เปิดภาพ "ถนนทรุดตัว" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

06 ม.ค. 2567 | 01:59 น.

เปิดภาพ "ถนนทรุดตัว" บริเวณ ถ.กาญจาภิเษกขาเข้า ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่ต้องทำการปิดช่องจราจร เร่งซ่อม รถติดหนักมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 07.50 น. ทวิตเตอร์ X ของ "1197 สายด่วนจราจร" ได้รายงานข่าวพร้อมภาพว่า ถนนทรุดตัว ถนนกาญจนาภิเษก ขาเข้าในช่องทางคู่ขนาน ก่อนถึงหมู่บ้านดีเค เขตบางบอน

เจ้าหน้าที่ยังปิดจราจรในช่องทางขนาน ส่วนช่องทางหลักก็ยังปิด 1 ช่องทางซ้าย และถนนทรุดตัวลงกว่าเดิม ตอนนี้การจราจรติดขัดมาก ท้ายแถวสะสมต่างระดับบางโคลัด  โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง  #รถติด #ถนนทรุด

เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

จากนั้นเวลา 08.43น. รายงานเพิ่มเติม ระบุว่า แขวงทางหลวงธนบุรี แจ้งว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการและอำนวยความสะดวกด้านการจราจร คาดว่าช่วงเวลา 13.00 น. จะเปิดการจราจรได้ปกติ

เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

ผู้สื่อข่าวระบุว่า จากป้ายจราจรสามารถระบุเพิ่มเติมได้ว่า ถนนกาญจาภิเษกช่วงดังกล่าว เป็นฝั่งที่เดินทางจากบางแค มุ่งหน้า ถ.พระราม 2 ดาวคะนอง

ที่มา : 1197 สายด่วนจราจร

ข้อมูลจาก เว็บไซต์ไทยพีบีเอส ระบุว่า นายเกรียงไกร เดชไชยปราการ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงธนบุรี ให้ข้อมูลว่าล่าสุดเจ้าหน้าที่จาก การประปานครหลวงได้ดำเนินการซ่อมแซมจุดที่รั่วไหลใต้ดิน ซึ่งอยู่ลึกลงไปประมาณ 25 เมตร ทั้งนี้ได้เจอจุดที่เป็นต้นเหตุให้น้ำรั่วไหลแล้ว พบว่าเกิดจากสาเหตุที่ชิ้นส่วนของอุโมงค์หลุด ทำให้โครงสร้างดินของชั้นทางไหล ลงไปในอุโมงค์ของการประปา

และในวันที่ 6 ม.ค. เวลาประมาณ 08.00 น. เจ้าหน้าที่จะเข้ามาทำการตรวจสอบเพื่อเช็กระดับการทรุดตัวว่ามีการทรุดตัวเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ หากไม่มีการทรุดตัวเพิ่มจะทำการปรับระดับถนนชั่วคราว โดยใช้แอสฟัลท์ เพื่อคืนผิวการจราจร เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ เบื้องต้นพบว่าระดับถนนไม่มีการทรุดเพิ่มเติมแล้ว แต่ส่วนนี้ต้องให้เจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบทุกครึ่งชั่วโมง เพื่อประเมินสถานการณ์

ขณะที่ นายศุภโชค มีอำพล รองผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 13 เปิดเผยว่า ในส่วนของการรับผิดชอบซ่อมแซม การประปานครหลวงจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเนื่องจากมีการขอใช้พื้นที่ ของกรมทางหลวงในการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน ซึ่งการซ่อมแซมถนนตรงจุดนี้แบบถาวรทางกรมทางหลวงจะต้องเป็นผู้กำกับดูแล

ส่วนรูปแบบการซ่อมแซมนั้น จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบโดยจะต้องสร้างชั้นทางขึ้นมาเป็นชั้น ๆ แล้วจึงปูพื้นผิวเป็นขั้นตอนสุดท้าย ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง ซึ่งจะเหมือนกับการทำถนนใหม่ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 วัน หรือ 1 สัปดาห์

จากการประเมินด้วยสายตาคาดว่ามูลค่าการซ่อมแซมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ล้านบาท โดยส่วนนี้การประปานครหลวงอาจจะต้องไปดำเนินการเรียกเก็บเอาจากบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง

เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

สุริยะ” มอบหมาย “โฆษกคมนาคม” รุกตรวจสอบเหตุถนนทรุดตัว

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุผิวจราจรทรุดตัวบนทางหลวงหมายเลข 3902 ช่วงพระประแดง - บางแค ที่ กม. 15+500 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 เวลาประมาณ 14.30 น. ที่ผ่านมา จึงได้มอบหมายให้ นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม (ผชค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคม และคณะทำงานกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจสอบอย่างเร่งด่วนในวันนี้ (6 มกราคม 2567) และประสานงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการ    เร่งแก้ไขปัญหาทันที เพื่ออำนวยความสะดวกการจราจรให้กับประชาชน

นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะโฆษกกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับกรมทางหลวง (ทล.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า สาเหตุที่ผิวจราจรทรุดตัวนั้น เกิดจากการดำเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำของการประปานครหลวง (กปน.)  ที่มีการประเมินผิดพลาด จากเดิมที่คาดการณ์ว่า เป็นประเภทดินเหนียว แต่ข้อเท็จจริงแล้ว มีดินทรายอยู่ด้วย

เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

จึงทำให้ชิ้นส่วนของผนังก่อสร้างอุโมงค์ แตก 1 ชิ้นส่วน จากทั้งหมด 5 ชิ้นส่วน หลังจากนั้น จึงมีน้ำและทรายไหลเข้ามายังอุโมงค์ขุดเจาะ ที่ขณะนี้ขุดมาแล้วระยะ 1.3 กิโลเมตร (กม.) บริเวณถนนกาญจนาภิเษก จึงก่อให้เกิดถนนทรุดตัวลงไปประมาณ 60 เซนติเมตร (ซม.)

สำหรับในขณะนี้ได้ปิดการจราจรในบริเวณถนนทรุดตัว และให้การสัญจรเบี่ยงไปใช้ทางหลวงหมายเลข 9 เพื่อที่จะดำเนินการซ่อมแซมผิวทางที่เสียหาย โดยผู้รับจ้างของ กปน. จะเป็นผู้ดำเนินการ เบื้องต้นจะทำการปรับระดับผิวทางจราจรด้วย Asphalt Bound Base บดอัดชั้นทาง เสริมเหล็ก และเทคอนกรีต (Fast Setting Concrete) เพื่อคืนผิวจราจรให้ประชาชนได้ใช้งานชั่วคราว คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (6 มกราคม 2567)

เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะทำการสำรวจงานทั้งโครงการอีกครั้ง เพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพผิวถนนให้กลับมาใช้ได้อย่างถาวรต่อไป

นอกจากนี้ ล่าสุด ทล. ได้ให้วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ตรวจสอบขั้นตอน วิธีการก่อสร้างของงานโครงการดังกล่าวว่าเป็นไปตามแบบที่ กปน. ได้ขออนุญาตไว้หรือไม่ และให้เจ้าหน้าที่ กปน. ดำเนินการด้วยความละเอียดรอบคอบตามหลักวิศวกรรมต่อไป ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมยังได้เตรียมส่งหนังสือสั่งการถึงแนวทางการป้องกันและมาตรการต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยทุกโครงการต้องมีการสำรวจสภาพดินอีกครั้ง ดังนั้น ประชาชนจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการ์ณเช่นนี้ขึ้นอีก

เปิดภาพ \"ถนนทรุดตัว\" ถ.กาญจาภิเษก ย่านบางบอน เจ้าหน้าที่เร่งซ่อม

อย่างไรก็ตาม แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น จะไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือมีการสูญเสียของทรัพย์สิน แต่หากผู้ใดได้รับความเสียหายสามารถติดต่อขอชดเชยและเยียวยาได้กับทาง กปน. ได้ทันที

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กราบขออภัยเป็นอย่างสูงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และพร้อมที่จะดำเนินงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางสัญจรได้อย่างสะดวก ปลอดภัยในทุกมิติ