‘มาสด้า2-ซีวิค’โกยคะแนนนิยมผลการศึกษาคุณภาพรถใหม่

29 ธ.ค. 2561 | 04:46 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

เจ.ดี.พาวเวอร์ รายงานผลการศึกษาคุณภาพรถใหม่ประจำปี 2561 พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผลิตลดลง แต่ลูกค้าประสบปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบ หรือการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ในรถยนต์มากขึ้น

เจ.ดี. พาวเวอร์ เปิดเผยว่า โตโยต้า,มาสด้า, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, เชฟโรเลต และฟอร์ด คว้ารางวัลคุณภาพรถยนต์ใหม่ในแต่ละกลุ่มประเภทรถยนต์ โดยในกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กโตโยต้า ยาริส เอทีฟได้รับอันดับสูงสุดด้วยคะแนน 62, ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางระดับต้นมาสด้า2 ได้รับอันดับสูงสุดด้วยคะแนน 53, ในกลุ่มรถยนต์ขนาดกลางฮอนด้า ซีวิคได้รับอันดับสูงสุดด้วยคะแนน 54

ในกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดใหญ่มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ตได้รับอันดับสูงสุด ด้วยคะแนน 63 ,ในกลุ่มรถกระบะตอนขยายเชฟโรเลต โคโลราโด เอ็กซ์-แคปได้รับอันดับสูงสุดด้วยคะแนน 68, ในกลุ่มรถกระบะ 4 ประตูฟอร์ด เรนเจอร์ ไฮ-ไรเดอร์ ดี-แคปและโตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่ ดี-แคปได้รับอันดับสูงสุดด้วยคะแนนเท่ากัน 63

jd power

นายศิรส สาตราภัย ผู้อำนวยการระดับภูมิภาค เจ.ดี. พาวเวอร์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า รางวัลดังกล่าวเป็นผลมาจากการศึกษาคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2561 โดยได้ประเมินคำตอบของเจ้าของรถยนต์คันใหม่ 5,106 รายที่ซื้อรถยนต์ในช่วงเดือนกันยายน 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถปิคอัพและรถยนต์อเนกประสงค์ จำนวน74รุ่น จากทั้งหมด13 ยี่ห้อ และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน2561

โดยการศึกษาในครั้งนี้มีหัวข้อเกี่ยวกับ2กลุ่มปัญหาหลักที่เจ้าของรถยนต์ใหม่ประสบในช่วง2-6เดือนแรกของการเป็นเจ้าของ ได้แก่ กลุ่มปัญหาด้านการออกแบบ และกลุ่มปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดในการผลิต ซึ่งได้เจาะถามถึงปัญหาต่างๆ ครอบคลุมทั้งหมด 8 หมวดหมู่ ได้แก่ 1. ปัญหาภายนอกรถยนต์ 2. ปัญหาจากประสบการณ์การขับขี่ 3. ปัญหาจากอุปกรณ์,ปุ่มควบคุม และจอแสดงผล 4. ปัญหาเครื่องเสียง, ระบบสื่อสาร, ระบบความบันเทิง และระบบนำทาง 5. ปัญหาจากเบาะที่นั่ง 6. ปัญหาจากระบบทำความร้อน,ระบบระบายอากาศ,ระบบความเย็น 7. ปัญหาภายในห้องโดยสาร และ 8. ปัญหาเครื่องยนต์/ระบบเกียร์

สำหรับผลการศึกษาพบว่าจำนวนปัญหาที่เกิดขึ้นต่อรถยนต์  100 คัน ลดลงมาที่70 ซึ่งแต่เดิมในปี 2560 นั้นอยู่ที่ 83 และพบว่าคุณภาพรถยนต์ใหม่ถูกปรับปรุงขึ้นอย่างมาก ส่วนภายนอกตัวรถและด้านเครื่องยนต์ และระบบเกียร์ พบว่าปัญหาคุณภาพที่เกิดจากความผิดพลาดในการผลิตลดน้อยลงมาอยู่ที่ 44%จากปัญหาที่ถูกรายงานทั้งหมด ในปี 2561 เทียบกับ 61% ในปีก่อน

แอดฐานฯ

โดยปัญหาทั้งหมดได้ถูกนำมาสรุปผลเป็นจำนวนปัญหาที่พบต่อรถยนต์ใหม่ 100 คัน ซึ่งรถยนต์รุ่นใดที่ได้คะแนนPP 100 ตํ่ากว่า แสดงว่ารถยนต์รุ่นนั้นเกิดปัญหาน้อยกว่าหรืออีกนัยหนึ่งคือ รถรุ่นนั้นมีคุณภาพที่สูงกว่า

ผลการศึกษายังพบอีกว่า 51% ของปัญหาทั้งหมดที่เจ้าของรถยนต์ใหม่ประสบเป็นปัญหาเกี่ยวกับการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับความยากในการใช้งาน ได้แก่ คลื่นวิทยุไม่ชัด หรือไม่มีคลื่น,ที่วางแก้วใช้งานยาก,แอร์ไม่เย็น หรือไม่สามารถคงระดับอุณหภูมิที่ต้องการได้ และเบรกมีเสียงดัง

นาย ศิรส กล่าวเพิ่มเติมว่า ระดับปัญหาคุณภาพที่เกิดจากการผลิตลดตํ่าลง รวมถึงคุณภาพในการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์มีความแตกต่างกันน้อยลง เป็นผลมาจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง และแม้คุณภาพในการผลิตจะเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์ก็ยังตั้งเป้าหมายที่จะปรับปรุงคุณภาพในการออกแบบ โดยเฉพาะการออกแบบปุ่มควบคุมและอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ ที่มีความลํ้าสมัย ให้สามารถเข้าใจและใช้งานได้ง่ายขึ้น

นอกจากนั้นแล้วพนักงานของผู้จำหน่ายก็มีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยการอธิบายและสาธิตการใช้งานอย่างละเอียดและครบถ้วนในระหว่างส่งมอบรถยนต์

หน้า 23 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,431 วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 2 มกราคม พ.ศ. 2562

ติดตามฐาน