Course (LPC) - BPP University จากเมืองผู้ดีเช่นกัน
11111 พลังคนธรรมดาสร้างชาติได้

“น้องเพชร” เปิดฉาก เล่าถึงก้าวแรกบนเวที กปปส.ราชดำเนินอย่างภูมิใจว่า ช่วงที่กปปส.เคลื่อนไหว “เพชร” อยู่มหาวิทยาลัย ปี 2 เป็นช่วงปิดเทอมพอดี เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลที่เกิดขึ้นในไทย มีเพื่อนต่างชาติมาถามตลอดว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ก็เริ่มศึกษา และได้กลับบ้านและมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศทางการเมือง

“ช่วงนั้นมีคนแสดงความเห็นเยอะมาก จึงคิดว่าพลังของคนธรรมดาสามารถเปลี่ยนประเทศได้ และสร้างชาติได้ เพียงแต่ว่าเรากล้าที่จะเสียสละตรงนั้นแล้วออกมาแสดงความคิดเห็น เพราะเสียงของเราก็มีความหมายเหมือนกัน”

“เพชรชมพู” บอกว่าเธอเป็นผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนึ่ง ไม่ได้มีพี่น้องที่เป็นคนทำงานการ เมืองโดยตรง ตั้งแต่ตอนที่เรียนสิงคโปร์คุณแม่จะส่งข่าวสาร ข้อมูลไปให้ตลอด และสอนตั้งแต่เล็กๆ ว่าเราเป็นคนไทยที่ไปเรียนต่างประเทศ จะได้รับรู้ระบบและวัฒนธรรมของต่างประเทศ จึงอยากนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
7777 ส่วนประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนในต่างประเทศ น้องเพชรเล่าว่า เริ่มไปเรียนที่สิงคโปร์ตั้งแต่อายุ 13 ปี ที่นั่นสอนให้เป็นนักเรียนตลอดชีวิต เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด จบออกมาแล้วต้องขวนขวายนำความรู้ใหม่ๆ พัฒนาตัวเอง เพื่อจะได้ปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ไม่ต่างจากการเรียนที่อังกฤษ ครูจะสอนว่าอย่าปล่อยให้ใบปริญญาเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ นั่นหมายความว่าจะไม่เน้นวิชาการ เกรดต้องได้เอตลอด จริงๆ วิชาการไม่ใช่ทุกอย่างมันมีทักษะอื่นๆ ความถนัดที่มันจำเป็นต่อการใช้ชีวิต แต่การอยู่ในสังคมอย่างไรให้เป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ

“ต่างประเทศเขาสอนให้เวลาจบไปแล้วมีทักษะในการใช้ชีวิต ทักษะในการทำงานที่มีประโยชน์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างนักเรียนไปยังวัยทำงาน เขาให้ความสำคัญกับทักษะตรงนี้เยอะ ถ้าเอามาปรับเข้ากับไทย คิดว่าไทยควรจะมีการส่งเสริมการศึกษาเพราะไม่ใช่นักเรียนทุกคนสนใจที่จะพัฒนาตัวเองในด้านวิชาการในระดับอุดมศึกษา เขาอาจจะไม่อยากเรียนอะไรที่เป็นวิชาการทั้งหมด แต่อาจจะอยากเรียนอะไรที่เป็นทักษะ เช่น เรียนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่อง จักร เป็นต้น”

[caption id="attachment_339277" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

อยากเห็น“อาชีวะ”โกอินเตอร์

“น้องเพชร” ขยายความว่าประเทศไทย มีโรงเรียนอาชีว ศึกษาทุกจังหวัด แต่ไม่ได้รับการส่งเสริม มีค่านิยมที่คิดว่าใบปริญญาคือทุกอย่าง ที่ต้องเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อให้ได้ใบปริญญามาสมัครงาน แต่นั่นอาจไม่ใช่สาขาที่ชอบหรือถนัด แต่ทำไปเพราะค่านิยมของสังคม ถ้าสามารถ ปรับเปลี่ยนตรงนี้ได้ เปลี่ยนอาชีว ศึกษาให้โกอินเตอร์ได้ เพราะคนที่จบอาชีวะเมืองนอกรายได้ดีมาก จบมาแล้วมีงานทำแน่นอน ซึ่งภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย หรือร่วมเป็นเจ้าภาพให้ครบทุกจังหวัด จะได้ทราบความต้อง การของแต่ละแห่ง

หลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากต่างแดน จึงอยากเห็นการเมืองระบบประชาธิปไตย ผสมผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทยไว้ด้วย อยากให้เห็นคุณค่าอันดีงาม และค่านิยม ถ้าเรานึกถึงคนไทยที่ฝรั่งมาเที่ยวบ่อยๆ เขาจะนึกถึงความมีนํ้าใจ ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ซื่อสัตย์ สุจริต คนสมัยก่อนจะรักศักดิ์ศรีความเป็นไทย สิ่งเหล่านี้เราควรคงไว้ ส่วนระบบอันไหนที่คิดว่าดีและเปลี่ยนแปลงได้ก็ควรจะทำ
44935591_1918583491543708_7585083442132418560_n “ที่สิงคโปร์ทรัพยากร ธรรมชาติไม่มาก แต่เขาเน้นที่จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศของ เขามีระบบการเมืองที่ดี มีผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ สิ่งหนึ่งที่อยากเห็นในบ้านเราคือ ประชาธิปไตยที่เป็นธรรมาธิปไตย คือ ทำทุกอย่างตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม คนเราบางทีอาจติดว่าอำนาจคือความชอบธรรม แต่จริงๆแล้วความชอบธรรมต่างหากคืออำนาจ หมายความว่า รัฐบาลบางรัฐบาลเมื่อเข้ามามีอำนาจแล้ว ใช้อำนาจนั้นตามอำเภอใจที่เขาต้องการ อย่างนั้นไม่ถูกต้องและชอบธรรม”

เรามองว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย แต่ประชาธิปไตยที่เป็นเสรีนิยมมีองค์ประกอบมากมาย ซึ่งเศรษฐกิจก็เป็นหนึ่งในนั้น คิดว่าพรรคการเมืองใหม่มีนโยบาย เช่น จีน มีอิทธิพลต่อเรา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีผลต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างไร อยากเห็นเรามาเติมเต็มตรงนี้มากกว่า
44849642_1919816438087080_5914437766392840192_n ชู “หญิงเท่าเทียมชาย”

“เพชรชมพู” มองการเลือกตั้งในปีหน้าว่า อยากบอกแค่ว่าคนที่มาเล่นการเมือง ไม่อยากเป็นส.ส.ทุกคน ตอนนี้ทีมที่ทำงานอยู่เราก็ทำเพราะเรามีความฝัน มีความคาดหวังว่าทำอย่างไรให้เกิดพรรคการเมืองของประชาชนขึ้นมาให้ได้ ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้นมาในประเทศไทย

อย่างเรื่องที่ขอค่าสมาชิก 360 บาทตลอดชีพ ถือเป็นเรื่องใหม่มาก เป็นนวัตกรรมทางการเมือง ต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในประเทศก่อนว่า คนที่จะมาเป็นสมาชิกพรรคเราต้องเป็นเจ้าของพรรคจริงๆ ต้องเป็นคนลงทุน ลงแรง ออกความคิดเห็น เป็นคนเลือกทุกอย่างตั้งแต่นโยบาย การบริหารพรรค เลือกคนมาถอดถอน ส.ส.ที่ทุจริต พรรคมีกลไกให้หมด

“อยากทำเรื่องการศึกษาและเรื่องผู้หญิง เพราะในทางกฎหมาย ผู้หญิงผู้ชายมีความเท่า เทียมกัน แต่ในทางปฏิบัติบางที ไม่เท่ากัน เช่น ในสนามการเมือง ถ้ามองในระดับชุมชน มีผู้นำที่เป็น ผู้หญิงเยอะ สามารถผลักดันทุกสิ่งในสังคมให้เดินไปข้างหน้าได้ แต่พอมาสนามใหญ่มีส.ส.ผู้หญิงน้อยมาก ส่งผลให้การผลักดันนโยบายบางอย่างที่เกี่ยวกับผู้หญิงจะลดความสำคัญลงไปด้วย” เป็นบทสรุปจากคนธรรมดาที่มีแง่คิดไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

|หน้าใหม่การเมือง
|โดย : ดารารัตน์ มหิกุล
|หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3412 หน้า 14 ระหว่างวันที่ 25-27 ต.ค.2561
595959859