นายกฯเร่งเเก้หนี้นอกระบบให้ปชช.

19 พ.ค. 2561 | 09:05 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายกฯเร่งเเก้หนี้นอกระบบให้ปชช.

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”ว่า ”หากใครเคยเป็นคนกลางอยู่ระหว่างความขัดแย้ง คงเข้าใจได้โดยง่าย ว่าสิ่งที่ยากไม่ใช่การยุติความขัดแย้ง แต่สิ่งที่ยากกว่า ก็คือการสร้างความปรองดองที่ยั่งยืน เพราะว่าการปรับตัวเข้าหากัน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของคนกลาง ตามกฎกติกาที่ควรจะเป็นนั้น เป็นเรื่องของความสมัครใจและความยินยอมของทุกฝ่าย เราไม่อาจบังคับกันได้ และนั่นเป็นอุปสรรคในการเดินหน้าปฏิรูปประเทศอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม 4 ปี ของ คสช. ก็นับเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง บางอย่างทำได้ก็ทำทันที บางอย่างสำเร็จโดยง่ายเพราะทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน หลายอย่างขับเคลื่อนได้ยาก เพราะยังไม่เข้าใจกัน

king

ที่แย่กว่านั้น บางคน บางกลุ่ม ยังปกป้องผลประโยชน์ส่วนตน จนมองไม่เห็นผลประโยชน์ ส่วนรวม วันนี้เราก็สามารถเริ่มต้นการปฏิรูปประเทศของเราไปแล้วหลายเรื่อง โดยผมขอหยิบยกบางประเด็นมาเล่าให้ฟังในคืนนี้ และขอย้ำว่า การปฏิรูปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่มีวันจบสิ้น บางเรื่องกว่าจะสำเร็จต้องใช้เวลานาน ต้องทุ่มเททรัพยากรมาก โดยเฉพาะความร่วมมือกัน และทุกการปฏิรูป ต้องเริ่มที่การปฏิรูปตนเองก่อนเสมอ อย่างน้อย เราจะต้องไม่หยุดพัฒนาตนเองด้วย ทั้งนี้ การปฏิรูปประเทศของเรา ระยะเริ่มต้น เราสามารถกล่าวได้เป็นประเด็น ๆ ดังนี้

เรื่องการแก้จนเพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน การปฏิรูปของเราเริ่มจากการขจัดหนี้นอกระบบ โดยบูรณาการหลายหน่วยงาน ด้วยการผลักดันกฎหมาย มาตรการ และโครงการต่าง ๆ อาทิ พระราชบัญญัติห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560, การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อ แหล่งเงินทุน, การไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของลูกหนี้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้ความรู้ทางการเงิน และการทำบัญชีครัวเรือน เป็นต้น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซึ่งผู้มีรายได้น้อยเข้าร่วมโครงการกว่า 11 ล้านคน ที่จะได้รับวงเงินผ่านบัตร เพื่อลดภาระค่าครองชีพในเฟสแรกแล้ว ในเฟส 2 ก็สนับสนุนให้มีการฝึกอาชีพ เพื่อให้มีงานทำ มีรายได้ เข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด เรื่องกฎหมายขายฝากที่จะช่วยไม่ให้พี่น้องเกษตรกรตกเป็นเหยื่อ จนเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนให้กับนายทุน เจ้าหนี้นอกระบบ เหมือนในอดีต

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

กฎหมายสถาบันการเงินประชาชน เพื่อช่วยเหลือประชาชนระดับฐานราก สามารถจัดตั้งสถาบันการเงินเล็ก ๆ ในชุมชนของตนเองในทุก ๆ ตำบลทั่วประเทศ มีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีธรรมาภิบาล มีธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งก็จะส่งผลดีกับพี่น้องประชาชนมากกว่า 20 - 30 ล้านคน ทั้งในชนบทและในเมือง ปัจจุบันมีอยู่แล้วเกือบ 30,000 แห่ง เพียงแต่ยังไม่เป็นนิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งต่อไปจะได้รับการยกระดับการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป และกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่ส่งเสริมให้ประชาชนรักการออม และสร้างความมั่นคงในชีวิตบั้นปลาย มีการดำเนินงานเป็นรูปธรรมอย่างมากในรัฐบาลนี้ มีสมาชิกมากกว่า 5 แสนคน กว่าครึ่งเป็นเกษตรกร โดยมีเงินกองทุนกว่า 3 พันล้านบาท เป็นต้น”

e-book-1-503x62