ลมมรสุม คืออะไร หลายๆ คนคงได้ยินคำนี้หลังจาก กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศมักจะได้ยินคำว่า “ลมมรสุม” อยู่เสมอ
คำว่า “มรสุม” หรือ monsoon มาจากคำว่า mausim ในภาษาอาหรับแปลว่า ฤดูกลา (season) สาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดิน และ พื้นน้ำในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่า และ ลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็น ลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงข้าม ลมมรสุมที่มีกำลังแรงจัดที่สุด ได้แก่ ลมมรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย
(ก) การเปลี่ยนแปลงทิศทางลมหลัก 120 องศา ระหว่างเดือนมกราคมและกรกฎาคม
(ข) ความถี่เฉลี่ยของทิศทางลมหลักในเดือนมกราคมและกรกฎาคมควรเกิน 40 เปอร์เซ็นต์
(ค) ลมเฉลี่ยที่เป็นผลลัพธ์ในอย่างน้อยหนึ่งเดือนควรเกิน 3 เมตรต่อวินาที
(ง) ควรมีการเปลี่ยนแปลงของพายุไซโคลน-แอนติไซโคลนน้อยกว่าหนึ่งครั้งในทุกๆ สองปีในแต่ละเดือนในตารางละติจูด-ลองจิฉูดขนาดห้าองศา.
ที่มา: