9 ปี ข้าวอิ่ม มหาสารคาม ช่วยชาวนาปลดหนี้ทั้งหมู่บ้าน

05 ธ.ค. 2565 | 10:29 น.
อัพเดตล่าสุด :05 ธ.ค. 2565 | 17:34 น.

9 ปี ข้าวอิ่ม มหาสารคาม “กรณ์ จาติกวณิช” หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า จุดประกายความคิด ช่วยชาวนาปลดหนี้ทั้งหมู่บ้าน

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวภายหลัง ลงพื้นที่เกี่ยวข้าวร่วมกับชาวนาบ้านหนองหิน จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นแปลงนาที่นายกรณ์ ได้ริเริ่มโครงการ “ข้าวอิ่ม” เมื่อ 9 ปีที่แล้ว 

 

โดยนายกรณ์ กล่าวว่า “ข้าวอิ่ม” ซึ่งตนได้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2556 ที่ หมู่บ้านหนองหิน จ.มหาสารคาม ด้วยการเปลี่ยนข้าวที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก มาเป็นข้าวเกษตรอินทรีย์ จนได้รางวัลพันธุ์ข้าวยอดเยี่ยมระดับประเทศ

 

เกิดการต่อยอดข้าวเป็นสินค้าพรีเมียมประจำจังหวัด ด้วยรสชาติของข้าวมหาสารคามที่อร่อยที่สุดในโลก และกำลังขยายผลเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกหลายชนิด ทั้งข้าวพองธัญพืช รสชาติอร่อยมาก

รวมไปถึงเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบำรุงผิว สบู่ ฯลฯ ช่วยให้เกษตรกรปลดหนี้ มีเงินเก็บ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

นายกรณ์ กล่าวว่า ดีใจมากที่ปีนี้ ข้าวอิ่ม ได้รับรางวัล ข้าวคุณภาพอันดับที่ 3 ของประเทศ ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดา จากหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่รวมตัวกันด้วยความกล้าหาญ เปลี่ยนวิถีการปลูกข้าว เริ่มต้นจาก 7 ครัว เรือนปัจจุบันเพิ่มเป็น 171 ครัวเรือน ในพื้นที่นา 1,783 ไร่ 

 

ทำให้เห็นถึงความตั้งใจ และอดทน จนเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ และได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลผลิต ทั้งรถเกี่ยวข้าว โรงสีชุมชน เครื่องบรรจุสุญญากาศ ฯลฯ 

กรณ์ลงนา - กับชาวนาของเขา

นับเป็นโอกาสที่ดีที่เกษตรกรจะได้ยกระดับมาตรฐานสินค้าให้น่าซื้อ มากยิ่งขึ้น

 

นายกรณ์ เล่าถึงที่มาของโครงการข้าวอิ่ม ว่า เกิดจากที่ตนได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เคยรับสั่ง กับ “ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ เมื่อปี 2524 หรือราว 30 ปีที่แล้ว พระองค์ทรงให้ข้อคิดว่า ข้าวแทนที่จะขายเป็นถุงหรือเป็นกระสอบ ความจริงน่าจะนำมาทำแพกเกจจิ้ง ทำเรื่องการตลาด ซึ่งจะทำให้ราคาสูงขึ้นได้ ขณะที่ช่วงเวลานั้นยังไม่มีใครคิดถึงเรื่องนี้  

 

“หลังจากที่ได้อ่าน เลยตัดสินใจลงมือปฏิบัติตาม แม้จะช้าไปถึงเกือบ 30 แต่ก็ได้พยายามทำตามแนวพระราชดำรัสด้วยการทำ “ข้าวอิ่ม” กับชาวบ้านในจังหวัดมหาสารคามเมื่อ 9  ปีที่แล้ว เพราะเห็นว่าราคาข้าวตกตํ่ามาก

 


จึงชักชวนให้ชาวนาขายข้าวถุงโดยตรงผู้บริโภค แทนที่จะขายข้าวเปลือกให้กับโรงสี ด้วยสมมติฐานว่าจะเป็นการตัดขั้นตอนเพื่อให้ชาวนาขายข้าวได้ในราคาที่สูงขึ้น” นายกรณ์ กล่าว

 

หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา กล่าวต่อว่า  ตอนนั้นตนบอกกับชาวนาว่า สามารถให้ราคาได้ 20,000 – 25,000 บาท แต้ต้องอยู่บนเงื่อนไขสำคัญคือ 1. คุณภาพสินค้าต้องดี เพราะผู้บริโภคมีสินค้าให้เลือกเยอะ 2. ทุนหมุนเวียนต้องมี เพราะการขายปลีกหมายถึงรายได้จะค่อยๆ เข้ามาตามที่ขายได้ ต่างกับการเหมาขายให้โรงสีที่จะมีเงินเข้ามาเป็นเงินก้อนทันที และ 3. ต้องเข้าถึงตลาดได้ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด 

 

ซึ่งแน่นอนว่า ทั้งเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้ ไม่ง่าย และมีประเด็นที่ท้าทายมากมาย เช่น 1.ชาวนาต้องรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพและพร้อมที่จะเสี่ยง 2. การขายข้าวให้ได้ราคาต้องเป็นข้าวมีคุณภาพ ทั้งพันธุ์ข้าวและวิธีการปลูกที่ควรปลอดการใช้สารเคมี การโน้มน้าวให้ชาวนาเปลี่ยนกรรมวิธีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ 3. เรื่องทุนสำคัญมาก เพราะชาวนารายเล็กจะยากจน เขารอรับเงินไม่ได้ และพร้อมขายเหมาถูกๆ เพื่อแลกกับการได้เงินเร็ว  


4. เราขาย “ข้าวอิ่ม” ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ชาวนาทุกคนมีช่องทางแบบนี้ 


นายกรณ์ กล่าวต่อว่า ซึ่งก็ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะสุดท้ายชาวบ้านก็สามารถรวมตัวกันได้ เพียง 7 ครัวเรือน แต่สิ่งที่ชาวนา จ.มหาสารคามได้เปรียบคือ คุณภาพข้าวในพื้นที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุ่งกุลา  ถือเป็นข้าวเกรดเอของไทย ที่ชาวโลกนิยมว่าอร่อยที่สุดใน 

 

นอกจากนี้การจะขายสินค้าระดับ premium หรือสร้าง brand ขึ้นมาได้ 1.ของทุกคนต้องดี 2.ผู้บริโภคต้องมั่นใจว่า สินค้าที่ซื้อเป็นของแท้ 3.ต้องมี packaging มีเรื่องราวที่มาของสินค้า นั่นจึงเป็นที่มีของการทำ แพคเกจจิ้ง ที่ดูดี มีเรื่องราที่มีความเป็นอัตตลักษณ์ในท้องถิ่น  เริ่มต้นจาก ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จากจังหวัดมหาสารคาม ปลูกแบบพรีเมียมอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 9 บรรจุแพคเกจ “กระจูดสาน” จากป่าพรุภาคใต้ และ "ถุงผ้าขาวม้าทอมือ" จากกลุ่มแม่บ้านชาวนาสารคาม 

พี่จิราภรณ์ - ชาวนา

 

ยิ่งไปกว่านั้น ปีนี้พิเศษกระเป๋ากระจูดผสมผสานผ้าบาติก เขียนมือทุกผืน อัตลักษณ์ดั่งเดิมกว่า 20 ปี จากบ้านบ่อแร่ จังหวัดภูเก็ต มาเพิ่มมูลค่าเป็นกระเป๋าบรรจุภัณฑ์ จึงรวมเป็นแพคเกจจิ้งที่มีเรื่องราว และความงดงาม เพิ่มมูลค่า ช่วยชาวบ้านเพิ่มรายได้ทั้ง 3 จังหวัด 2 ภูมิภาค น่าซื้อหามาเป็นของขวัญ ของฝาก ในโอกาสต่าง ๆ 

 


อย่างไรก็ตาม นายกรณ์ กล่าวว่า เรื่องของผลผลิต มั่นใจว่าชาวบ้านทำได้ทุกอย่าง ขอให้รัฐบาลเข้าไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุน ให้คำชี้แนะ แต่สิ่งที่ชาวบ้านขาด และรัฐบาลเองก็ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรคือการหาตลาด เกษตรกรเขาต้องการพึ่งพาตรงนี้มากที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ตลาดการค้าขายออนไลน์ บูมขึ้นมาก สามารถขยายผลสินค้าได้ในหลาย ๆ ช่องทางการให้ความรู้ ความเข้าใจและวิธีการเข้าถึงลูกค้า จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก 

 

ซึ่งพรรคชาติพัฒนากล้า ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยมีนโยบายเศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็กมาที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อยู่พรรคกล้า จนมาถึงพรรคชาติพัฒนากล้า ก็ยังคงเน้น และเดินสายให้ความรู้ กับ ชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง ด้วยหวังจะเพิ่มโอกาสให้กับ เกษตรกร ในการขายผลผลิต ออกสู่ท้องตลาด ผลผลิตดี ถ้าขายไม่ได้ สุดท้ายชาวบ้านก็ต้องหันไปใช้วิธีการเดิม ที่ขายผลผลิตได้ แม้ในราคาที่ต่ำกว่าก็ตาม 

 


ด้านนางจิราภรณ์ อินทะสร้อย ชาวนา บ้านหนองหิน ต.โคกก่อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม กล่าวถึงถึงเหตุผลของการตัดสินใจ เปลี่ยนวิถีปลูกข้าวแบบเดิม มาเป็นเกษตรอินทรีย์ จากคำแนะนำของ “กรณ์ จาติกวณิช” ว่า เมื่อ  9 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำเหลือเพียงเกวียนละ 8,000 กว่าบาท ชาวนามีหนี้สินสะสมเกือบทั้งหมู่บ้าน แต่ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร จึงต้องอยู่ในวังวนกู้หนี้ยืมสินมาลงทุนปลูกข้าวไม่รู้จักจบสิ้น 

 

เพราะทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ราคาพุ่งสูงขึ้น ชาวนาบางรายได้รับผลพวงจากการสัมผัสสารเคมี เจ็บป่วย ล้มตายก็มีไม่น้อย คุณภาพชีวิตย่ำแย่ ดินเสื่อมจากปุ๋ยเคมี ผลผลิตตกต่ำ ข้าวไม่ได้น้ำหนัก และไม่ได้ราคา ทั้งที่ข้าว จ.มหาสารคาม ฝรั่งบอกว่าอร่อยที่สุดในโลก  

 

นางจิราภรณ์ เล่าต่อว่า เมื่อคุณกรณ์ ลงพื้นที่มาแนะนำกลุ่มชาวนา ให้ทำเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ “โครงการเกษตรเข้มแข็ง” เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต เราก็มาคุยกันในหมู่บ้าน นั่งฟังแล้วเกิดความคิดว่า ในเมื่ออยู่ไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น เราน่าจะลองทำเกษตรวิถีใหม่ ตามที่คุณกรณ์แนะนำ จึงมีคนเห็นด้วยและพร้อมที่จะลุยกัน 7 ครอบครัว จึงได้จดจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนปลูกข้าวอินทรีย์บ้านหนองหิน และทำกันจริงจัง แบบหักดิบ 

“ตอนนั้น ก็มีคนหัวเราะเราว่า ข้าวไม่ใส่ปุ๋ยจะโตได้ยังไง เราก็ไม่ท้อนะ ลงนาพลิกฟื้นผืนดินใหม่ ทำปุ๋ยหมักจากขยะ ปีแรกขาดทุน แต่เราเข้าใจว่าเป็นช่วงปรับดิน แต่พอเข้าปี 2 เริ่มดีขึ้น พอปี 3 เราได้กำไรเลย ข้าวเริ่มดีมีน้ำหนัก ขายได้ราคาจากตันละ 8,000 เป็นตันละ 20,000 – 25,000 บาท เพิ่มขึ้นมา 3 เท่าตัว 

 

ชาวนาที่มีหนี้มีสิน เริ่มปลดหนี้ปลดสินกันได้ และปีนี้ ซึ่งเป็นปีที่ 9 กลุ่มของเราได้รับรางวัลข้าวคุณภาพเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ ไม่ว่ารัฐจะมีโครงการอะไรเข้ามาเราก็สมัครเข้าร่วมหมดตอนนี้ เราเลยมีทั้งรถเกี่ยวข้าว โรงสีชุมชน เครื่องบรรจุสุญญากาศ ฯลฯ ทำให้เราพัฒนาการผลิตได้อย่างเต็มที่ 

 


อย่างพี่เองแต่ก่อนก็หนี้สินรวมราว ๆ  3 ล้าน จนเหลือไม่กี่แสนแล้ว นอกจากปลดหนี้ เราก็ยังมีเงินได้กิน ได้ใช้ และได้ส่งลูกเรียนจนจบ” นางจิราภรณ์ กล่าว 

 

สำหรับ “ข้าวอิ่ม” เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องปลอดสารฯ คัดพิเศษ ประกอบไปด้วย ข้าวกล้องพันธุ์พื้นเมืองจากทุ่งกุลาร้องไห้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอม มะลิแดง และข้าวหอมนิล ผสมกันบรรจุอยู่ใน ถุงสุญญากาศอย่างดี โดยมีกลุ่มชาวนาเป็นผู้ดูแลขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ ปลูกเอง เกี่ยวเอง ดูแลการ สีข้าวเอง และแพ็กใส่ถุงเอง 

 


ทำให้ ผู้ซื้อยังมั่นใจได้ว่ามีส่วนร่วม โดยตรงในการช่วยเหลือให้วิถีชีวิตชาวนามี ความยั่งยืน และยังได้บริโภคข้าวที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษอีกด้วย
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  096-672-2093 , LINE :@immrice ( lin.ee/6e30PFp)
หรือ inbox เพจ https://www.facebook.com/immrice