พ.ร.บ.ใหม่ชี้ช่อง SME ปรับตัวรับโลกร้อนด้านคาร์บอนเครดิตตื่นตัวเพิ่มขึ้น

26 ก.ย. 2566 | 09:37 น.

พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครอบคลุมหลายมิติทั้ง สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงชุมชน และสิ่งแวดล้อม SME ที่ได้รับผลกระทบ ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์ใหม่ของโลก

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เข้ามามีบทบาททำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ ตลอดถึง SME ที่ได้รับผลกระทบ และต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์ใหม่ของโลก 

รวมถึง พ.ร.บ.โลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมไปถึงเทรนด์กระแสความตื่นตัวคาร์บอนเครดิตในไทยที่เพิ่มมากขึ้น

                               ปวิช เกศววงศ์
นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงาน Sustainability Dialogue “Mission to Carbon Neutral " จัดโดย โอสถสภา ว่า การจะลดการปล่อยก๊าซลงได้นั้น ต้องมีการออกกฎระเบียบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ของอียู (EU) และ Clean Competition Act (CCA) ของอเมริกา

แต่ในประไทยนั้นยังไม่ได้บังคับใช้ เพราะเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ประเทศไทยนั้นก็ค้าขายกับกลุ่มประเทศอียู และต่างประเทศ พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น ครอบคลุมหลายมิติทั้ง สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงชุมชน และสิ่งแวดล้อม

การเปิดเผยข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในผู้ประกอบการนิติบุคคลต้องรายงานการปล่อยต่อภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชน

                       อโณทัย สังข์ทอง

นางสาวอโณทัย สังข์ทอง ผู้อำนวยการสำนักสื่อสาร และทะเบียนคาร์บอนเครดิต องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) กล่าวว่า ความตื่นตัวด้านคาร์บอนเครดิตในไทยนั้น อยู่ในกระแสตอบรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคาร์บอนเครดิตในหลายๆ ประเภท 

อย่าง  Carbon Offset สามารถทำโครงการลดคาร์บอน อย่างคาร์บอนเครดิต ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ของประเทศไทยใช้ T-VER โครงการภาคสมัครใจ

ในส่วนของ Cap and Trade จะจำกัดสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการ แต่อนุญาตให้มีการซื้อขายกันได้ สามารถนำไปซื้อขายในคาร์บอนเครดิตในตลาดได้ และ Carbon Tax การเก็บภาษี เชื้อเพลิงต่างๆ และผลิตภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับบางประเทศ ส่วนที่ปล่อยเกินเก็บภาษี 
ตลาดคาร์บอนในไทยเป็นภาคสมัครใจ จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งระดับคาร์บอนมีการรับรองมี 3 แบบ

1. International การรับรองจากองค์กรระดับประชาชาติ ซึ่งสามารถรับรองคาร์บอนเครดิตได้

2. Independent เจ้าของมาตรฐานเป็นองค์กรอิสระ ที่ให้การรับรอง

3. Domestic อย่างหน่วยงานภาครัฐ เช่น TGO หน่วยงานภายในประเทศ มาตรฐานหน่วยงานอิสระมีมากที่สุด 58%
ราคาคาร์บอนเครดิตนั้น ในไทยจะขึ้นอยู่ตามสถานการณ์ตลาด

แต่ในปัจจุบันไทยอยู่ในสถานการณ์ Ovre Supply ในภาคสมัครใจราคาก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยประเภทต่างๆ ซึ่งโครงการประเภทป่าไม้ก็มีราคาสูงกว่าโครงการประเภทพลังงาน รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ต่างประเทศ ความเก่าใหม่ของคาร์บอนเครดิตแต่ในไทยนั้นดูเรื่องราคากับความสามารถ รวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้ได้คาร์บอนเครดิตมากกว่า

                            แสงชัย ธีรกุลวาณิช

 

นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า ในส่วนของ ESG นั้น อยากเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจฐานราก มีส่วนช่วยที่จะทำให้เศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน แต่ SME ส่วนใหญ่นั้นยังไม่ก้าวเข้าสู่ดิจิทัล และความยั่งยืนโมเดล BCG ใช้เป็นตัวขับเคลื่อน และใช้ความเป็นผู้ประกอบการที่จะขับเคลื่อนเรื่องของ BCG และนำเอา SDG มาใช้ควบคู่กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มีเรื่องของสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมการสร้างสมดุล และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นมุมมองของ SME ที่จะเข้าถึง ซึ่งทิศทางของโลกจะเข้าสู่ Green Economy อย่างการจัดการขยะชุมชน “ใช้ประโยชน์จากขยะครบวงจร เปลี่ยนผ่านสู่สังคมขยะเป็นศูนย์”

ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูง อันดับที่ 5 ของโลก ปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตัน/ปี สัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งมีความเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME  ซึ่งการปรับตัวนั้นเป็นสิ่งไม่ยาก ถ้าหน่วยงานรัฐนั้นมีความเข้าใจพฤติกรรมหรือสถานการณ์ผู้ประกอบการที่ดีจะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ในอนาคต