ระวัง "โรคระบาด" หน้าฝน แพทย์แนะปรับสุขอนามัยดี-รับวัคซีนป้องกันก่อนป่วย

14 พ.ค. 2568 | 13:10 น.

เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ควรระวังโรคตามฤดูกาล เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคทางเดินอาหาร และโรค RSV ในเด็ก ที่กลับมาระบาดทุกปี แพทย์แนะควรฉีนวัคซีนป้องกันก่อนป่วย

แพทย์หญิง มัลลิกา โมทะจิตต์ กุมารแพทย์ เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจเด็ก และ แพทย์หญิง เพ็ญรวี ขาวสำลี กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคระบาดในเด็กช่วงฤดูฝนที่เด็กๆ กำลังเริ่มเปิดเทอม ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ผู้ปกครองควรเตรียมพร้อมตั้งรับ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจของเด็กในช่วงวัยแรกเกิดจนถึงวัยอนุบาล 

เพราะโครงสร้างของทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีความอ่อนตัวและขนาดเล็ก จึงง่ายต่อการอุดกั้นจากน้ำมูก, เสมหะและสิ่งแปลกปลอม หรือเด็กมีท่าทางที่พับงอช่วงคอจนเกินไป โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ หายใจครืดคราด, ไอจาม, มีเสมหะและน้ำมูก, การหายใจผิดปกติไป และมีไข้ เป็นต้น
 

ระวัง \"โรคระบาด\" หน้าฝน แพทย์แนะปรับสุขอนามัยดี-รับวัคซีนป้องกันก่อนป่วย

เมื่อพบอาการเหล่านี้ผู้ปกครองควรให้การดูแลเบื้องต้น เช่น เช็ดตัว ดูดน้ำมูก ล้างจมูก ป้อนยาตามอาการในกรณีเด็กโต และหากอาการเหล่านั้นรบกวนกิจวัตรหลักของเด็กๆ เช่น การกิน หรือการนอน ควรพาไปพบแพทย์ทันเพื่อการรับตรวจวินิจฉัยและรักษา เพราะอาการดังกล่าว อาจเป็นอาการนำของการเจ็บป่วยทางเดินหายใจรุนแรง หรือ โรคเรื้อรังในอนาคตได้

นอกจากนี้ โรคระบบทางเดินหายใจในเด็ก ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ไม่เพียงเพราะเด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย แต่ยังรวมถึงการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อปัจจัยกระตุ้น เช่น มลภาวะ หรือภูมิแพ้ ได้แก่ 1.ปอดอักเสบ (Pneumonia) ที่เกิดได้จากการติดเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส 2.หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) โดยเฉพาะที่เกิดจาก RSV (Respiratory Syncytial Virus) 3.โรคนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในระยะยาว

ดังนั้น ควรป้องกันและการดูแล รวมถึงการพบแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินหายใจในเด็ก เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองเองควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กในปกครองปลอดภัยจากฝุ่น ควัน และสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน ที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อระบบหายใจ สำหรับเด็กในกลุ่มเสี่ยง 

เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือมีโรคประจำตัว ต้องได้รับการดูแลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และเข้ารับการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป อาร์ เอส วี  (RSV) และป้องกันโรคติดเชื้อในระบบหายใจ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal Vaccine)

ระวัง \"โรคระบาด\" หน้าฝน แพทย์แนะปรับสุขอนามัยดี-รับวัคซีนป้องกันก่อนป่วย

นอกจากนี้ การดูแลอย่างครอบคลุมโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย แข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะไม่มีใครรู้จักบุตรหลานเราดีเท่ากับผู้ปกครอง เพราะเด็กพูดหรือสื่อสารยังไม่ได้ดีเท่าผู้ใหญ่  ดังนั้นการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและอาการที่ผิดปกติไป จะทำให้สามารถให้ข้อมูลสำคัญกับแพทย์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องต่อไป  
 
​ด้าน นายแพทย์อภิชัย จิระประดิษฐา อายุรแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพริ้นซ์ มุกดาหาร กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคแอนแทร็กซ์ที่เป็นประเด็นในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารว่า ซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้พบในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ เช่น วัว กระบือ แพะ กวาง ในประเทศไทยเองมีการควบคุมโรคที่ดีจึงไม่ค่อยพบในไทย จากเหตุการณ์ดังกล่าวพบคนไข้ป่วยติดเชื้อจากการรับประทานเนื้อดิบที่มีเชื้อแทำให้เกิดอันตรายรุนแรงถึงชีวิต 

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis มีความสามารถในการสร้างสปอร์เป็นเส้นใยที่ฟุ้งกระจายได้คล้ายกับเชื้อรา เมื่อเรารับเชื้อนี้จะแสดงอาการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการรับเชื่อ ได้แก่ การสูดลมหายใจรับเชื้อจะมีอาการปอดติดเชื้อ หรือผ่านการรับประทานจะเปิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง และมีไข้ และสุดท้ายติดต่อผ่านบาดแผล คนไข้จะมีแผลและอาการไข้ขึ้น ซึ่งแผลจะมีลักษณะเหมือนถูกไฟก้นบุหรี่จี้และเป็นรอยไหม้ มีความชุ่มและเยิ้ม 

ระวัง \"โรคระบาด\" หน้าฝน แพทย์แนะปรับสุขอนามัยดี-รับวัคซีนป้องกันก่อนป่วย

ฉะนั้นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับโรคนี้ คือ

  1. เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคนี้ให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย เมื่อถูกตรวจพบจะได้รับยาฆ่าเชื้อทันที เพื่อระงับเชื้อให้หายได้
  2. เมือพบสัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิตโดยไร้สาเหตุห้ามนำมารับประทานหรือชำแหละและสำผัสโดยตรงกับมัน
  3. คนที่มีอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องเลี้ยงสัตว์ ควรปรึกษาปศุสัตว์เพื่อรับวัคซีให้กับสัตว์ป้องกันโรคนี้ให้แพร่มาสู่คนได้