สทบ. ชู 6 นวัตกรรม เดินหน้าโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่

26 ก.ย. 2566 | 05:52 น.

สทบ. ขานรับนโยบายรัฐบาล หนุนความเป็นอยู่ภายใต้เศรษฐกิจฐานราก มุ่งผลักดันการพัฒนาชีวิตเศรษฐกิจ สังคม เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาสและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แก่ชุมชน

นายเบญจพล  นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หรือ สทบ. เปิดเผยว่า สทบ. เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ สังคมฐานรากไปสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของชาติด้วยแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามวิถีภูมิปัญญาตนเองของชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เงินทุน สวัสดิภาพ สวัสดิการ และการแก้ไขปัญหาสังคมให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืน

ทั้งนี้โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ เป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาลซึ่ง สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ โดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ เป็นผู้ดำเนินโครงการ มีความมุ่งหวังที่จะต้องการช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองให้ตรงกับความต้องการของประชาชน

เพื่อให้เกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ของชุมชนในด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ตลอดจนการลดรายจ่าย สร้างรายได้ ขยายโอกาสการประกอบอาชีพของสมาชิกชุมชนเมืองให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนนั้น

สทบ. ชู 6 นวัตกรรม เดินหน้าโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่

โดยคณะกรรมการดำเนินโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ จึงได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาชุมชนเมือง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมตรงต่อความต้องการของชุมชนเมือง เกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยส่วนรวมสูงสุด

ทั้งยังส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สร้างพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนเมือง ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน และที่สำคัญมุ่งเน้นไปในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ชุมชนเมือง และเพื่อเป็นการกระจายอำนาจการตัดสินใจในการพัฒนาเมืองไปสู่ประชาชนในพื้นที่ สู่การเกิดความรับผิดชอบสังคมร่วมกัน

โครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เสนอความต้องการและแนวทางการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีกายภาพที่สวยงาม เติมเต็มหรือลดช่องว่างการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ยกระดับชุมชนเมืองให้น่าอยู่ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี สืบสานและเชิดชูวัฒนธรรมชุมชน เกิดการกระจายรายได้ลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าอย่างทั่วถึง

“ที่ผ่านมา สทบ. ได้สอดรับนโยบายของรัฐบาล ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ตื่นตัวและรับทราบถึงการทำงานของรัฐบาลที่ต้องการสอดส่องดูแลว่าชุมชนใดยังขาดปัจจัย สิ่งอำนวยความสะดวก หรือเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ให้อาศัยและใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ดีมากยิ่งขึ้น”

สำหรับโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ ได้ดำเนินการสนับสนุนเทคโนโลยีทั้งหมด 6 เทคโนโลยี ได้แก่

1.โซลาร์เซลล์ Hybrid พลังงานทางเลือกเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า หรือเทคโนโลยีระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Hybrid System) ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากปัญหาค่าต้นทุนพลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้นทุกวันด้วยพลังงานทดแทน             

2.จากไปแบบไร้มลภาวะ ด้วยนวัตกรรมเตาเผาศพไร้มลพิษ หรือเทคโนโลยีเตาเผาศพไร้มลพิษประสิทธิภาพสูง โดย โครงการฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของด้านสิ่งแวดล้อม ทั่วไปแล้วเตาเผาศพเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญอย่างหนึ่ง จึงได้ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเตาเผาศพที่มีความทันสมัยมีประสิทธิภาพสูง ควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่ชุมชนได้

สทบ. ชู 6 นวัตกรรม เดินหน้าโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่

3.ลดปัญหาขาดแคลนน้ำ ด้วยเครื่องผลิตน้ำดื่มนวัตกรรมรักษ์โลก หรือเทคโนโลยีเครื่องผลิตน้ำดื่ม/น้ำแข็ง โดย โครงการฯ ประสงค์ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการบริโภคน้ำดื่มและน้ำแข็งสะอาด ถูกสุขอนามัย สะดวกและทันสมัย ราคาประหยัด ทั้งยังส่งผลด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการส่งเสริมการลดพลาสติก เพื่อลดมลพิษขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน และเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่ม/น้ำแข็งในราคาประหยัดในชุมชน อีกทั้งเป็นการสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ในการบริหารจัดการในชุมชน การมีส่วนร่วมในชุมชนนั้นๆ ด้วยเทคโนโลยีและระบบที่ง่าย

4. ต้องรอด!! เซฟทุกนาทีชีวิต..ด้วยนวัตกรรม Smart Ambulance หรือเทคโนโลยีรถฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่วยอัจฉริยะ เพื่อให้บริการประชาชน ผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลภาครัฐ หรือหน่วยกู้ชีพต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพรวดเร็วและผลลัพธ์เทียบเท่ากับหลักเกณฑ์มาตรฐาน

สทบ. ชู 6 นวัตกรรม เดินหน้าโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่

5. Smart Classroom ยกระดับสู่การเรียนรู้แบบไร้ข้อจำกัด หรือศูนย์การเรียนรู้อัจฉริยะ (Smart Classroom) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพของบุคคลในประเทศให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม 6.แปลงร่าง Food Waste เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ด้วยเครื่องกำจัดเศษอาหารรักษ์โลก หรือเทคโนโลยีเครื่องกำจัดเศษอาหารเพื่อเป็นสารช่วยการเจริญเติบโตของพืชหรือผลผลิตการเกษตร

ซึ่งปัญหาการกำจัดเศษอาหารนับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งของทุกชุมชน เทคโนโลยีเครื่องกำจัดเศษอาหารจะทำให้การจัดการด้านการกำจัดเศษอาหารเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และช่วยลดปัญหาที่มาจากเศษอาหารที่หมักหมม นอกจากนี้ยังมีหัวข้อนำเสนออื่นๆ ได้แก่ “พัฒนาเมืองที่ค้างอยู่” เพื่อส่งต่อเมืองที่ดีกว่าให้คนรุ่นต่อไป  

สทบ. ชู 6 นวัตกรรม เดินหน้าโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่

6. นวัตกรรม พัฒนาเมืองให้ ดี-งาม-ยั่งยืน ไม่ทำร้ายโลก / How to live..อยู่อย่างสมาร์ทในเมืองแห่งอนาคต มันเป็นยังไงนะ? / แกะสูตร “กรุงอัมสเตอร์ดัม” ทำยังไงเมืองถึงพัฒนาได้ครบทุกมิติ / เพื่อเป็นการตอกย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการและเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อไป

นอกจากนี้การดำเนินโครงการพัฒนาเมืองที่ค้างอยู่ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผลงานของรัฐบาลในเรื่องนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่งเสริมพัฒนาให้ชุมชนและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย