เปิดข้อเสนอคณะอนุกรรมการ ควบรวมดีลแสนล้าน “TRUE-DTAC”

18 ส.ค. 2565 | 07:48 น.

เปิดข้อเสนอคณะอนุกรรมการ 4 ด้าน ผลบวกและผลลบ ควบรวมดีแสนล้าน “TRUE-DTAC” ก่อนให้บอร์ด กสทช.ตัดสินเป็นทางการ

วันนี้ 18 สิงหาคม 2565 จากกรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ ไปศึกษาผลดีผลเสียควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมินเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC

 

ล่าสุด คณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยี ได้เสนอผลการศึกษาแผนควบรวมธุรกจิระหว่าง TRUE-DTAC มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เรื่อง ความเห็นด้านเทคโนโลยี กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หน่วยงานเจ้าของเรื่อง คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีการรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่ จำกัด (มหาชน) ด้านเทคโนโลยี

 ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

  • เพื่อโปรดพิจารณาความเห็นด้านเทคโนโลยี กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีรายละเอียดตามข้อ 5

ความเป็นมา

  • กสทช. ได้มีคำสั่งที่ 14/2565  ลงวันที่ 29 เมษายน 2565 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ด้านเทคโนโลยี (คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี) และได้มีคำสั่ง กสทช. ที่38/2565 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2565 แต่งตั้งอนุกรรมการเพิ่มเติม โดยประกอบด้วย
  •  กรรมการ กสทช.
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • ผู้เชี่ยวชาญ
  • นักวิชาการ
  • และพนักงานสำนักงาน กสทช.
  • รวมจำนวน 12 คน

โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาผลกระทบทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการรวมธุรกิจระหว่างทั้งสองบริษัทอย่างรอบด้าน พิจารณาผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัดและรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และเสนอ

 

 

 

การวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี

  • คณะอนุกรรมการๆ ด้านเทคโนโลยี พิจารณากรณีศึกษาของต่างประเทศและในประเทศ และ เปรียบเทียบบริการโทรคมนาคมของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็ค เซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) แล้ว พบว่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นบริการโทรคมนาคมที่มีผู้ประกอบการเพียง 4 ราย มีการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ซึ่งมีมูลค่าสูง และเลขหมายโทรคมนาคม ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี จึงเห็นควรวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม 4 รายของไทย คือ
  • บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด (TUC)
  • บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN)
  • บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN)
  • และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) รวมถึง วิเคราะห์ในด้านของบริการ (Service) และเลขหมายโทรคมนาคมเพื่อจัดทำความเห็นเสนอ กสทช. ต่อไป

 

 

 

ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี มีดังนี้

  • ตั้งสมมติฐานของรูปแบบแนวทางการรวมธุรกิจและ การครอบครองคลื่นความถี่ของแต่ละบริษัท ในระยะเวลาประมาณ ๕ ปี ข้างหน้า โดยคำนึงถึงคลื่นความถี่ที่หมดอายุ
  •  คำนวณและวิเคราะห์เปรียบเทียบ Capacity ของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ประกอบการแต่ละราย ทั้งในด้านของ Supply และ Demand โดยกำหนดสูตรคำนวณ ตัวแปรต่างๆ และใช้สมมติฐานจากข้อ ๑)
  •  วิเคราะห์เปรียบเทียบในด้านของบริการ (Sevice) กรณีให้รวมธุรกิจ และไม่ให้รวมธุรกิจ

 

วิเคราะห์เกี่ยวกับเลขหมายโทรคมนาคม

รูปแบบแนวทางการรวมธุรกิจและการครอบครองคลื่นความถี่ของแต่ละบริษัท

คณะอนุกรรมการๆ ด้านเทคโนโลยี พิจารณาแนวทางการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท TRUE และ บริษัท DTAC ภายใต้เงื่อนไขการครอบครองคลื่นความถี่ที่อาจเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ ระหว่าง พ.ศ. 2565 – 2568  โดยแยกกรณีคลื่นความถี่ที่จะจัดสรรใหม่ในอนาคตออกจากขอบเขตการพิจารณานี้ เนื่องจากไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดถึงผลการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ในอนาคต ทั้งนี้ สามารถแบ่งรูปแบบแนวทางการรวมธุรกิจที่อาจเป็นไปได้ ดังนี้

  • กรณี A: ไม่อนุญาตให้บริษัท TRUE และบริษัท DTAC รวมธุรกิจ
  • กรณี B1: อนุญาตให้บริษัท TRUE และบริษัท DTAC รวมธุรกิจ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

- ให้บริษัทในเครือ คือ บริษัท TUC และบริษัท DTN รวมคลื่นความถี่ทั้งหมดได้

- สามารถย้ายคลื่นความถี่ที่อยู่ห่างกัน คือ คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800MHz มาอยู่ติดกันได้ (Reshuffle)

  • กรณี B2: อนุญาตให้บริษัท TRUE และบริษัท DTAC รวมธุรกิจ โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

- ให้บริษัทในเครือ คือ บริษัท TUC และบริษัท DTN รวมคลื่นความถี่ได้บางส่วน

- ให้คืนคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ 2100 MHz ในส่วนที่เกินจากเพดานคลื่น

ความถี่ (Spectrum Cap) ที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ของแต่ละย่าน

TRUE-DTAC TRUE-DTA C ควบรวมธุรกิจ

 

ควบรวมTRUE-DTAC DTAC ควบรวม TRUE

ผลศึกษา TRUE-DTAC ควบรวมTRUE-DTAC

ควบรวม TRUE-DTAC ดีลแสนล้าน TRUE-DTAC

การใช้งานในระยะสั้นในกรณีการเติบโตขั้นต่ำ และมีแนวโน้มไม่เพียงพอในกรณีที่มีการเติบโตของอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น

 

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบในด้านของบริการ (Service) กรณีให้รวมธุรกิจ และไม่ให้รวมธุรกิจ

  • บริษัท TRUE และบริษัท DTAC เป็นบริษัทที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในลักษณะเช่นเดียวกัน โดยบริษัท TRUE มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านการให้บริการของบริษัทในเครือ คือ
  • บริษัท TUC ส่วนบริษัท DTAC มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านการให้บริการของบริษัทในเครือ คือ บริษัท DTN

นอกเหนือจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท TRUE มีการลงทุนให้บริการในรูปแบบอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องอย่างหลากหลายรูปแบบในลักษณะ Multi-Services รูปแบบการให้บริการอื่นๆ ของบริษัท TRUEประกอบไปด้วย บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบประจำที่ (fixed broadband) บริการโทรศัพท์ประจำที่บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รวมถึงบริการสายเคเบิ้ลใต้น้ำ ขณะที่บริษัท DTAC มีบริการหลักเพียงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น และไม่ได้มีการลงทุนให้บริการในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างชัดเจนแต่อย่างใด

สำหรับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (จำกัด) มหาชน (AIS) ก็ได้มีการลงทุนให้บริการใน

  • รูปแบบอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องอย่างหลากหลายรูปแบบเช่นเดียวกัน โดยประกอบไปด้วย บริการอินเทอร์เน็ต
  • ความเร็วสูงแบบประจำที่ (fixed broadband) บริการโทรศัพท์ประจำที่ และบริการสื่อผสม (multi-media)

การวิเคราะห์ในด้านของบริการ (Service) ของผู้ใช้บริการประชาชนทั่วไป

  • ในกรณีที่ไม่มีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท TRUE และบริษัท DTAC สำหรับการให้บริการ
  • โทรศัพท์เคลื่อนที่ การแข่งขันในตลาดไม่ลดลง เนื่องจากบริษัททั้ง ๓ ไม่มีประโยชน์ร่วมกัน และจำเป็นต้องทำ
  • การแข่งขันในตลาดต่อไป โดยที่บริษัท DTAC ไม่ได้มีการให้บริการโทรคมนาคมประจำที่แต่อย่างใด ขณะที่
  • บริษัท TRUE กับบริษัท AIS มีการให้บริการโทรคมนาคมประจำที่ด้วย ทั้งนี้บริการโทรคมนาคมประจำที่ จะเป็นการแข่งขันระหว่างบริษัท TRUE บริษัท AIS และผู้ให้บริการโทรคมนาคมประจำที่รายอื่นๆ หากเปรียบเทียบในด้านของรูปแบบการให้บริการ บริษัท TRUE และบริษัท AIS จะค่อนข้างได้เปรียบบริษัท DTAC เนื่องจากบริษัท TRUE และบริษัท AIS มีการลงทุนให้บริการในรูปแบบอื่นๆ โดยที่บริษัท DTAC ไม่ได้มีการ
  • ให้บริการรูปแบบอื่นๆ ที่เทียบเท่า ทำให้บริษัท TRUE และบริษัท AIS สามารถนำเสนอรูปแบบการให้บริการที่มีลักษณะเป็น Bundle services ระหว่างบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการโทรคมนาคมประจำที่ รวมถึงบริการโทรทัศน์ หรือบริการสื่อผสมเข้าด้วยกัน และเป็นทางเลือกจูงใจให้กับผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ขณะที่บริษัท DTAC นำเสนอการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงบริการเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังถือเป็นบริการหลักที่มีสัดส่วนผู้ใช้งานและสัดส่วนรายได้สูงสุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยบริการอื่นๆ ของ ทั้ง AIS และ TRUE ยังมีสัดส่วนรายได้ที่น้อยกว่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาก ในระยะยาวเนื่องจากบริษัทDTAC ไม่ได้มีการลงทุนให้บริการรูปแบบอื่นๆ นอกจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะที่แนวโน้มรูปแบบการ
  • บริการเทคโนโลยีในอนาคต เช่น เทคโนโลยีการให้บริการ Metaverse เทคโนโลยีการให้บริการ Autonomous car เป็นต้น จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานของการให้บริการอย่างมากมายหลากหลายรูปแบบ ทั้งบริการโทรคมนาคมประจำที่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึง จำเป็นต้องใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Edge Computing ซึ่งหากบริษัท DTAC มิได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการลงทุนพัฒนา
  • รูปแบบการให้บริการรูปอื่นๆ ต่อยอด โดยคงมีแต่เพียงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงพื้นฐานเพียงบริการเดียว

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม :  ข้อเสนอคณะอนุกรรมการกฎหมาย , เศรษฐศาสตร์ และ คุ้มครองผู้บริโภค