ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

23 ก.ย. 2565 | 11:28 น.

อ่านสร้างลูก ลูกสร้างโลก! สสส. จับมือ กทม. หนุน สวัสดิการหนังสือ 3 เล่ม เพื่อเด็กปฐมวัย Sandbox “เขตวังทองหลาง” ผู้นำชุมชนขานรับ ดัน นโยบายส่งเสริมการอ่านร่วมฝ่าวิกฤต Learning Loss

วันที่ 23 ก.ย. 2565 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ  นางญาณี รัชต์บริรักษ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 

ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

ลงพื้นที่ชุมชนเก้าพัฒนา ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ประกาศปฏิญญาสนับสนุน “การจัดสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย” ในงาน BKK-เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง Kick off  ราม 39 อ่านยกกำลังสุขโมเดล ขับเคลื่อนนโยบายแก้ปัญหาภาวะสูญเสียการเรียนรู้ หรือ Learning Loss

ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

นายศานนท์ กล่าวว่า ในวาระเทศกาลเด็กและเยาวชน BKK เรนเจอร์ รวมพลังเด็กเปลี่ยนเมือง กทม. เราให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และพื้นที่เรียนรู้ของกลุ่มเด็กเล็กด้วย โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF และศักยภาพทุกด้านจากภาวะถดถอย หรือ Learning Loss ช่วงโควิด-19  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ใน 9 มิติ  ทั้งด้านสุขภาพดี สร้างสรรค์ดี  สิ่งแวดล้อมดี ฯลฯ   

 

ซึ่งพบว่า หนังสือและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านช่วยพัฒนาเด็กเล็กได้เต็มศักยภาพ  วันนี้ต้องขอขอบคุณเครือข่าย ทั้งภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม โดยเฉพาะหน่วยชุมชน ที่ร่วมกันสร้างรูปธรรมให้ปรากฏ กทม.เองก็พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนและขยายผลอย่างจริงจัง เพื่อให้นโยบายสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยที่ท่านผู้ว่าฯประกาศรับไว้ บรรลุผล”

ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

นางญาณี กล่าวว่า หนังสือนิทานเหมือนหน้าต่างบานแรก ที่บ่มเพาะให้เด็กปฐมวัยอายุ 0 – 6 ปี ได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ ควบคู่กับการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยรายงานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าผลกระทบทางสังคมช่วงโควิด-19 เด็กเล็กมีพัฒนาด้านการอ่านน้อย ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ และการอ่านทำให้เกิด “การเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต” (lifelong learning) ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีอย่างต่อเนื่อง 

 

ขณะที่ สสส. พบว่า หนังสือนิทานส่งเสริมทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม 4 ข้อ 

  1. ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เพราะเปิดโอกาสให้เด็กได้เคลื่อนไหว แสดงบทบาทสมมติตามเนื้อหาในนิทาน ซึ่งจะช่วยเรื่องกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ 
  2. ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เพราะนิทานจะสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ทำให้มีความสุข และสุขภาพจิตดี 
  3. ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม การที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือภาพ หนังสือนิทานให้เด็กฟัง จะสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในครอบครัว 
  4. ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพราะหนังสือนิทานช่วยให้เด็กมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เด็กมีทักษะการสื่อสาร ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน เหมาะสมตามวัย 

ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

“การอ่าน เป็นระบบนิเวศการสื่อสารสุขภาวะที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย สสส. พร้อมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการอ่านเพื่อร่วมฝ่าวิกฤตภาวะสูญเสียการเรียนรู้  (Learning Loss) จากผลกระทบของโควิด-19 ที่เด็กๆต้องเรียนทางออนไลน์ ซึ่งครอบครัวและชุมชนคือกุญแจสำคัญ ที่สามารถช่วยแก้วิกฤต เรื่องพัฒนาการภาษาล่าช้า ลดภาวะถดถอยด้านต่างๆ ในเด็กปฐมวัยได้ การลงพื้นที่ชุมชนครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นประโยชน์ของหนังสือนิทาน ที่กระตุ้นทักษะด้านต่างๆ ได้จริง สสส. จึงพร้อมสนับสนุนนโยบายสวัสดิการหนังสือเด็ก ให้กับครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กปฐมวัยได้มีหนังสือนิทานอย่างน้อย 3 เล่ม เพื่อจุดประกายให้เกิดพื้นที่เรียนรู้ สร้างความรัก ความผูกพัน และฟื้นฟูวิกฤตจากโควิด-19 รวมถึงขอบคุณ กทม. และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ที่เป็นพลังสำคัญ ช่วยกันทำให้ช่วงเวลาสำคัญที่สุดของเด็กกว่า 90% มีสุขภาวะที่ดีอีกครั้ง” นางญาณี กล่าว 

 

นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองใหญ่หากสามารถแปรนโยบายที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติประกาศรับเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2565 ให้เกิดแนวปฏิบัติในการพัฒนาและสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัยอายุ (0 – 6 ปี) ด้วยสวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กได้ จะก่อประโยชน์อย่างมากต่อแนวทางของเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะการใช้งบประมาณกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น (กปท.) ซึ่ง “หนังสือนิทาน” จะช่วยกอบกู้ทักษะของเด็ก ให้เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ 

ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

ดังที่ข้อมูลจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ระบุว่า เด็กเล็กมีแนวโน้มสูญเสียการเรียนรู้มากกว่าเด็กโต เพราะการเรียนออนไลน์ไม่เหมาะต่อพัฒนาการตามช่วงวัย หากสามารถขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติ และชุมชนท้องถิ่นได้ จะเป็นสัญญาณที่ดีในการทำเรื่องนี้ โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเพจเฟซบุ๊ก “อ่านยกกำลังสุข”


 “หากชุมชนเข้มแข็ง จะช่วยนำพาครอบครัวและเด็กเล็กผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ปีนี้นอกจากขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ เราต้องการส่งเสริมการอ่านให้เป็นรูปธรรม จึงขยายผลไปในระดับชุมชน เพื่อให้มีความต่อเนื่องและทำได้จริง โดยส่งเสริมให้เกิดสวัสดิการหนังสือนิทานเพื่อเด็กแรกเกิด อย่างน้อย 3 เล่ม ร่วมกับ สสส. กทม. และภาคีเครือข่าย รวมถึงส่งเสริมครอบครัวอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง” นางสุดใจ กล่าว


นายชำนาญ สุขีเกตุ ประธานชุมชนเก้าพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ กล่าวว่า ครอบครัวได้ร่วมโครงการรักการอ่านกับ สสส. ตั้งแต่ประมาณปี 2561 หลังพบว่าเด็กในชุมชนบางครอบครัว มีพัฒนาการล่าช้า อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ขาดทักษะเข้าสังคม จึงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส มาทำพื้นที่เรียนรู้ให้เด็กและผู้ปกครอง ที่ศูนย์ชุมชนทุกวันหยุดหรือวันว่าง โดยจะอ่านหนังสือนิทานให้เด็กฟัง และจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากหนังสือให้กับเด็ก

ดันสวัสดิการ "หนังสือ 3 เล่ม" เพื่อเด็กปฐมวัย ฝ่าวิกฤต Learning Loss

 เช่น ทำอาหาร ปลูกผัก ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมกว่า 11 ครัวเรือน มีแผนขยายไปในครอบครัวรุ่นใหม่ และบ้านที่มีหญิงตั้งครรภ์กำลังจะคลอด เพื่อส่งเสริมให้ทุกบ้านมีหนังสือนิทานอย่างน้อย 3 เล่ม จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบผู้ปกครองสนใจมากขึ้น เพราะช่วยแก้ปัญหาเด็กติดจอมือถือ จากช่วงโควิด-19 ที่เด็กทุกคนต้องเรียนออนไลน์ อยู่แต่ในบ้าน”


“ผมป่วยเป็นมะเร็งตับอ่อน หากเป็นช่วงบั้นปลายชีวิต ก็ต้องการขับเคลื่อนโครงการรักการอ่านให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน เพราะอยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของหนังสือนิทานกับเด็กปฐมวัย ตอนนี้ผมกับภรรยา กำลังขยายให้ผู้ปกครองบ้านอื่นๆ ให้เห็นความสำคัญของการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง ถ้าใครอ่านก็อัดคลิป ส่งมาแชร์ความสุขความอบอุ่นในกลุ่มกัน และพยายามทำศูนย์ฯ แห่งนี้ ให้เกิดความปลอดภัย เป็นที่ไว้ใจของผู้ปกครอง ให้ส่งเด็กมาทำกิจกรรมวันว่าง นอกจากนี้มีแผนทำห้องสมุดเคลื่อนที่อีกครั้ง  เพื่อส่งหนังสือนิทานและหนังสือต่างๆ ให้เด็กและครอบครัวได้อ่านกัน” นายชำนาญ กล่าว