“คีรี” เร่งสปีดพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก

23 ธ.ค. 2565 | 10:29 น.

‘คีรี’ เดินหน้าลุยพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก พร้อมนำทีมคณะ UTA และองค์กรชั้นนำ เยี่ยมชมการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565, ฮ่องกง - นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด (UTA) พาคณะผู้บริหารใหญ่จาก 4 องค์กร ได้แก่ UTA , บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด อาทิ นายกวิน กาญจนพาสน์,  นายพอลล์ กาญจนพาสน์,  นายวีรวัฒน์  ปัณฑวังกูร และนายชานนท์ โสภณพนิช พร้อมด้วย นายประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท สถาปนิก 49 จำกัด เข้าเยี่ยมชม และฟังแผนการดำเนินงานการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง รวมถึงพื้นที่คลังสินค้า และพื้นที่ให้บริการสำคัญอื่น ๆ อาทิ Integrated Airport Centre (IAC)  และ Sky Bridge โดยมี ผู้บริหารจากการท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง Mr. Jack So ประธานกรรมการ, Mr. Fred Lam ประธานเจ้าหน้าที่บริหารให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมท่าอากาศยานฯ

“คีรี” เร่งสปีดพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก

ทั้งนี้ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ถือเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการขนส่งระหว่างภูมิภาคที่สำคัญ รวมถึงยังเป็นศูนย์กลางการบิน เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศสำคัญอื่น ๆ และยังเป็นท่าอากาศยานฯ ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียบพร้อม โดยในปี 2562 ช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด – 19 มีผู้โดยสารใช้บริการถึง 71.5 ล้านคน มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศถึง 4.8 ล้านตัน และมีเที่ยวบินให้บริการในปี ดังกล่าวถึง 419,795 เที่ยวบิน นอกจากนี้ล่าสุดยังได้รับรางวัล Cargo Airport of the Year - Asia Pacific  ในงาน 9th Payload Asia Awards และรางวัล Airport of the year ในงาน World Air Cargo Awards 2022

“คีรี” เร่งสปีดพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก

นอกจากนี้ในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ทางผู้บริหารจากการท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ได้พาคณะเยี่ยมชมพื้นที่  Hong Kong Air Cargo Terminals Limited (Hactl)  ที่ใช้ระบบปฏิบัติการด้วยหุ่นยนต์ ในการขนตู้สินค้า และสินค้าที่ไม่บรรจุตู้ขนาดใหญ่ ด้วยการเปิดใช้ระบบจัดเก็บชิ้นส่วนอัตโนมัติ Automated Parts Store (APS) โดยช่างเทคนิคเพียงสแกนรหัสชิ้นส่วน ระบุจำนวนที่ต้องการ และหุ่นยนต์จะใช้เส้นทางที่สั้นที่สุดในการนำชิ้นส่วนไปมอบให้แก่ช่างเทคนิค ลดระยะเวลาการทำงานได้กว่า 50 % และยังสามารถปฏิบัติการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยประหยัดชั่วโมงการทำงานของพนักงานได้ถึง 1,500 ชั่วโมงต่อปี อีกด้วย

“คีรี” เร่งสปีดพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก