13 เมษายน "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" สงกรานต์ 2567 บอกรักผู้สูงวัย

12 เม.ย. 2567 | 17:05 น.

วันที่ 13 เมษายน "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" ซึ่งในปี 2567 ตรงกับเทศกาลสงกรานต์ โดยเน้นความสำคัญของการแสดงความกตัญญู การตอบแทนพระคุณผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมครอบครัว ดูแลเอาใจใส่ แสดงความรัก ความเคารพ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น มีคุณค่า

วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี นอกจากจะเป็น วันสงกรานต์ แล้ว รัฐบาลยังกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็น "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ซึ่งช่วงเวาลานี้ คงได้เห็นบูกหลานนำ "ดอกลำดวน" ซึ่งเป็นดอกไม้แทนสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุนำมามอบให้ผู้สูงอายุเพื่อเเสดงความรัก ความห่วงใย

กิจกรรมวันผู้สูงอายุแห่งชาติ

จะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำขอพร มอบของขวัญและขอพรจากผู้สูงอายุตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆทั่วประเทศ  "การรดน้ำดำหัว" ปฎิบัติสืบทอดกันมา เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ ขอโทษต่อสิ่งที่เคยล่วงเกิน และอวยพรให้ท่านมีความสุข สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ญาติผู้ใหญ่ก็จะกล่าวให้พร บางครอบครัวอาจะมีรีบประมานอาหารร่วมกัน ทำให้เกิดความรักสามัคคีในครอบครั้งมากขึ้น
 

ส่วนหน่วยงานอื่นๆ จะมีการให้สิทธิพิเศษในการใช้บริการต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT ให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษด้วยการให้ผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินได้ฟรี 18 สถานี ตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น.

ส่วนรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงค์ก็เช่นกัน สำหรับผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีชึ้นไป สามารถโดยสารรถไฟฟรีด้วยเช่นกัน เพียงแค่แสดงบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ก่อนใช้บริการเท่านั้น

 

ดูแลผู้สูงอายุสุขภาพดีทั้งกายและใจ

ทั่วไปนอกจากมีปัญหาสุขภาพร่ายกายแล้วยังมีปัญหาด้านจิตใจด้วยภายในเวลาเดียวกัน เนื่องสภาพร่างกายที่เสื่อมสมรรถภาพตามอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด 

1. เลือกอาหารให้เหมาะสม และพอดี

ควรลดการบริโภคในกลุ่มของแป้ง น้ำตาล และไขมัน อาหารประเภทของผัด ของทอดที่ใช้น้ำมัน เพื่อลดการสะสมเนื่องจากไม่ถูกดึงนำไปใช้ ให้เน้นอาหารจำพวกโปรตีนจากเนื้อปลามากขึ้น และเปลี่ยนมาใช้อาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ เป็นหลัก

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด หรือเค็มจัด เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

ควรพยายามให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อลดภาวะท้องผูก และช่วยให้ระบบทางเดินอาหารและลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น

2.  พยายามควบคุมน้ำหนักตัวผู้สูงอายุไม่ให้อ้วน

เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเคลื่อนไหวได้คล่องตัว ลดปัญหาการพลัดตกหกล้ม อีกทั้งยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อผลกระทบต่อกระดูกและข้อที่ต้องแบบรับน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดัน ได้อีกด้วย

3. พาผู้สูงออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ

ผู้สูงอายุจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ กรณีที่ผู้สูงอายุไม่เคยออกกำลังกาย ผู้ดูแลจำเป็นต้องศึกษาหลักการ ให้ถูกต้องและค่อยๆ ทำ และไม่ควรให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายแบบหักโหมจนเกินไป  และถ้าหากมีโรคประจำตัว ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ 

4. มีสภาพแวดล้อมที่ดีและสัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์

เพื่อช่วยปัญหาสุขภาพจิตใจ ลูกหลานควรพาผู้สูงอายุออกไปสัมผัสอากาศที่บริสุทธ์ เช่น พาไปเที่ยวพักผ่อนต่างจังหวัด ที่มีธรรมชาติงดงาม เพื่อดูแลสุขภาพระบบทางเดินหายใจ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือหากไม่สะดวก อาจเลือกเป็นสวนสาธารณะใกล้ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุเปิดหูเปิดตา และสัมผัสกับอากาศที่บริสุทธิ์

5. หากิจกรรมสร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุทำ

อาจจัดกิจกรรมนัดพบ เชิญเพื่อนฝูงญาติมิตร มาสังสรรค์ที่บ้าน หรือพาผู้สูงอายุออกไปเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้าง ไปวัด หรือเข้าชมรมทำกิจกรรมต่างๆ 

6. ดูแลผู้สูงอายุ อย่าให้เกิดอุบัติเหตุ

เลือกกิจกรรม หรือการเตรียมที่อยู่อาศัย ให้ความเหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการสะดุด หรือลื่นล้ม หมั่นตรวจดูความเรียบร้อยบริเวณบันได จัดบ้านให้เป็นระเบียบ 

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)

ตั้งแต่ปี 2566 จากจำนวนผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่คิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันผู้สูงอายุไทยต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น  ไม่มีรายได้ที่มั่นคงและเพียงพอยามเกษียณ การมีรายจ่ายที่สูงขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา ทั้งค่ารักษาพยาบาล และค่าที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล ซึ่งความท้าทายเหล่านี้ เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน และระดับประเทศ