ผงะ! ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมาก ส่งผลให้วัคซีนรุ่น 2 ประสิทธิภาพถดถอย

19 ก.ย. 2565 | 05:03 น.

ผงะ! ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมาก ส่งผลให้วัคซีนรุ่น 2 ประสิทธิภาพถดถอย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา เผยานวิจัยของทีมมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า 

 

งานวิจัยของทีมมหาวิทยาลัยปักกิ่งเรื่องของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า immune imprinting น่าสนใจมาก  

 

และอาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้วัคซีนสูตร 2 หรือ สูตรอื่นๆอาจจะมีประสิทธิภาพได้ไม่มีเท่าที่ควร 

 

ประเด็นของ immune imprinting ก็คือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราจดจำสิ่งที่เห็นมาตอนแรกสุดได้แม่นยำ 

 

และการฉีดเข็มกระตุ้นด้วยสิ่งที่เห็นนั้นแบบซ้ำๆ เช่น 4, 5 หรือ 6 เข็ม จะยิ่งทำให้ความจำฝังลึกมากยิ่งขึ้น 

 

เมื่อคนที่ภูมิคุ้มกันถูกใส่ memory ไว้แบบนั้นไปเจอสิ่งใหม่ เช่น การติดเชื้อโอมิครอนไม่ว่าจะ BA.1, BA.2 หรือ BA.5 
 

หรือการได้รับวัคซีนเวอร์ชั่น 2 ที่มีการรวม BA.1 หรือ BA.5 ภูมิที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งใหม่นั้น จะไม่ดีเท่าตอนได้รับวัคซีนสูตรแรก 

 

สาเหตุเป็นเพราะ memory ที่ถูกฝังเอาไว้ไม่พร้อมตอบสนองต่อสิ่งใหม่

 

ทีมวิจัยไปเก็บข้อมูลของผู้ได้รับวัคซีน (CoronaVac) มา 3 เข็ม แล้วไปติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ 

 

โดยดูที่ memory B cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่ถูกกระตุ้นมาหลังติดเชื้อ 

 

ทีมวิจัยพบว่า ไม่ว่าจะติด BA.1 BA.2 หรือ BA.5 มา เซลล์ที่ถูกกระตุ้นมาจะเป็นเซลล์ที่ตอบสนองต่อสไปค์ของไวรัสสายพันธุ์ Wuhan เดิม 

 

ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมาก ส่งผลให้วัคซีนรุ่น 2 ประสิทธิภาพถดถอย

 

เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยได้วัคซีนที่ติดเชื้อจะไม่เห็นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ดังกล่าว 

 

แปลผลได้ว่า memory B cell ที่ถูกกระตุ้นขึ้นมาเป็นเซลล์ที่ไปจำเพาะต่อส่วนที่สไปค์ของ Wuhan และ Omicron มีเหมือนกัน 

 

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส่วนที่ไม่มีผลต่อการป้องกันการติดเชื้อ พูดภาษาให้ฟังง่ายๆคือ ไปกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดีที่ไม่มีประโยชน์ออกมาแทนที่จะเป็นแอนติบอดีที่จะป้องกันโอมิครอน

ทีมวิจัยนำแอนติบอดีของตัวอย่างเหล่านั้นไปแยกกลุ่มออกมาให้เห็นชัดเจน 

 

รูปอาจจะดูยากนิดนึง แต่ขอให้สังเกตสีบนกราฟ ถ้ามีสีเหลืองหรือสีแดงเยอะๆแสดงว่าแอนติบอดีจะสามารถจับและยับยั้งสายพันธุ์นั้นได้ดีมากๆ 

 

แต่ถ้าเป็นสีออกน้ำตาลแอนติบอดีจะจับไม่ดีหรือไม่ได้แล้ว ถ้าแยกเป็นกลุ่มจะเห็นว่าแอนติบอดีที่ดีๆจะเป็นกลุ่มที่มี ACE2 competition level ที่สูง (ที่วงเอาไว้) 

 

ผลในกราฟจะเห็นได้ชัดว่า คนที่ติด BA.2 หรือ BA.5 สามารถกระตุ้นแอนติบอดีต่อสายพันธุ์เดิมได้ดีมากๆ 

 

แต่กลับได้แอนติบอดีที่ยับยั้งทั้ง BA.5 และ BA.2.75 ได้ต่ำกว่ามาก 

 

ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมาก ส่งผลให้วัคซีนรุ่น 2 ประสิทธิภาพถดถอย

 

โดยแอนติบอดีที่กระตุ้นออกมาส่วนใหญ่คือ ตัวที่มี ACE2 competition level ต่ำมาก คือ ไม่ไปจับส่วนที่สไปค์จับกับ ACE2 ซึ่งไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่

 

ถึงแม้จะเป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ข้อมูลนี้น่าสนใจมากครับ เพราะถึงแม้จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยเตือนตอนเราระดมฉีดเข็มกระตุ้นกันว่า 

 

การใช้วัคซีนสูตรใหม่จะเป็นปัญหา หลายคนอาจจะยังไม่คิดว่ามันจะเป็นประเด็นสำคัญเพราะข้อมูลไม่ชัด คิดว่าต่อไปจะชัดขึ้นเรื่อยๆ